เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer)

เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) ใช้หลักการเปลี่ยนตัวอักษร และภาพ ให้เป็นสัญญาณภาพ ที่มีความละเอียดตั้งแต่ 200 จุดถึง 1200 จุดต่อนิ้ว หลักการทำงานโดยทั่วๆ ไป จะใช้แสงเลเซอร์ วาดภาพที่จะพิมพ์ลงบนกระบอกรับภาพ (เช่นเดียวกับ เครื่องถ่ายเอกสาร) โดยกระบอกรับภาพ จะมีประจุไฟฟ้า ตามรูปร่างของภาพ เมื่อกระบอกรับภาพ หมุนมาถึงตัวปล่อยผงหมึก ผงหมึกจะเกาะ เฉพาะบริเวณที่ไม่มีประจุไฟฟ้า แล้วกระบอกรับภาพ จะอัดผงหมึกลงบนกระดาษ แล้วอบด้วยความร้อน ภาพพิมพ์ก็จะติดบนกระดาษ มีทั้งเครื่องพิมพ์ขาวดำ และเครื่องพิมพ์สี ซึ่งราคาจะแพงมาก ส่วนตลับหมึกของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะบรรจุในตลับที่เรียกว่า โทนเนอร์ (toner) ไม่สามารถเติมหมึกได้ ต้องเปลี่ยนเลย เวลาเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งชุด

ปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบ โดยมีรูปหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ พร้อมอุปกรณ์สแกนเนอร์ และเครื่องโทรสารในเครื่องเดียว

หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์แบบขาวดำ

ระบบจะส่ง ASCII code หรือ PDL ไปยังโปรเซสเซอร์ของเครื่องพิมพ์ โปรเซสเซอร์จะทำหน้าที่สั่งให้เลเซอร์เปิดและปิดอย่างรวดเร็ว กระจกที่หมุนอยู่ตลอดเวลาจะตรวจจับลำแสงเลเซอร์ทำให้ลำแสงเป็นลำแสงในแนวขวางผ่านพื้นผิวของวัตถุทรงกระบอกที่เรียกว่า ดรัม หรือ OPC ย่อมาจาก Organic Photoconducting Cartridge ลำแสงเลเซอร์ที่เปิดปิดอย่างรวดเร็วผ่านกระจกหมุนไปยังดรัมทำให้เกิดจุดสว่างเล็กๆเมื่อลำแสงเลเซอร์ตกกระทบที่พื้นผิวของดรัมในทางกว้างหมดแล้ว ดรัมจะหมุนด้วยระยะ 1/300 หรือ 1/600 นิ้ว จากค่าที่กำหนด แสงเลเซอร์ก็จะยิงไปที่ดรัมที่บรรทัดหรือแนวต่อไป ในเครื่องพิมพ์บางประเภทใช้ หลอดไฟ ที่เรียกว่า LED ย่อมาจาก Small Light-Emitting Diodes) ทำหน้าที่ตรงส่วนนี้แทนแสงเลเซอร์ แต่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกลไกน้อยกว่า

จุดต่างๆ ที่แสงเลเซอร์ตกกระทบบนดรัมจะสภาพประจุไฟฟ้าที่แผ่นฟิล์มซึ่งทำจากซิงค์ออกไซด์ และวัสดุอื่นๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้จุดแสงนั้นมีสภาพทางประจุไฟฟ้าเหมือนกับกระดาษ แสงได้เปลี่ยนสภาพประจุไฟฟ้าตัวอย่างเช่นเปลี่ยนจากลบเป็นบวก ซึ่งจุดใดที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกจะเป็นจุดที่ต้องติดผงหมึกซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นลบเนื่องจากประจุตรงข้างกันจะดูดกันเสมอ ส่วนของดรัมที่ไม่โดนแสงจะไม่เปลี่ยนสภาพประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีประจุเป็นลบ จะไม่ติดผงหมึก ทำให้เป็นส่วนของกระดาษเหมือนเดิมไม่มีการติดผงหมึก ระหว่างที่ดรัมหมุนก็จะสัมผ้สกับผงหมึก ซึ่งมักเรียกว่าโทนเนอร์ และผงหมึกจะติดเฉพาะส่วนที่มีประจุเปลี่ยนไป
เมื่อดรัมหมุนไป ระบบเกียร์และตัวหมุนดึงกระดาษจะดึงกระดาษเข้าไปในเครื่องพิมพ์ ทำให้เมื่อดรัมหมุนไป ดรัมจะไปกดทับกระดาษที่ผ่านกระบวนการทำให้กระดาษมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเพื่อทำปฏิกริยากับผงหมึกทำให้ผงหมึกที่ติดอยู่บนดรัมไปติดอยู่บนกระดาษ ขั้นต่อไปดรัมจะหมุนต่อไปสัมผัสกับ corona wire ซึ่งจะทำให้พื้นผิวของดรัมมีสภาพประจุไฟฟ้ากลับเหมือนสถานะตั้งต้นอีกครั้ง จากตัวอย่างข้างต้นคือสถานะประจุลบ เพื่อเตรียมพร้อมกับการสร้างภาพในกระดาษแผ่นต่อไป

เครื่องพิมพ์เลเซอร์สี

       
การทำงานจะคล้ายกับ เลเซอร์ขาวดำ เครื่องพิมพ์จะเริ่มสร้างภาพที่ต้องการพิมพ์โดยการหมุนของสายพาน และฉายลำแสงเลเซอร์ไปยังบริเวณต่างๆ เมื่อแสงตกกระทบที่ดรัมจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ดรัมจะหมุนสี่รอบ แต่ละรอบจะสร้างภาพของแต่ละสีที่ใช้ในการพิมพ์ ได้แก่ ดำ ม่วงแดง น้ำเงินเขียว และเหลือง ในระหว่างที่ดรัมหมุนจะไปสัมผัสกับโทนเนอร์ซึ่งเป็นที่สำหรับเก็บหมึก ที่ถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนของแต่ละสี
ดรัมจะหมุนเพื่อสร้างภาพสีของแต่ละสีจะเกิดการผสมกันจนได้ภาพจริงแล้วส่งไปยังสายพานลำดับที่สอง(secondary transfer belt) ต่อจากนั้นกระดาษจะถูกดูดเข้าไปผ่านสายพานลำดับที่สองที่มีภาพอยู่ แล้วลูกกลิ้งจะกดทับสายพานให้ติดกับกระดาษเพื่อทำให้ผงหมึกบนสายพานไปติดบนกระดาษทำให้เกิดภาพสีที่ต้องการบนกระดาษในที่สุด

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.