ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ได้หนดไว้ในโปรแกรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เราอาจใช้เคยใช้ซอฟต์แวร์หลาย ๆ รูปแบบโดยไม่รู้ตัว แต่ละวันเราแทบจะหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ซอฟต์แวร์ไม่ได้เลย วันนี้ มาดูกันว่าซอฟต์แวร์ที่เราเคยใช้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 8 กลุ่มดังนี้ครับ

System software
เป็นกลุ่มของโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้บริการหรือช่วยซอฟต์แวร์ตัวอื่นทำงานได้ง่าย เช่น คอมไพเลอร์ ตัวแก้ไขโปรแกรม editor โปรแกรมจัดการไฟล์ ระบบปฏิบัติการ ไดร์เวอร์ ซอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารในเครือข่าย เป็นต้น

Real-time software เป็นโปรแกรมที่คอยตรวจ วิเคราะห์ หรือควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ที่เราเรียกว่า real-time เพราะเหตุการณ์นั้น ๆ เกิดในขณะนั้นจริง เช่น โปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องจักร หุ่นยนต์ ระบบนำทางของรถยนต์ เป็นต้น โปรแกรมพวกนี้จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ แล้วทำการวิเคราะห์ และแปลงไปสู่รูปแบบข้อมูลที่นำไปประมวลผลต่อได้ หลังจากประมวลผลแล้ว โปรแกรมจะโต้ตอบสิ่งแวดล้อมภายนอกตามคำสั่งควบคุมที่ได้จากการประมวลผล การโต้ตอบกลับนี้ต้องเป็นแบบ real-time (ปกติเวลาที่ถือว่าเป็น real – time อยู่ในช่วง 1 มิลลิวินาที ถึง 1 วินาที )

Business software
เป็นซอฟต์แวร์ที่ประมวลผลกับข้อมูลจำนวนมากทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมประมวลผลการซื้อขายPOS – (point of sale transaction processing- เครื่องนี้เราจะเห็นได้ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าในการคิดราคาสินค้าจาก barcode และพิมพ์ใบเสร็จ) โปรแกรมบัญชีเงินเดือน (payroll), บัญชีรับจ่าย โปรแกรมการลงทุน หุ้น โปรแกรมการทำเหมืองข้อมูล (data mining) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการสารสนเทศ (Management information system) มักจะเป็นการจัดการกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่หลาย ๆ ฐานข้อมูล โปรแกรมเหล่านี้จะจัดการกับข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้างหรือรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในธุรกิจ

Engineering and Scientific software
โปรแกรมที่ทำงานด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ มักจะมีวิธีการจัดการกับตัวเลขจำมาก โปรแกรมพวกนี้ได้แก่โปรแกรมที่ประมวลผลสิ่งที่อยู่สูง คือดวงดาวและอวกาศ จนถึงโปรแกรมที่คำนวณสิ่งที่อยู่ใต้ดินคือคำนวณการเกิดภูเขาไฟ คำนวณการเคลื่อนที่ของยานอวกาศ จนถึงกระบวนการทำงานของชีวโมเลกุลเลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ซอฟต์แวร์ในด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์มักจะเป็นโปรแกรมช่วยในการออกแบบการทดลอง โปรแกรมจำลองการทำงานของระบบ และเป็น Real-time มากขึ้น

Embedded software
ปัจจุบันนี้ผลิตภัณฑ์อัตโนมัติต่างๆ มีใช้กันทั่วไปทั้งในกลุ่มผู้บริโภคและตลาดอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์จำพวกนี้มีโปรแกรมฝังอยู่ในหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียว read only memory เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้น ๆ จึงทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานได้จำกัด เช่น โปรแกรมที่มีในเครื่องซักผ้าสามารถควบคุมเวลาและขั้นตอนการซักอัตโนมัติ เตาไมโครเวฟที่ตั้งเวลาในการทำอาหารได้ รถยนต์มีโปรแกรมควบคุมระบบเบรค ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

Personal Computer software
ซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใ ช้ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ที่พวกเราคุ้นเคยกันดีที่ได้แก่โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมคำนวณแบบตาราง โปรแกรมทำงานกับรูปภาพ บันเทิงต่าง ๆ การจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมเครือข่าย โปนแกรมธุรกิจ เป็นต้น

Web-based software
เว็บเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปแสดงผลได้โดยโปรแกรมที่เรียกว่า browser ในเว็บมีคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้จัดรูปแบบการแสดงผลข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว ต่าง ๆ และภายในเว็บเองก็สามารถบรรจุข้อมูลที่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้ด้วย ข้อมูลบนเว็บมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเนื่องจากเป็นแหล่งสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล

Artificial software
โปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมที่จัดการกับปัญหาซับซ้อน ไม่สามารถคิดหาคำตอบจากการคำนวณอย่างตรงไปตรงมาได้ ต้องใช้เความรู้เพิ่มเติมจากการคำนวณ นั่นคือ ความรู้เชิงฮิวริสติก (Heuristics) ทั้งนี้เพราะการที่จะใช้ วิธีการที่ให้ได้ผลสมบูรณ์จริง ๆ นั้น จำเป็นต้องอาศัยความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญที่เคยใช้วิธีการนั้น ๆ ในการปฏิบัติจริง ตัวอย่างโปรแกรมด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ โปรแกรมประมวลผลภาษาธรรมชาติ (โปรแกรมแปลภาษา ตรวจสอบไวยากรณ์ ฯลฯ) โปรแกรมรู้จำเสียง การรู้จำภาพ โปรแกรมพิสูจน์ทฤษฎี เกม

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
<< กลับ
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.