ไบออส (BIOS) ไบออส (BIOS) ย่อมาจาก Basic Input Output System แต่ในเมนบอร์ดแล้วหมายถึง โปรแกรมที่บรรจุอยู่ใน ROM (Read only Memory) หน้าตาของ ROM นั้นจะมีลักษณะแบบตัวไอซี สี่เหลี่ยมจตุรัส/สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดไม่ใหญ่นัก บนตัว ROM เองก็มักจะมีป้ายบอกว่านี่เป็นของ Awards, AMI, Phonix หรือของผู้ผลิตรายใด ข้อดีของการมีป้ายดังกล่าวบอกไว้ คือ สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่า อุปกรณ์ตัวไหนเป็น BIOS เพราะบางครั้ง บนเมนบอร์ดมี EEPROM ขนาดเดียวกัน 2 - 3 ตัว ซึ่งทำงานคนละอย่าง ภายใน ROM นั้นมีโปรแกรมฝังตัวเรียกว่าเฟิร์มแวร์ (Firmware) โดยโปรแกรมที่พัฒนามานั้นสำหรับใช้กับเมนบอร์ดรุ่นนั้น ซึ่งผู้ผลิตจะพัฒนาขึ้น BIOS เป็นเสมือนศูนย์บัญชาการบนเมนบอร์ดที่จะสอดส่อง ดูแล ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ Input/Output ขั้นพื้นฐาน และแจ้งให้ทราบกรณีพบว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นแล้ว สิ่งที่แจ้งให้ทราบนั้นเรียกกันว่า POST (Power On Self Test) หรือบางครั้งจะแจ้งให้ทราบโดยการส่งสัญญาณบี๊บทางลำโพงของคอมพิวเตอร์ก็มี ไบออสนั้นถูกโปรแกรมให้มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะของเมนบอร์ด เช่น ใช้กับซีพียูรุ่นไหน ชิปเซ็ตรุ่นไหน หน่วยความจำแบบใด และใช้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงพื้นฐาน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ พอร์ตขนาน พอร์ตอนุกรมแบบใด ดังนั้นจึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไมต้องเซ็ตไบบอส (BIOS Setup) ก็เพื่อกำหนดให้ไบออสรู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่มีในคอมพิวเตอร์และสามารถใช้งานได้นั่นเอง ปัจจุบันเนื่องจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ชิ้นส่วนภายในคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก และตัวไบบอสเองก็เป็นเพียงโปรแกรมเท่านั้น จึงอาจจะมีข้อบกพร่องได้ จึงมีการออกแบบไบออสที่สามารถนำมาใส่โปรแกรมลงไปทีหลังได้ เรียกว่าการแฟลช (Flash) ไบออส หรือการล้างแล้วใส่โปรแกรมลงไปใหม่ |
||||||||||
|
|
|||||||||
Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process. All rights reserved. |