August Beer
(ค.ศ.1825-1863)
นักเคมีและฟิสิกส์
ชาวเยอรมัน

       เบียร์ศึกษาทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (natural sciences) เขาจบ
การศึกษาระดับปริญญาเอกเมื่อปี ค.ศ.1850 และอีก 4 ปีต่อมาเขาก็ได้ตีพิมพ์หนังสือที่เขียนเป็นภาษาเยอรมัน
ชื่อ "Einleitung in die hohere Optik" ซึ่งเกี่ยวกับ
การศึกษาความสัมพันธ์ของการดูดกลืนแสงของสาร กับความเข้มข้นของสารนั้น และเขาได้เขียนรวมกฎที่เขาและแลมเบิร์ตได้ศึกษาเป็น กฎของเบียร์และ
แลมเบิร์ต (Beer-Lamlert law) ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญสำหรับการเรียนเรื่อง molecular absorption spectroscopy ในปัจจุบัน


 



Johann Heinrich Lambert
(ค.ศ.1728-1777)
นักคณิตศาสตร์และ
ดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส

  
       ช่วงแรกของการทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์
แลมเบิร์ตสนใจศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเดินทางของแสงผ่าน ตัวกลางต่างๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1760 เขาได้ตีพิมพ์ หนังสือที่มีชื่อว่า Photometria ภายในหนังสือ เขาได้เขียนถึงการลดลงอย่างเอ็กโพเนนเชียล (exponential) ของแสง เมื่อลำแสงนั้นผ่านตัว กลางที่ดูดกลืนแสงได้ ซึ่งเป็นกฎที่เรียกว่า Lambert’s law of Absorption แต่ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้แลมเบิร์ตเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา คือการเป็นนักคณิตศาสตร์ที่พยายามหาค่า ออกมา ถึงแม้ค่า ของ แลมเบิร์ตจะไม่สมบูรณ์นัก แต่คณิตศาสตร์ที่เขาใช้ในการพิสูจน์ก็สร้างความตื่นเต้นให้กับนักคณิตศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างมาก







Aleksander Jablonski
(ค.ศ.1898-1980)
นักฟิสิกส์ชาวยูเครน

       ตลอดชีวิตการทำงานของจาบลองสกี เขาคร่ำหวอดอยู่ในการศึกษาทั้งทฤษฎีและ การทดลองเรื่องปรากฎการณ์โฟโตลูมิเนสเซนต์ (photoluminescence) ในสารละลาย และยังศึกษาเกี่ยวกับผลของความดันที่มีผลต่อ เส้นสเปกตรัมของอะตอมในสภาวะแก๊ส ในปี ค.ศ.1935 เขาได้เสนอแผนภาพที่ชื่อว่า Jablonski diagram โดยแผนภาพนี้อธิบาย ได้ทั้งจลน์ศาสตร์และสเปกตรัมของ ฟลูออเรสเซนต์ (fluorescence) ฟอสฟอเรสเซนต์ (phosphorescence) และดีเลย์ฟลูออเรสเซนต์
(delayed fluorescence) แผนภาพของเขามีประโยชน์มาก เป็นพื้นฐานการศึกษาเรื่องการเกิด
ลูมิเนสเซนต์แบบต่างๆ หนังสือโฟโตเคมีสมัยใหม่ทุกเล่มจะมีการอธิบาย ลูมิเนสเซนต์โดยใช้ Jablonski diagram เสมอ จาบลองสกียังคงศึกษาปรากฏการณ์
ลูมิเนสเซนต์อยู่ตลอด ช่วงปี ค.ศ. 1950 เขายังได้เสนอทฤษฎี concentrational quenching ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับ การลดลงของแสงฟลูออเรสเซนต์ อันเนื่องมาจากความเข้มข้นของสารละลาย และอธิบายการ เกิดดีโพลาไรซ์ (depolarization) ในปรากฏการณ์ ลูมิเนสเซนต์อีกด้วย อาจกล่าวได้ว่า ถ้ากล่าวถึงวิชาโฟโตเคมี จะลืมนึกถึงชื่อของจาบลองสกีไม่ได้เลยทีเดียว

 

1. D. C. Harris, Quantitative Chemical Analysis, 5th ed.,
     New York : Freeman,1999.

2. D. A. Skoog, F.J. Holler, T.A. Nieman, Principles of Instrumental
    Analysis, 5th ed., Philadelphia : Saunders college publishing, 1998.

3. Gary D. Christian, Analytical Chemistry, 6th ed., New Jersey :
     Wiley & Sons, 2004.

4. K. J. Rubinson and J. F. Rubinson, Contemporary Instrumental
    Analysis
, New Jersey : Prentice Hall, 2000.