เรามาจากไหน   และเราจะไปไหน เป็นคำถามอมตะนิรันดร์กาลของมนุษย์มายาว
นาน  และนักวิทยาศาสตร์ทุกยุคทุกสมัยก็ไม่เคยละความตั้งใจที่จะค้นคว้าหาคำตอบ เราชื่นชม
ในความเพียรพยายามนี้   ประกอบกับเล็งเห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ    จึงขอนำเสนอเรื่อง  
“ อะไรอยู่ในอะตอม”
ซึ่งจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐาน (elementary particles)  ควาร์ก 
เลปตอน  สิ่งซึ่งจะช่วยปูพื้นฐานความเข้าใจที่จะนำไปสู่การตอบคำถามนั้น ๆ

                    สื่อผสมเรื่อง “ อะไรอยู่ในอะตอม ”  จัดทำขึ้นโดยสถาบันนวัตกรรมและพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้   มหาวิทยาลัยมหิดล   สำหรับใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนการสอนในระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษา ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะนักเรียน/นักศึกษาสาย วิทยาศาสตร์ที่เรียนฟิสิกส์เท่านั้น  ยังเหมาะกับนักศึกษากลุ่มอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงครู/อาจารย์ ที่สนใจเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุภาคมูลฐาน    

                  สื่อผสมนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจแนวคิดหลักการและเหตุผลของนักวิทยาศาสตร์
ในการค้นหาอนุภาคมูลฐาน  ควาร์ก เลปตอน  สิ่งที่ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในวงการวิทยาศาสตร์
ซึ่งมีทั้งส่วนที่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้ว     และสิ่งที่ยังต้องค้นหากันต่อไป   โดยเราพยายามอธิบาย
สิ่งที่ยากต่อการเข้าใจ    ด้วยเทคนิคภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจนและคำพูดที่เข้าใจง่าย      สื่อนี้มิใช่
บทเรียนจึงมีเนื้อหาไม่ตรงตามหลักสูตร แต่เราแน่ใจว่าทุกรายละเอียดล้วนมีประโยชน์อย่างมาก
ต่อผู้เรียน
                    เนื้อหาของสื่อผสม "อะไรอยู่ในอะตอม" นี้ ประกอบด้วย 8 บท เริ่มต้นข้อตกลงร่วม
กันและทำความเข้าใจภาษาสัญลักษณ์ด้วย เตรียมตัวก่อนเรียน  เมื่อพร้อมแล้วเข้าสู่ บทนำ เพื่อดู
ประวัติการศึกษาอนุภาคมูลฐาน      จากนั้นศึกษารายละเอียดอนุภาคมูลฐานชนิด    ควาร์ก  และ 
เลปตอน
รวมถึงการอธิบายความสัมพันธ์ด้วย แรงและแบบจำลองมาตรฐานต่อด้วยเครื่องมือใน
การค้นหาอนุภาคมูลฐาน เครื่องตรวจจับอนุภาค และ เครื่องเร่งอนุภาค และปิดท้ายด้วยการฝึก
สมองกับ ประลองปัญญา   อนึ่งคณะผู้จัดทำเข้าใจดีว่าการทำสื่อผสมให้สมบูรณ์แบบ  คงเป็นไป
ได้ยาก   อาจมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขบ้าง  ทางคณะผู้จัดทำขอน้อมรับข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ
ด้วยความยินดี เพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป 
                                                                                                                                                     

                                                                                                                                          คณะผู้จัดทำ