ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN

1. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS: Network Operating System)
มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เช่น Windows for Workgroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Server-based เช่น Netware หรือ Windows NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอฟต์แวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลกับ Server

2. เครื่องเซิร์ฟเวอร์และสถานีงาน (Server and Workstation) ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายนั่นเอง โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) จะเป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการต่างๆ ได้แก่สถานีงาน (Workstation) หรือโหนด (Node) ซึ่งบริการหลัก ๆ ก็คือ บริการแฟ้มข้อมูล (File Server) บริการเครื่องพิมพ์ (Print Server) บริการ FAX (FAX Server) บริการฐานข้อมูล (Database Server) เป็นต้น ส่วน Workstation นั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้ในการ ติดต่อเข้าเครือข่ายนั่นเอง

3. แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card-NIC) จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผนวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (expansion bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้

4. สื่อส่งข้อมูล (Media) ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจประกอบด้วยสายแบบต่าง ๆ คือ UTP/STP, Coaxial, Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สาย เช่น Infrared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้

5. ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals) จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่อง Server ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้


 
     
   
 



























 





 
     
 
 
<< ระบบเครือข่าย LAN | โทโพโลยี >>
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.