เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (ink jet printer)
การทำงานของเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทานบางที่อยู่ด้านล่างของหัวฉีดทุกสีของเครื่องพิมพ์ จะทำให้เกิดความร้อนที่ส่วนล่างของหัวฉีด ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก ในระยะเวลาสั้นๆ หมึกจะเดือดก่อตัวเป็นไอ จากนั้นก็จะเป็นฟองอากาศลอยขึ้นมาจากด้านล่างไอจะลอยขึ้นมาดันน้ำหมึกผ่านท่อขนาดเล็ก ทำให้น้ำหมึกพ่นออกมาไปยังกระดาษ ปริมาณน้ำหมึกที่พ่นออกมาจะน้อยมากประมาณหนึ่งในล้านของหยดน้ำปกติ การทำให้เกิดตัวอักษรหนึ่งตัวต้องใช้จุดหมึกมากกว่าหนึ่งจุดแล้วแต่ข้อมูลที่มีอยู่ในตาราง เมื่อตัวต้านทานเย็นตัวลงฟองอากาศที่ขยายตัวก็จะหายไปพร้อมกับดูดน้ำหมึกเข้ามาในหัวฉีดใหม่เตรียมพร้อมสำหรับการพ่นครั้งต่อไป อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีให้การพ่นหมึกมีมากมาย ต่อไปเป็นภาพตัวอย่าง การพ่นหมึกของตลับหมึก
เครื่องพิมพ์แบบหมึกแข็ง การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
กระดาษที่ใช้พิมพ์ คุณภาพของกระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ก็มีผลต่อคุณภาพงานที่ได้อย่างมาก ถ้าใช้กระดาษธรรมดาที่ไม่เคลือบแว็กซ์ กระดาษเนื้อหยาบจะทำให้เกิดการสะท้อนแสงแบบไม่เป็นระเบียบทำให้ความสว่างของภาพลดลง และจะดูดซับสีในปริมาณากทำให้สิ้นเปลืองสี และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาพมัว แต่ถ้าเป็นกระดาษเคลือบแว็กซ์ จะเป็นกระดาษที่เหมาะสำหรับการพิมพ์สีอย่างมาก เนื่องจากสีจะแห้งอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการดูดซับสีมากเกินไป อีกทั้งด้วยเนื้อกระดาษที่ละเอียดและฉาบด้วยแว็กซ์ทำให้การสะท้อนแสงเป็นไปอย่างเป็นระเบียบ ภาพที่ได้จึงสว่างมากขึ้น และคมชัดมากขึ้น ภาพบิตแมบและเอาต์ไลน์ต่างกันอย่างไร ภาพบิตแมบ ในคอมพิวเตอร์เป็นไปตามแนวคิดของ Getenberg ซึ่งจะกำหนดรูปแบบของตัวอักษรไว้หมดแล้ว ข้อดีในการใช้งานคือ สามารถพิมพ์งานได้อย่างรวดเร็ว แต่ข้อเสีย คือ มีฟอนต์ให้จำกัด ถ้าฮาร์ดก๊อปปี้จำเป็นต้องมีภาพกราฟฟิก ซอฟต์แวร์ของคุณต้องสามารถส่งคำสั่งที่เครื่องพิมพ์เข้าใจไปที่เครื่องพิมพ์ด้วย เมื่อคุณสั่งให้พิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์จะส่งคำสั่งไปบอกเครื่องพิมพ์ก่อนว่าหน่วยความจำตรงตำแหน่งไหนในเครื่องพิมพ์จะถูกใช้งาน จากนั้นตัวอักษรแต่ละตัว หรือตัวอักขระต่างๆ จะถูกส่งไปยังเครื่องในรูปแบบของ ASCII code เท่านั้น จากนั้นโปรเซสเซอร์บนเครื่องพิมพ์จะทำการเทียบรหัส ASCII code กับตารางแพทเทินของจุดของตัวอักษร และเอาแพทเทินนั้นมาพิมพ์ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะพิมพ์ครบตามที่กำหนด เอาต์ไลน์ หรือเว็กเตอร์ฟอนต์จะทำงานร่วมกับ PDL (Page Description Language) หรือ Adobe Postscript หรือ Microsoft TrueType ด้วยวิธีนี้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นอักษรหรือภาพกราฟฟิกจะถูกมองเป็นกราฟฟิกทั้งหมด เท็กซ์และกราฟฟิกที่ใช้งานจะถูกแปลงเป็นชุดคำสั่งที่เครื่องพิมพ์สามารถเข้าใจได้ ซึ่งเป็นคำสั่ง PDL ที่ระบุตำแหน่งของจุดบนหน้ากระดาษ PDL สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับเครื่องพิมพ์เมตริกซ์ เอาต์ไลน์ฟอนต์มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่า สามารถปรับขนาด และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆได้ หลักการทำงานของเอาต์ไลน์ฟอนต์ คือ อาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ อธิบายลักษณะของตัวอักขระต่างๆ เครื่องพิมพ์บางรุ่นจะมี PDL มาด้วยซึ่งจะเป็นตัวบอกเครื่องพิมพ์ว่าจะวางจุดบนตำแหน่งใดบนกระดาษสำหรับตัวอักษรแต่ละตัว สำหรับเครื่องพิมพ์ที่ไม่มี PDL มาด้วย ตัวไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์จะเป็นตัวเปลี่ยนคำสั่งให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องพิมพ์ต้องการ |
||||||||||
|
|
|||||||||
Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process. All rights reserved. |