Bluetooth

bluetooth จะใช้คลื่นวิทยุในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองตัว จะแตกต่างจาก IrDA ตรงที่อุปกรณ์ทั้งสองตัวไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กัน ในปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้ blutooth มากมาย นอกจากในคอมพิวเตอร์แล้ว ในโทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ก็มี ในอุปกรณ์เหล่านี้จะมีชิบเล็กๆ ที่ทำให้อุปกรณ์สามารถติดต่อกันได้ ถ้าคอมพิวเตอร์คุณไม่มี ก็สามารถซื้อการ์ด bluetooth มาต่อเพิ่มได้ โดยการ์ดนี้จะเปลี่ยนพอร์ตอนุกรม หรือ พอร์ยูเอสบีที่มีอยู่ให้เป็น พอร์ต bluetooth นอกจากนี้ยังมีการ์ดbluetooth หรืออุปกรณ์เสริม สำหรับ notebook, PDA, โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ด้วย

ในการติดต่อสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีหลายวิธี อย่างเช่น
โดยใช้สายไฟ หรือสายเคเบิล
ใช้คลื่นวิทยุ
รังสีอินฟราเรด

เมื่อคุณใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คุณจะเห็นว่าอุปกรณ์ต่างๆ มีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามโดยอาศัยข้อตกลงต่างๆเพื่อทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกันเข้าใจ ศาสตร์เหล่านี้เริ่มเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นทุกวัน วิธีใหม่ที่ค้นพบในปัจจุบันนี้อีกวิธีหนึ่งคือ Bluetooth ซึ่งเป็นเทคโนโลยีไร้สายและทำงานอัตโนมัติ และมีความสามารถในการทำงานที่น่าสนใจมากมายที่คุณสามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

การที่อุปกรณ์ 2 ชนิดจะติดต่อสื่อสารกันได้ จะต้องมีข้อตกลงเดียวกันก่อนที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น ข้อตกลงอย่างแรกก็คือ ข้อตกลงเกี่ยวกับลักษณะการติดสื่อสารว่าจะติดต่อกันแบบมีสาย หรือไม่มีสาย ถ้าใช้สายจะใช้สายกี่สาย เมื่อตกลงเบื้องต้นแล้ว ขั้นต่อไปที่ตามมาก็คือ
จะส่งทีละ1 บิต หรือเรียกว่า Serial communication หรือส่งเป็น กลุ่ม เรียกว่า Parallel communication ในคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีทั้ง2 แบบ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องรู้ว่าแต่ละบิตหมายความว่าอย่างไรและข้อมูลที่ได้รับเป็นข้อมูลเดียวกับที่ส่งไปหรือไม่ ทำให้เกิดการสร้างข้อตกลงขึ้น เรียกว่า Protocol แปลว่า ข้อตกลงนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่อุปกรณ์ทั่วไปจะมี protocolที่เหมือนกันเป็นมาตรฐาน

บริษัทคอมพิวเตอร์และผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตระหนักดีว่า ในการสื่อสารที่ซับซ้อนมากขึ้นจะต้องใช้สายไฟจำนวนมาก เพื่อให้อุปกรณ์ของคอมพิวเตอรสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ต้องใช้สาย ด้วยเหตุนี้ bluetooth จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ
bluetooth เป็นคลื่นวิทยุความถี่ 2.45 gigahertz จำกัดระยะได้ประมาณ 10 เมตร ทะลุกำแพงได้ เป็นมาตรฐานหนึ่งที่พัฒนาจากบริษัทต่างๆ ที่อนุญาติให้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด เมาส์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถติดต่อสื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องใช้สายเคเบิลใดๆ ทั้งสิ้น

ใครเป็นคนตั้งชื่อ bluetooth
Harald Bluetooth เป็นกษัตริย์ของเดนมาร์ก ในปลายทศวรรษ 900 Svend Forkbeard เป็นคนเลือกชื่อนี้

หลักการทำงาน
Bluetooth จะปล่อยสัญญาณอ่อนๆ ประมาณ 1 มิลลิวัตต์ แต่โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไปจะปล่อยสัญญาณประมาณ 3 วัตต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สัญญาณที่ต่ำกว่าจะจำกัดการส่งสัญญาณลงแหลือ 10 เมตร ทำให้ตัดโอกาสที่จะไปซับซ้อนกับโทรศัพท์หรือโทรทัศน์ได้ แต่ถึงแม้ว่าพลังงานที่ Bluetooth ปล่อยออกมานั้นน้อยแต่ก็สามารถที่จะทะลุกำแพงห้องได้อย่างสบายๆ ทำให้เราสามารถควบคุมผ่านกำแพงจากอีกห้องหนึ่งได้

ถ้าในห้องเรามีอุปกรณ์ Bluetooth หลายๆ ตัว คุณอาจจะคิดว่ามันกำลังสื่อสารกันอยู่ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ อุปกรณ์ Bluetooth แต่ละอันไม่จำเป็นจะต้องมีความถี่การส่งสัญญาณเดียวกันในเวลาเดียว เพราะ Bluetooth ใช้เทคนิคที่เรียกว่า spead-spectrum frequency hopping นั้นคือ การสุ่มเลือกความถี่ที่อยู่ในวงที่จำกัดเอาไว้ และจะเปลี่ยนจากความถี่หนึ่งไปยังอีกความถี่หนึ่งตลอดเวลา คือ 1,600 ครั้งต่อวินาที ทำให้อุปกรณ์ Bluetooth อื่นๆ ไม่สามารถสื่อสารกันได้ แต่อาจมีการรบกวนบ้าง แต่การรบกวนก็เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยววินาทีเท่านั้นเอง ซึ่งเมื่อมันเข้าไปอยู่ในช่วงความถี่ของอุปกรณ์อื่นแล้ว ตัวอุปกรณ์ก็จะติดต่อกันว่ามีข้อมูลจะรับหรือจะส่งกันหรือไม่ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสั่ง การสื่อสารของอุปกรณ์นั้นเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และเมื่อมีการสื่อสารกันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อะไรก็ตาม Bluetooth จะสร้างเครือข่าย ที่เรียกว่า personal-area network (PAN) หรือ piconet ซึ่งจะมีรัศมีไม่มากนัก ไม่เกิน คลิปที่เข็มขัดกับหูของคุณ เมื่อมีการสร้างเครือข่ายแล้ว ตัวที่ติดต่อด้วยจะเลือกความถี่ที่ตรงกันตลอดเวลาที่มีการเปลี่ยนความถี่ เพื่อให้สามารถติดต่อกันได้ตลอดและจำกัดเครือข่าย piconet อื่นๆ เข้ามาแทรก

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.