แรม
(RAM)
แรม หรือ RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นชุดของชิบหน่วยความจำ ที่เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์หรือ เป็นที่ที่เก็บข้อมูลชั่วคราวในระหว่างที่คอมพิวเตอร์กำลังปะมวลผลอยู่ ถ้าเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลหรือความจุมีมากก็มีเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลที่ใช้ประมวลผลมากทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วมาก ขึ้นเนื่องจากมีเนื้อที่พอสำหรับเก็บข้อมูลที่ใช้ในระหว่างการประมวลผลไม่จำเป็นต้องเอาไปเก็บไว้ในหน่วยความจำสำรองซึ่งการ
s ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองมาใช้นั้นช้ากว่า ในการจัดสรรเนื้อที่ที่ใช้ในการประมวลผลมีหลายวิธี การจัดสรรเนื้อที่หน่วยความจำเป็นเรื่องหนึ่งในศาสตร์ที่น่าสนใจคือศาสตร์ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก
RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำแบบ volatile ส่วน อุปกรณ์ที่เป็น nonvolatile ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์, ROM (Read Only Memory)
การทำงานของหน่วยความจำแบบ volatile คล้ายกับแก้วน้ำที่รั่วต้องคอยเติมน้ำตลอดเวลาเพื่อรักษาสภาพไว้ได้นั่นเอง
การใส่หน่วยความจำลงในเนบอร์ด
คำว่า Random Access Memory แปลเป็นภาษาไทยก็คือ หน่วยความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที
ในการเข้าถึงข้อมูลมีหลายชนิดด้วยกัน การเข้าถึงข้อมูลได้ทันทีนี้เป็นวิธีการเข้าถึงข้อมูลแต่ละไบต์ได้อย่างรวดเร็ว
แต่ RAMชิบจำเป็นต้องมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจึงจะสามารถเก็บข้อมูลให้คงอยู่ได้
ดังนั้นถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงไปที่RAM ชิบ หรือ คุณปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อมูลที่อยู่บน RAM จะหายไป นี้คือเหตุผลที่คุณจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลทุกครั้งก่อนที่คุณจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
ชนิดของ RAM มีอยู่ 2 ชนิด คือ
dynamic RAM (DRAM)
static RAM (SRAM)
RAM
ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันในด้านการเก็บรักษาข้อมูล dynamic RAM จะมีการตรวจสอบข้อมูลใหม่นับพันครั้งต่อวินาทีมิเช่นนั้น
ข้อมูลจะหายไป แต่ในกรณี static RAM จะไม่มีการตรวจสอบข้อมูลใหม่ซึ่งทำให้มันทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่า
แต่มีราคาแพงกว่าและใช้พลังงานมากกว่า RAM ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นหน่วยความจำแบบ
volatile นั้นคือข้อมูลที่อยู่บนหน่วยความจำจะหายไปเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง
การทำงานของ RAM
RAM เป็นหน่วยความความจำที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที ถ้าคุณรู้ตำแหน่งของแถวและคอลัมน์ของข้อมูล
หน่วยความจำอีกชนิดหนึ่งที่ตรงข้ามกับ RAM คือ SAM ย่อมาจาก Serial Access
Memory SAM สามารถเก็บข้อมูลเป็นแบบชุดของหน่วยความจำซึ่งจะต้องเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงตามลำดับ
คล้ายการเข้าถึงข้อมูลบนเทป เมื่อต้องการข้อมูลใดๆ จะต้องหาเรียงตามลำดับไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ
ชิบหน่วยความจำของ RAM เป็น IC integrated circuit ซึ่งทำมาจาก ทรานซิสเตอร์และตัวเก็บประจุนับล้านตัว
สำหรับDRAM ทรานซิสเตอร์กับตัวเก็บประจุจะอยู่เป็นคู่ เรียกว่า เซลล์หน่วยความจำ
ซึ่งใช้เก็บข้อมูล 1 บิตมีค่าเป็น 0 กับ 1 ซึ่งจะเก็บอยู่ในตัวเก็บประจุ
และตัวทรานซิสเตอร์ ทำหน้าที่เป็นเหมือนสวิตซ์ที่คอยปล่ยให้ วงจรที่ควบคุม
ชิบหน่วยความจำนั้นอ่านหรือแก้ไขสถานะของตัวเก็บประจุได้ ตัวเก็บประจะเปรียบเสมอนกล่องเล็กๆที่สามารถเก็บอิเล็กทรอนได้
การเก็บข้อมูลบิตที่มีค่าเป็น 1 กล่องตัวเก็บประจุนั้นจะมีอิเล็กทรอนอยู่
ถ้าเก็บข้อมูล 0 กล่องตัวเก็บประจุจะว่างเปล่า ปัญหาของตัวเก็บประจุคือประจุที่เก็บไว้จะค่อยๆลดลงเหมือนกล่องรั่ว
ในเวลาประมาไม่กี่มิลลิวินาที กล่องเต็มๆจะกลายเป็นกล่องเปล่า ดังนั้นการทำงานจึงต้องเป็นแบบ
dynamic คือต้องมีการจ่ายไฟให้เพื่อคงสภาพข้อมูลใหม่ตั้งแต่ตำแหน่งจนตำแหน่งสุดท้ายเพื่อให้ตัวเก็บประจุที่เก็บข้อมูล
1 อยู่นั้นไม่หายไป ขั้นตอนของการรักษาสภาพข้อมูลคือ ตัวควบคุมหน่วยความจำจะต้องอ่านข้อมูลทั้งหมดแล้วเขียนทับลงไปใหม่
ซึ่งกระบวนนี้เกิดขึ้นอย่างอัตโนมัตินับพันครั้งต่อวินาที และด้วยเหตุนี้เองทำให้มันได้ชื่อว่าเป็น
Dynamic RAM หรือ DRAM นั่นเอง ข้อเสียของกระบวนการนี้ก็คือ ใช้เวลาทำให้หน่วยความจำทำงานช้าลง
เซลล์หน่วยความจำจะ อยู่บนขอบของแผ่นซิลิกอนบางๆเป็นแนวเรียงกัน 2 แนวที่ตั้งฉากกัน
ได้แก่ คอลัมน์เรียกว่า บิตไลน์ และ แถว เรียกว่า เวิร์ดไลน์ จุดตัดของบิตไลน์กับเวิร์ดไลน์
ทำให้เกิดจุดตำแหน่งของเซลล์หน่วยความจำ
การทำงานของ DRAM คือ มันจะส่งกระแสไฟไปยังคอลัมน์ที่ต้องการเพื่อกระตุ้น
ทรานซิสเตอร์ทุกตัวในคอลัมน์นั้น ถ้าต้องการเขียน ในแนวแถวจะเก็บสถานะของตัวเก็บประจุที่ควรจะเก็บไว้
ถ้าต้องการอ่านข้อมูลจะมีตัว sense-amplifier ที่คอยระบุระดับอิเล็กทรอนที่มีอยู่ในตัวเก็บประจุ
ถ้ามีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จะอ่านค่าได้ เป็น 1 ต่ำกว่า 50 เปอร์เซนต์เป็น
0 ซึ่งจะมีตัวคอยนับว่าแถวไหนอ่านไปแล้วบ้างทุกครั้งที่มีการรีเฟรช ช่อวงเวลาในการทำงานทั้งหมดที่กล่าวมานี้
เป็นช่วงเวลาเพียงนาโนวินาทีเท่านั้น(1ในพันล้านวินาที)
เซลล์หน่วยความจำจะมีโครงสร้างที่ทำให้ระบบสามารถที่จะใส่-อ่านข้อมูลได้
ซึ่งวงจรดังกล่าวทำงานดังนี้
- ระบุ แต่ละแถวและคอลัมน์(RAS Row Address Select , Column Address Select)
- คอยติดตามการทำงานของรีเฟรช (Counter)
- อ่านและเก็บสัญญาณจากเซลล์หน่วยความจำ(Sense Amplifier)
- บอกว่าตัวเก็บประจุตัวใดควรเก็บประจุบ้าง (Write enable)
หน้าที่การทำงานอื่นๆของตัวควบคุมหน่วยความจำ ได้แก่
การระบุชนิด ความเร็วและความจุของหน่วยความจำและการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด
การทำงานของ static RAM จะแตกต่างโดยสิ้นเชิง โดยจะมีการทำงานในรูปแบบของ
flip-flop ในการเก็บข้อมูลแต่ละบิตของหน่วยความจำ flip-flop ของเซลล์หน่วยความจำใช้ทรานซิสเตอร์
4-6 ตัวกับสายไฟพันกัน ไม่การรีเฟรช ซึ่งทำให้SRAM ทำงานได้เร็วกว่า DRAM
อย่างไรก็ตามมันก็ใช้พลังงานมากกว่าและใช้เนื้อที่ในการแทนแต่ละเซลล์หน่วยความจำมากกว่า
ดังนั้นในแต่ละชิบจะได้หน่วยความจำน้อยกว่า ทำให้SRAM มีราคาสูงขึ้น