จอภาพ (monitor)

จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (text) กับจอแบบกราฟิก (graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel

ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (video card, video adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล

ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน

จอภาพแบบตัวอักษร
เป็นจอภาพที่แสดงผลได้เพียวสีเดียว ส่วนใหญ่เป็นสีขาวดำ หรือสีเขียวดำ หลักการทำงานง่ายๆ คือ จอภาพจะรับสัญญาณจากการ์ดควบคุม (adapter card) ในลักษณะของสัญญาณดิจิทัล คือ 0 กับ 1 และจะสร้างภาพ หรือตัวอัขระ โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ เมื่อลำแสงตกกระทบที่ำตำแหน่งใด ตำแหน่งจะเกิดการเรืองแสงเป็นจุดเรืองแสง การกำหนดตำแหน่งที่ให้ลำแสงตกบนหน้าจอนั้น ควบคุมโดย การ์ดควบคุมที่จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ ในปัจจุบันจอภาพแบบนี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว ยกแว้นการใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องเน้นความสวยงาม เช่น หน้าจอเครื่องคิดเงินตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ


จอภาพแบบกราฟิก

เป็นจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าแรงสูง (high voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัวอิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง


จอภาพผลึกเหลว

จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ราคาของจอประเภทนี้สูงด้วย
Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic

จอพลาสม่า (plasma display)

จอภาพแบบนี้จะใช้เทคโนโลยีอีกลักษณะหนึ่ง คือ แต่ละจุดบนจอประกอบด้วยจุดย่อยสามจุดสำหรับแต่ละสี แดง เขียว น้ำเงิน ซึ่งจะเรืองแสงจากการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อให้ก๊าซ ในหลอดเล็กๆ ตรงแต่ละจุดอยู่ในสถานะพลาสมา และเมื่อมีการ "สั่ง" ให้จุดนั้นสว่างขึ้น ก็จะมีการสร้างความต่างศักย์ที่ฉากเรืองแสงฝั่งตรงข้าม ทำให้เกิดการคายประจุออกมาและเกิดการเรืองแสงขึ้นจอแบบนี้ สามารถทำได้ขนาดใหญ่มาก เช่น 40 - 50 นิ้ว หรือกว่านั้น มีราคาสูงมาก มีน้ำหนักเบา สามารถติดผนังได้ ส่วนใหญ่ใช้ทำป้ายโฆษณาต่างๆ

 
 
     Links อื่น ๆ
 



























 





 
       
 
 
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.