กฏของแลมเบิร์ต (Lamberts law) มีใจความว่า เมื่อมีแสงที่มีความยาวคลื่นเดี่ยว (monochromatic light) ผ่านตัวกลางเนื้อเดียว สัดส่วนของความเข้มของแสงที่ถูกตัวกลางนั้นดูดกลืนไว้ ไม่ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่กระทบตัวกลางนั้น และความเข้มของแสงจะถูก แต่ละชั้นของตัวกลางดูดกลืนไว้ในสัดส่วนที่เท่ากัน จากรูปจะเห็นว่าทุกๆ ภาคตัดขวางที่แสงเดินทางผ่าน จะถูกโมเลกุล ในแต่ละชั้นจะดูดกลืนแสงไป 30% เสมอ กฏของเบียร์ (Beers law) มีใจความว่า เมื่อแสงที่มีความยาวคลื่นเดี่ยวผ่านตัวกลางเนื้อเดียว สัดส่วนของความเข้ม ของแสงที่ถูกตัวกลางนั้นดูดกลืนไว้จะแปรผันโดยตรงกับปริมาณของตัวกลางที่ดูดกลืน แสงนั้น
จากรูปถ้าความเข้มข้น C2 > C1 ดังนั้นแสงที่ผ่านสารละลาย C2 ออกมา จะเหลือน้อยกว่าแสงที่ผ่านออกมาจากสารละลาย C1 เนื่องจากที่ความเข้มข้นสูงกว่า จะมีโมเลกุลที่สามารถดูดกลืนแสงขวางทางเดินแสงอยู่มากกว่า เมื่อเราวัดการดูดกลืนแสงของสารละลาย ปริมาณความเข้มของแสงที่ถูก ดูดกลืนจะขึ้นอยู่กับทั้งความเข้มข้นของสารละลายและความหนาของสารละลายที่ ลําแสงต้องผ่าน จึงจําเป็นต้องรวมกฏของเบียร์และกฏของแลมเบิร์ต เรียกเป็น กฏของเบียร์-แลมเบิร์ต (Beer-Lambert law) การวัดค่าการดูดกลืนแสงของสารตัวอย่างเราสามารถทำได้โดยให้ลำแสง ผ่านเข้าไปในตัวอย่าง (Incident light: I0) แล้ววัดปริมาณแสงที่เหลือผ่านออกมา (I) โดยเทียบกับแสงที่ผ่านออกมาเมื่อไม่มีสารตัวอย่าง
log %T = 2 A หรือ A = 2 - log %T