4. การละลายได้ (solubility)
เพราะฉะนั้น ในสารละลายของเหลว ที่อุณหภูมิหนึ่งๆ ปริมาณของตัวถูกละลายที่สามารถละลายในตัวทำละลายได้ จะมีปริมาณจำกัด โดยเรียกสารละลายที่ตัวถูกละลายไม่สามารถละลายเพิ่มได้อีกว่า สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) โดยปริมาณของตัวถูกละลายที่ละลายได้ในสารละลายอิ่มตัว ณ ที่อุณหภูมิหนึ่ง ๆ เรียกว่า การละลายได้ ( solubility) เช่น เกลือแกง (NaCl) ละลายในน้ำ 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 100 oC สามารถละลายได้ 39.1 กรัม แต่ถ้าใส่เกลือไปมากกว่านี้ ส่วนที่เหลือก็จะไม่ละลาย ในสารละลายที่อิ่มตัว ตัวถูกละลายจะมีอัตราการละลายจะเท่ากับอัตราการกลับคืนมาเป็นของแข็ง เพราะฉะนั้นความเข้มข้นของสารละลายของสารละลายที่อิ่มตัวจะคงที่ ตัวถูกละลายที่ไม่สามารถละลายจะไม่ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ถ้าตัวทำละลายเป็นน้ำ โดยทั่วไปนิยมบอกหน่วยหรือปริมาณของการละลายได้ของตัวถูกละลายเป็นกรัม (g) ในตัวทำละลายน้ำ 100 กรัม นอกจากนั้น การละลายได้ของตัวถูกละลายจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ธรรมชาติของตัวทำละลายและตัวถูกละลาย อุณหภูมิ และความดัน เป็นต้น 4.1 อิทธิพลของอุณหภูมิที่มีต่อการละลายได้ ถ้าการละลายของสารเป็นการ ดูดความร้อน ดังปฏิกิริยา
เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยทั่วไป การละลายได้ของสารจะเพิ่มขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าการละลายของตัวถูกละลายในตัวทำละลายเป็นการ คายความร้อน การให้ความร้อนแก่ระบบ จะยิ่งทำให้ตัวถูกละลายละลายได้น้อยลง 4.2 อิทธิพลของความดันที่มีต่อการละลายได้ การเพิ่มความดันมีผลอย่างมากต่อการละลายของแก๊สในของเหลว มากกว่าการละลายของของแข็งในของเหลว
พิจารณาอิทธิพลของความดันที่ให้ต่อแก๊สในสารละลาย ต่อไปนี้
เมื่อเพิ่มความดันต่อแก๊ส พบว่า แก๊สสามารถละลายในของเหลวได้มากขึ้น จำนวนโมเลกุลของแก๊สที่อยู่เหนือของเหลวจะลดลง และความเข้มข้นของแก๊สในสารละลายจะเพิ่มขี้น
|