จากที่กล่าวในข้างต้นแล้วว่า
"เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในร่างกายของ
สิ่งมีชีวิต" คือ ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น อาจจะกล่าวได้เลยว่า
ทุกกระบวนการที่
เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตจะขึ้นกับการทำงานของเอนไซม์ หรือถ้าไม่มีเอนไซม์สิ่งมีชีวิตก็คงจะจบชีวิตลงทันที เนื่องจากปฏิกิริยาเคมีในร่างกายคงจะเกิดช้ามาก จนทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั่นเอง
เอนไซม์จะเข้าจับกับซับสเตรตและเข้าร่วมทำปฏิกิริยา
ทำให้ปฏิกิริยานั้นๆ เกิดเป็นขั้นตอน
ย่อยๆ หลายๆ ขั้นตอน แต่จะไม่เปลี่ยนแปลงค่าคงที่สมดุลของปฏิกิริยาหรือค่าผลต่างของพลังงาน
อิสระระหว่างจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของปฏิกิริยา
ตัวอย่างเช่น
น้ำตาล (C6H12O6) บวกกับออกซิเจน (O2)
จะได้พลังงาน น้ำ (H2O) และ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมา นี่คือสมการที่เรียกว่าการเผาไหม้น้ำตาล
สมมติว่าเราเผาน้ำตาล
เพื่อให้ได้พลังงาน พลังงานที่ได้นี้จะสูงมาก และเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาเพียงขั้นตอนเดียว
แต่พลังงานนี้ก็เท่ากับพลังงานที่ร่างกายของเราได้รับจากน้ำตาล เมื่อเซลล์ในร่างกายได้รับน้ำตาล
ร่างกายของเราต้องเผาไหม้น้ำตาลนั้น เพื่อให้ได้พลังงานออกมาผ่านกระบวนการหายใจระดับเซลล์
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นหลายขั้นตอน แล้วทำไมร่างกายเราไม่ถูกเผาไหม้จนตายไปล่ะ?
ถ้าการเผา
ไหม้นี้ให้พลังงานที่เท่ากัน คำตอบก็คือ เอนไซม์นั่นเองที่เป็นส่วนสำคัญ
เพราะเอนไซม์ได้แบ่ง
ปฏิกิริยาเผาไหม้น้ำตาลในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ มากมาย
ทำให้น้ำตาลค่อยๆ
ปล่อยพลังงานออกมา ร่างกายของเราจึงไม่เป็นอันตราย
|