โทโพโลยีทางตรรกะ
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโทโพโลยี มักจะหมายถึงโทโพโลยีทางตรรกะ ซึ่งมีรูปแบบการเชื่อมโยงหลายรูปแบบรูปแบบที่สำคัญมีดังนี้
โทโพโลยีแบบสมบูรณ์ (full connected or complete topology)
โทโพโลยีแบบเมช (mesh topology)
โทโพโลยีแบบดาว (star topology)
โทโพโลยีแบบต้นไม้ (tree topology)
โทโพโลยีแบบบัส (bus topology)
โทโพโลยีแบบวงแหวน (ring topology)
โทโพโลยีแบบผสม (hybrid topology)
โทโพโลยีทั้ง 6 แบบเป็นรูปแบบวิธีที่แสดงว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นแบบใด
อาจไม่ใช่รูปแบบที่ต่อกันทางกายภาพจริง ๆ ตัวอย่างเช่น โทโพโลยีแบบดาว
ไม่ได้หมายความว่า คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องลากสายจากฮับ (hub) เป็นรูปดาวจริง
ๆ
การพิจารณาว่าจะเลือกเชื่อมต่อโดยใช้โทโพโลยีแบบใดนั้น
ขึ้นอยู่กับว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายทำงานในลักษณะใด ซึ่งแบ่งได้เป็น
2 ลักษณะ ดังนี้
(1) แบบเพียร์ทูเพียร์ (peer-to-peer)
เป็นแบบที่อุปกรณ์ต่างๆ มีสิทธิ์ที่ในการใช้สื่อส่งข้อมูลได้เท่าๆ กัน
(2) แบบปฐมภูมิ ทุติยภูมิ
(primary - secondary) เป็นที่แบบที่ต้องอาศัยอุปกรณ์ตัวหนึ่ง เรียกว่าอุปกรณ์ปฐมภูมิทำหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์อื่น
ซึ่งก็คืออุปกรณ์ทุติยภูมิ เมื่ออุปกรณ์ทุติยภูมิต้องการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นๆ
โดยใช้สื่อส่งข้อมูลต้องคอยการสั่งการจากอุปกรณ์ปฐมภูมิจึงสามารถส่งข้อมูลได้
โทโพโลยีแบบสมบูรณ์ วงแหวน
และเมช เป็นแบบเพียร์ทูเพียร์ ในขณะที่แบบดาวและแบบต้นไม้ เป็นแบบปฐมภูมิ-ทุติยภูมิ
แต่แบบบัสสามารถเป็นได้ทั้งสองแบบ