หน่วยประมวลผล (processor)

การติดตั้งหน่วยประมวลผลลงในแผงวงจรหลัก

ขั้นแรก ยกก้านล็อกซีพีขึ้นก่อน
ขั้นที่สอง วางซีพีตามมุมที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องแรงกดใดๆทั้งสิ้น
ขั้นที่สาม วางก้านล็อกลงตำแหน่งเดิมให้ลงล็อก
Please download Java(tm).

ที่ระบายความร้อน (heat sink)

หน่วยประมวลผลรุ่นใหม่เวลาทำงานจะเกิดคามร้อนสูงมาก ซึ่งอาจเป็นผลทำให้ ชิบต่างๆ ไหม้ได้ ถึงแม้ที่แคสจะมีพัดลมแล้วก็ตาม ที่ตัวซีพียูก็ควรมี ที่ระบายความร้อนด้วย แผงระบายความร้อนจะมีลักษณะเป็นซี่ๆ มากมายเพื่อเป็นที่ดูดซับควาร้อนจากซีพียู ในคอมพิวเตอร์โน็ตบุ้คจะมี ที่ระบายความร้อน แบบ heat pipe ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า

หน่วยประมวลผลร่วม (coprocessor)

หน่วยประมวลผลร่วม เป็นชิบหน่วยประมวลผลแบบพิเศษที่เพิ่มหน่วยประมวลผลอีกบนวงจร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีความเร็วมากขึ้นจนเห็นได้ชัด เทคโนโลยีที่ใช้ก็คือ floating-point coprocessor หรือ หน่วยประมวลผลร่วมทางคณิตศาสตร์ (math or numeric coprocessor) คอมพิเตอร์ในปัจจุบันเป็นแบบหน่วยประมวลผลร่วมเป็นส่วนใหญ่

หน่วยประมวลผลแบบขนาน (parallel processing)

คอมพิวเตอร์บางรุ่นใช้หน่วยประมวลผลมากกว่า 1 ตัว เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงาน เรียกว่า เป็นการประมวลผลแบบขนาน ที่สามารถแบ่งปัญหาออกเป็นหลายๆ ส่วน และทำงานไปพร้อมๆกัน และมารวบรวมทีหลัง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีโปรแกรมมาคอยควบคุมการทำงานเหล่านี้ โปรแกรมจะต้องกำหนดว่าจะต้องแบ่งปัญหาอย่างไร และนำผลที่ได้กลับมารวมกันอย่างไร ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์จะใช้หน่วยประมวลผลแบบขนานเป็นส่วนใหญ่ รูปด้านล่างเป็นรูปตัวอย่างการทำงานของ หน่วยประมวลผลหรือ โปรเซสเซอร์ 4 ตัว

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.