พัลส์โวลแทมเมทร (Pulse Votammetry)

1. พัลส์ปกติ (normal pulse)

       เป็นการให้ศักย์กับวงจรไฟฟ้าในช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อทุกหยดของปรอท โดยศักย์ที่ให้นี้มีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอกับเวลา สำหรับการวัดกระแสต้องวัดในช่วงเวลาที่หยดปรอทใกล้จะหยดออกจากปลายแก้ว

พัลส์โวลแทมโมแกรมที่ได้จะคล้ายกับโพลาโรแกรมจากวิธีแทสท์ ดังรูป

 

2. ดิฟเฟอร์เรนเชียสพัลส์ (differential-pulse voltammetry)

      เทคนิคดิฟเฟอร์เรนเชียสพัลส์โวลแทมเมทรี เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจวัดสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ที่มีปริมาณน้อย ๆ สำหรับสัญญาณกระตุ้นในลักษณะของดิฟเฟอร์เรนเชียสพัลส์ เป็นการเพิ่มศักย์ที่คงที่ในลักษณะของพัลส์ให้กับขั้วไฟฟ้าที่รับศักย์ปกติในรูปลิเนียร์-สแกนอยู่แล้ว ดังรูป

พัสส์โวลแทมโมแกรมที่ได้ มีลักษณะเป็นพีค ดังรูป

 

3. สแควร์-เวฟ (square-wave)

     สแควร์-เวฟโวลแทมเมทรี จะให้สัญญาณกระตุ้น(ศักย์ที่ต่างจากพัลส์ทั้งสองแบบที่กล่าวมาคือให้สัญญาณกระตุ้นกับวงจรไฟฟ้าเป็นช่วง ๆ สำหรับวิธีนี้จะให้หยดปรอทแค่หนึ่งหยด เป็นขั้วไฟฟ้าใช้งาน และเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นช่วงเวลาสั้นๆ รูปแบบสัญญาณกระตุ้นแบบพัลส์สแควร์-เวฟ แสดงได้ดังรูป

โวลแทมโมแกรมที่ได้ แสดงได้ดังรูป

 

4. สทริปปิงโวลแทมเมตรี (stripping voltammetry)

     สทริปปิงโวลแทมเมทรี เป็นเทคนิคที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้าสูงมาก นั่นคือสามารถวิเคราะห์สารตัวอย่างโลหะปริมาณน้อย ๆ ได้โดยเทคนิคนี้จะเพิ่มขั้นตอนที่ทำให้สารตัวอย่างมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะทำการวิเคราะห์โดยวิธีโวลแทมเมตรีต่อไป
รูปแบบสัญญาณกระตุ้นแบบสทริปปิง แสดงได้ดังรูป

โวลแทมโมแกรมที่ได้ แสดงได้ดังรูป

เทคนิคสทริปปิงโวลแทมเมทรี ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทั้งทางด้านคุณภาพและปริมาณวิเคราะห์