โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology) คอมพิวเตอร์แต่ละตัวถูกเชื่อมต่อด้วยสื่อส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ควบคุมกลาง (central controller) ที่เรียกว่า ฮับ (hub) ซึ่งตามรากศัพท์คำว่า ฮับ จะหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นดุมล้อ ฮับจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือการรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านฮับเสมอ
o
การเซตอัป เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกตัวจะต้องเชื่อมต่อกับฮับ ดังนั้นคอมพิวเตอร์ไม่ควรวางห่างจากฮับไปมากนัก ถ้าจะให้ดีควรจะให้ห่างจากฮับน้อยกว่า 100 เมตร ฮับแต่ละตัวสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ตั้งแต่ 4, 8 ไปจนถึง 16 เครื่อง ในองค์กรใหญ่ๆ บางแห่ง มักจะมีฮับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในแต่ละชั้นแยกกัน
o
การขยายเพิ่มเติมระบบ การขยายเพิ่มเติมคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่ายแบบดาวนี้ทำได้ง่าย เพียงแต่ต่อสายเคเบิลเชื่อมจากคอมพิวเตอร์ไปเสียบที่ช่องพอร์ตของฮับ จากนั้นก็ทำการเซตอัป ก็สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องปิดการทำงานของเครือข่ายแต่อย่างใด
o
การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดรวนหรือสายเคเบิลมีปัญหาขึ้นมา เครือข่ายส่วนอื่นจะไม่ถูกกระทบไปด้วย การแก้ไขก็เพียงแต่แยกเอาคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นออกมาซ่อม นอกจากนี้ฮับจำนวนมากยังสามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายได้อีกด้วย จุดนี้ทำให้การแก้ไขทำได้ง่ายขึ้น
o
ข้อดี (1) ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบเมช และแบบสมบูรณ์ เพราะว่าแบบดาวอุปกรณ์แต่ละตัวต้องการอินพุต/เอาต์พุตพอร์ตเพียง 1 พอร์ตเท่านั้น (2) การติดตั้งการแก้ไขเครือข่ายทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายเพิ่ม สำหรับอุปกรณ์ใหม่หรือยกเลิกอุปกรณ์เดิม (3) ความทนทาน (robustness) ของระบบ นั่นคือถ้าอุปกรณ์หรือสายใดเสีย จะมีผลเฉพาะอุปกรณ์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงระบบทั้งหมด (4) ระบุอุปกรณ์หรือสายที่เสียได้ง่าย (5) ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล (collision) ที่ทำการรับส่งในเครือข่าย
o
ข้อเสีย (1) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง เนื่องจากแม้ว่าโทโพโลยีแบบดาวจะใช้สายน้อยกว่าแบบเมช แต่แบบดาวยังคงใช้สายมากกว่าโทโพโลยีแบบอื่น เช่น แบบต้นไม้ แบบวงแหวน และแบบบัส |
||||||||||
|
||||||||||
<< กลับ | ต่อไป >> |
||||||||||
Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process. All rights reserved. |