1. ชนิดของสารละลาย (type of solutions) ในขั้นตอนการจำแนกชนิดของสารละลาย โดยทั่วไปจะจำแนกสารละลายตามสถานะ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ สารละลายของแข็ง สารละลายของเหลว และสารละลายแก๊ส ซึ่งตัวทำละลายจะต้องมีสถานะเช่นเดียวกับสถานะของสารละลาย กล่าวคือ สารละลายของแข็ง ตัวทำละลายจะต้องเป็นของแข็ง สารละลายของเหลว ตัวทำละลายจะต้องเป็นของเหลว และสารละลายแก๊ส ตัวทำละลายจะต้องเป็นแก๊ส ส่วนตัวถูกละลายในสารละลายทั้ง 3 ชนิด เป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เมื่อพิจารณาสถานะของตัวทำถูกละลาย ซึ่งมีอยู่ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ดังนั้น เราสามารถยกตัวอย่างสารละลายที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันได้ ดังต่อไปนี้
หมายเหตุ * แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)ในน้ำ ในที่นี้ เราพิจารณาเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นแก๊สเท่านั้น เราจะไม่พิจารณาคาร์บอนไดออกไซด์บางส่วนที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วให้ H2CO3 ซึ่งถือว่าไม่เป็นการละลาย แต่เป็นการทำปฏิกิริยาของน้ำกับคาร์บอนไดออกไซด์ * ผลิตภัณฑ์ทองเหลือง ซึ่งได้จากการผสมทองแดงกับสังกะสี (Cu+Zn) เข้าด้วยกันนั้น นักเรียนจะต้องทราบด้วยว่า ทองแดงกับสังกะสีไม่ทำปฏิกิริยากันแต่อย่างใด คำถามชวนให้คิด นายแสนดีเดินทางไปตลาดเพื่อไปซื้อปุ๋ยยูเรียที่ขายอยู่ตามท้องตลาด 1 ถุง (100 กรัม) (มีสูตรทางการค้าเป็น 46-0-0) ซึ่งปกติแล้วเนื้อปุ๋ยยูเรียเป็นของแข็ง (มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีขาว) หลังจากนายแสนดีซึ้อปุ๋ยมาแล้ว วันต่อมา เขาและลูกๆ อีก 2 คน ได้นำปุ๋ยไปที่สวนหลังบ้าน เพื่อจะนำไปใส่ผัก ในขณะที่นายแสนดีให้ปุ๋ยยูเรียแก่ผัก ลูกๆ ของเขา ได้เผลอทำน้ำประมาณ 1 แก้ว หกลงไปในถุง ปรากฏว่าในวันต่อมา ปุ๋ยยูเรียที่เป็นเม็ดกลายเป็นของเหลวหมดทั้งถุง เกิดอะไรขึ้นกับปุ๋ยยูเรีย? |