|
||||||||
การคัดลอกมีกลไกคล้ายกับการลอกแบบเพื่อสร้าง DNA การคัดลอกเพื่อสร้าง RNA นั้น DNA จะต้องมีการคลายเกลียวออก และใช้หลักการของการเกิดเบสคู่สม ดังนั้นลำดับเบสบน RNA จะมีลำดับเบสที่เป็นคู่สมกันกับลำดับเบสบน DNA สายแม่แบบ แต่การสร้าง RNA จะใช้ไรโบนิวคลีโอไทด์เป็นสับสเตรท (สร้างโดยอาร์เอนเอโพลีเมอเรส) และไม่ต้องการไพรเมอร์ |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.11 แสดงการคัดลอกจาก DNA เป็น RNA
|
||||||||
|
||||||||
![]() |
||||||||
|
||||||||
Initiation เป็นขั้นตอนเริ่มต้นที่อาร์เอนเอโพลีเมอเรส (RNA polymerase) จะมาจับกับ DNA สายแม่แบบตรงตำแหน่ง โปรโมเตอร์ (promotor) โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของอินนิทิเอชันแฟคเตอร์ (initiation factor) หลายชนิดซึ่งจะเข้ามาเกาะบริเวณโปรโมเตอร์ และ เอนฮานเซอร์ (enhancer) ก่อน จากนั้นจึงเหนี่ยวนำให้อาร์เอนเอโพลีเมอเรสเข้ามาจับโปรโมเตอร์ได้ และทำให้เกลียวคู่ของ DNA โป่งออกบริเวณที่มีการลอกรหัส (ภาพที่ 3.12 และ 3.13) |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.13 การทำงานของทรานสคริปชันแฟกเตอร์ (TF)ในกระบวนการคัดลอกดีเอนเอ |
||||||||
Elongation เป็นขั้นต่อสาย RNA ให้ยาวขึ้นโดยมีอีลองเกชันแฟกเตอร์(elongation factor)ช่วยในการสร้าง โดยอาร์เอนเอโพลีเมอเรสทำหน้าที่นำนิวคลีโอไทด์เข้ามาต่อสาย RNA ในทิศทาง 5'-3' บริเวณปลาย 5' (ส่วนต้น) ของ RNA ที่กำลังสร้างจะแยกออกจาก DNA และปล่อยให้ DNA 2 สายพันกันเป็นเกลียวดังเดิม โดยจะมีเฉพาะช่วงปลาย 3' ช่วงสั้นๆที่กำลังเติมนิวคลีโอไทด์ที่ยังพันอยู่กับ DNA (ภาพที่ 3.14) และเนื่องจากยีนต่างๆที่ใช้เป็นแม่แบบในการคัดลอกมีตำแหน่งกระจายตัวอยู่บน DNA ทั้ง 2 สาย ดังนั้นการสังเคราะห์ RNA สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้ในหลายๆยีนบน DNA โมเลกุลเดียวกัน |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.14 ขั้นตอนต่อสาย (อีลองเกชัน) ของการคัดลอก |
||||||||
Termination เป็นขั้นตอนหยุดการสังเคราะห์ RNA โดยอาศัยโครงสร้างร่วมกับเทอร์มิเนเตอร์ (terminator) หรือ รหัสหยุด (termination signal) บน DNA ที่ประกอบด้วยเบส A ต่อกันเป็นจำนวนมากเมื่อ RNA สร้างมาถึงตำแหน่งนี้ อาร์เอนเอโพลีเมอเรสจะไม่สามารถนำนิวคลีโอไทด์มาจับกับ DNA แม่แบบได้อีก จึงหยุดการสร้างสาย RNA และจัดโครงสร้าง RNA เป็นรูปห่วง (hairpin loop) (ภาพที่ 3.15) |
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.15 ขั้นตอนหยุด (เทอร์มิเนชัน) ของการคัดลอก
|
||||||||
|
||||||||
![]() |
||||||||
|
||||||||
หลังจากสังเคราะห์ได้ RNA ขึ้นมาแล้ว จะมีการตัดแต่งให้สมบูรณ์ โดยใน mRNA จะมีการเติม 7-methyl guanosine triphosphate เข้าไปที่ปลาย 5' (capping) (ภาพที่ 3.16) โดยใช้เอนไซม์กัวนีลิลทรานสเฟอเรส (guanylyl transferase) และเติมนิวคลีโอไทด์ที่มีเบสอะดินีน (A) หลายโมเลกุลเข้าที่ปลาย 3' ที่เรียกว่าโพลีอะดีนิเลชัน (polyadenylation) (ภาพที่ 3.17) รวมทั้งตัดส่วนอินทรอนทิ้งเพื่อให้ได้ mRNA ที่สมบูรณ์ (intron splicing) (ภาพที่ 3.18) จากนั้นจึงนำ RNA ที่สังเคราะห์ได้ส่งออกนอกนิวเคลียสไปสู่ไซโตพลาสซึม |
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.16 การเติม 7-methyl guanosine triphosphate เข้าที่ปลาย 5' ของ mRNA |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
ภาพที่ 3.18 การตัดอินทรอนในสาย mRNA ที่สร้างใหม่ออกเพื่อให้ได้ mRNA ที่สมบูรณ์
|
||||||||
|
||||||||
![]() |
||||||||
|
||||||||