รูปแบบของเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์
(types of Spectrophotometer)
 

         1. สเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงเดี่ยว
           (single beam spectrophotometer)


         หลักการของสเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลําแสงเดี่ยวนั้น เมื่อแสงออกจาก
แหล่งกําเนิดแสงแล้ว จะผ่านโมโนโครเมเตอร์ที่เป็นเกรตติ้ง และสารตัวอย่างตาม
ลำดับ แล้วจึงเข้าสู่ตัวตรวจจับสัญญาณ ตลอดเส้นทางของลําแสงนี้มีลําแสงเดียว
จึงเรียก สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ประเภทนี้ว่าแบบลําแสงเดี่ยว เนื่องจากสเปกโทร
โฟโต มิเตอร์ประเภทนี้ใชัลําแสงเพียงลําเดียวผ่านจากโมโนโครเมเตอร์ไปสู่
สารละลายที่ต้องการวัดและเข้าสู่ตัวตรวจ
จับสัญญาณเลย ดังนั้นการวัดจึงต้องวัด
2 ครั้งดังนี้

   • ครั้งแรกเซลล์บรรจุแบลงค์ (blank) ซึ่งเป็นตัวทําละลายของตัวอย่างที่เราต้อง
การวัด เมื่อลําแสงผ่านเซลล์ ปรับเครื่องให้อยู่ในตําแหน่ง “ศูนย์” (set zero)
   • ส่วนครั้งหลังบรรจุสารละลายที่ต้องการวัด (sample) แล้วจึงให้ลําแสงผ่านเซลล์ ความแตกต่างระหว่างการดูดกลืนแสงของทั้ง 2 ครั้งจะปรากฏบนหน้าปัดมิเตอร์
จากนั้นก็สามารถวัดตัวอย่างที่ความเข้มข้นอื่นๆ ต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องกลับไป
วัดแบลงค์อีก
   • การเปลี่ยนความยาวคลื่น จะต้องวัดแบลงค์ใหม่ทุกครั้ง

 
 
รูปที่ 4.7  สเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลําแสงเดี่ยว
 

           2. สเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงคู่
               (double beam spectrophotometer)


               สำหรับสเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงคู่ เมื่อลำแสง
จากแหล่งกําเนิด
แสง
ออกจากช่องแสงออก (exit slit) แล้ว ลําแสงจะไปสู่อุปกรณ์ตัดลําแสง
(beam chopper) ซึ่งจะทำหน้าที่สะท้อนลําแสงไปผ่านสารตัวอย่าง (sample)
ในขณะต่อมาจะสะท้อนลําแสงไปผ่านสารอ้างอิง (reference) ซึ่งก็คือแบลงค์นั่นเอง
โดยที่ลําแสงทั้งสองจะมีความเข้มแสงเท่ากันก่อนที่จะผ่านสารตัวอย่างหรือสารอ้างอิง เมื่อลําแสงทั้งสองนี้ไปตกกระทบบนตัวตรวจ
จับสัญญาณ ความแตกต่างของความเข้มแสงหลังจากผ่านสารตัวอย่างหรือสารอ้างอิงจะกลาย
เป็นค่าการดูดกลืนแสงของตัวอย่าง

 
 
รูปที่ 4.8  สเปกโทรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงคู่
 
            3. สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ที่มีไดโอดอาร์เรย์เป็นตัวตรวจจับสัญญาณ
                (spectrophotometer แบบ diode array detector)

            diode array detector เป็นการตรวจจับสัญญาณ โดยวัดการดูดกลืนของ
แสง เช่นเดียวกับสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ทั่วไป  เพียงแต่การเก็บข้อมูลมิใช่การเก็บเพียง 1 หรือ 2 ความยาวคลื่นเท่านั้น แต่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นช่วงของความยาวคลื่น ที่ผู้วิเคราะห์สามารถเลือกได้
โดยใช้เวลาเพียงนิดเดียว เนื่องจากสามารถวัดทุก ความยาวคลื่นได้ในเวลาเดียวกัน เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่เป็นสเปกตรัม หรือต้องการติดตามการเปลี่ยนแปลงการดูดกลืนของสารที่หลายความยาวคลื่น

 
รูปที่ 4.9 สเปกโทรโฟโตมิเตอร์ที่มีไดโอดอาร์เรย์เป็นตัวตรวจจับสัญญาณ