ถ้าเรานำเหล็กที่มีมวล 1 kg ไปชั่งที่บริเวณขั้วโลก กึ่งกลางระหว่างขั้วโลกกับเส้นศูนย์สูตร และบริเวณเส้นศูนย์สูตร คุณคิดว่าน้ำหนักที่ชั่งได้ทั้ง 3 ครั้งจะเท่ากันหรือไม่ อย่างไร?

   
คำตอบ 

น้ำหนักจะเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยตามตำแหน่งของมวลที่อยู่บนพื้นโลก ทั้งนี้เพราะค่า g จะขึ้นอยู่กลับทั้งความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และสภาพของของเหลวใต้พื้นผิวโลกด้วย ดังนั้น แรงโน้มถ่วงของโลก (gravitational acceleration, g) ที่กระทำต่อมวลก็จะมีค่าแตกต่างกัน ดังนี้

                  บริเวณขั้วโลก g มีค่าเป็น 9.83 m/s2 (ที่เส้นรุ้งที่ 90o)
                  บริเวณกึ่งกลางระหว่างขั้วโลกกับเส้นศูนย์สูตร g มีค่าเป็น 9.81 m/s2 (ที่เส้นรุ้งที่ 45o)
                  บริเวณเส้นศูนย์สูตร g มีค่าเป็น 9.78 m/s2 (ที่เส้นรุ้งที่ 0o)

ดังนั้น ที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างขั้วโลกกับเส้นศูนย์สูตร มวล 1 Kg เครื่องชั่งจะอ่านค่าน้ำหนักเป็น 1 Kg พอดี แต่ที่บริเวณขั้วโลกมวล 1 kg จะมีน้ำหนักมากกว่า 1 kg

เพิ่มเติม:

แม้แต่ในประเทศไทยเอง ค่า g ที่วัดจากสถานที่ต่างกันก็ยังไม่เท่ากัน ดังแสดงในตาราง

จังหวัด
ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (m)
แรงโน้มถ่วงของโลกหรือ g (m/s2)
เชียงใหม่
416
9.7843
อุดรธานี
178
9.7842
อุบลราชธานี
130
9.7832
ชุมพร
4
9.7820
สงขลา
4
9.7812

ข้อมูลจากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ