ช่องเสียบ (Socket) สำหรับซีพียู เมื่อดูที่เมนบอร์ดสิ่งแรกที่จะพูดถึงก็คือ ช่องเสียบ(Socket) สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งในเมนบอร์ด 486 และเพนเทียมเรียกว่า ZIF Socket ย่อมาจาก Zero Insert Force เวลาจะใส่ซีพียูลงบนซ๊อคเก็ตดังกล่าวก็เพียงแต่วางไปยังตำแหน่งของซ๊อคเก็ต ให้ขาของซีพียูตรงกับรูซ็อคเก็ตเท่านั้น เรียกว่าแทบไม่ต้องออกแรงเลยทีเดียว ปกติเมนบอร์ดสำหรับพีซีทั่วไปจะมีซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูเพียงตัวเดียว เว้นเสียแต่มีบางเมนบอร์ดที่ใส่ได้มากกว่า 1 ตัว เช่น 2 ตัว และ เมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์ บางรุ่นใช้ได้ถึง 4 ตัว ตัวของ Socket เองยังแบ่งออกเป็นหลายรุ่น เช่น Socket 3 Socket 5 Socket 7 โดยดูตามขนาดของขา (PIN) และใช้กับซีพียูต่างชนิดกัน และเมื่อมาถึงสมัยของซีพียูเพนเทียม II, Celeron อินเทลก็ออกแบบที่ใส่ซีพียูใหม่ โดยให้ชื่อว่า Slot 1 ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องแนวยาวเหมือนช่องเสียบการ์ด PCI ตัว Slot 1 นั้นเวลาติดตั้งซีพียูต้องใช้กลไกช่วยยึดซีพียูด้วย ข้อดีของ Slot 1 คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการหักงอของขาซีพียู และการติดตั้งง่ายกว่า แต่ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับ Slot 1 จึงทำให้มีเฉพาะซีพียูเท่านั้นที่สามารถใช้ Slot 1ได้
สำหรับซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูนั้น ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในระยะแรกๆ ของพีซีนั้น มักจะติดยึดซีพียูแน่นกับเมนบอร์ดเลย การถอดเปลี่ยนเพื่ออัพเกรดทำได้ก็เฉพาะช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญเท่านั้น หรือต้องการเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น ในระยะต่อมา จึงได้รับการพัฒนาให้ยึดหยุ่นต่อการอัพเกรด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ติดตามมาอีกก็คือ หลังจาก Zip Socket พัฒนาถึง Socket 7 อินเทลได้เปลี่ยนแนวทางพัฒนาซีพียูออกไป ทำให้ซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูหลากหลายขึ้น แต่รูปแบบไม่เหมือนกัน โอกาสที่ผู้ซื้อจะเปลี่ยนหรืออัพเกรดไปใช้ซีพียูต่างตระกูล ต่างผู้ผลิตก็ลดน้อยลง |
||||||||||
|
|
|||||||||
Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process. All rights reserved. |