|
|||||||||
ถ้าพูดถึงเรื่องเอนไซม์กับอาหาร หนูดีจะนึกถึงอะไรบ้างจ๊ะ |
|||||||||
หนูดีก็จะนึกถึงเอนไซม์กับการย่อยอาหารค่ะ |
|||||||||
แล้วหนูดี รู้จักเอนไซม์ชื่อ อะไรบ้างล่ะ แล้วหนูดีรู้ ว่ามันทำงานอย่างไร หรือเปล่าล่ะครับ |
|||||||||
งั้นหนูดีจะลองอธิบาย โดยเรียงลำดับ ตั้งแต่ปาก ที่เป็นจุดเริ่มของระบบ ย่อยอาหารเลยแล้วกันนะคะ ถ้าตกหล่น ตรงไหนพี่ enz ช่วยอธิบายเสริม แล้วกันนะคะ |
|||||||||
|
ได้แน่นอนครับ |
||||||||
ภาพแสดงระบบย่อยอาหารของมนุษย์ |
|||||||||
เมื่อเรากินอาหารนะ ก็จะเริ่มมีการย่อยเกิดขึ้นในปาก โดยมีเอนไซม์ เข้ามาเกี่ยวข้อง เอนไซม์นั้นคือ อะไมเลส หรือ ไทอะลิน (ptyalin) (amylase : EC 3.2 . 1 . 1 ) โดยมันมีหน้าที่ ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต สายยาวๆ ให้สั้นลง เป็นเดกซ์ตริน (dextrin) น้ำตาล มอลโตส (maltose)และกลูโคส (glucose) [ อะไมเลสจะสลายพันธะไกลโคซิดิก ของแป้งและไกลโคเจนได้] |
|||||||||
|
|||||||||
นี่เองที่ทำให้เรารับรสหวาน เมื่อเราเคี้ยวข้าวไปนานๆ |
|||||||||
คาร์โบไฮเดรตสายยาวๆ |
เดกซ์ตริน |
มอลโตส กลูโคส |
|||||||
แล้วทราบหรือไม่ว่า เอนไซม์ชนิดนี้สร้างที่ไหน |
|||||||||
เฉลย |
อะไมเลส สร้างที่ต่อมน้ำลาย
(Salivary Gland) |
||||||||
|
ตามปกติในหนึ่งวัน น้ำลายจะถูกหลั่งออกมาประมาณ 1-1.5 ลิตร นอกจากจะมี เอนไซม์อะไมเลสแล้ว ยังมีน้ำลายชนิดอื่นๆอีก เช่น ไลโซไซม์ (lysozyme) ฟอสฟาเตส (phosphatase) และ คาร์บอนิกแอนไฮเดรส (carbonic anhydrase) นอกจากนี้ยังมี สารอื่นๆ อีก เช่น อีเล็คโทรไลต์ต่างๆ (โซเดียมไอออน คลอไรด์ โพแทสเซียมไบคาร์บอเนต และไอโอไดด์) มี pH ประมาณ 6.2-7.4 |
||||||||
|
หลังจากที่เราเคี้ยวและกลืนอาหารแล้ว อาหารก็ตกลงมาสู่กระเพาะอาหารผ่านหลอดอาหาร โดยที่หลอดอาหารจะไม่มีการผลิตเอนไซม์ชนิดใดออกมาค่ะ |
||||||||
|
เพราะฉะนั้น อาจถือได้ว่าหลอดอาหารเป็นเพียง ทางผ่านของอาหารเท่านั้น แต่ในระหว่างการเดินทาง เข้าสู่กระเพาะอาหาร อะไมเลสก็ยังคงทำงานต่อไป |
||||||||
ขบวนการนี้เรียกว่า เพอริสทาลซิล (peristalsis) |
|||||||||
|
เมื่ออาหารตกลงมาที่กระเพาะอาหาร
จะมีเอนไซม์ที่ถูกสร้างจากเซลล์ในกระเพาะอาหาร ชื่อ เปปซิน (pepsin) และเรนนิน
(rennin) ซึ่งย่อยอาหารประเภทโปรตีน และยังมีไลเปส (lipase) ซึ่งจะย่อยอาหารประเภทไขมัน
นอกจากนี้ยังมีกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก (HCl) ที่ทำให้ pH ในกระเพาะอาหารมีค่าประมาณ
1-2 ทำให้สภาพภายในกระเพาะอาหาร มีคุณสมบัติในการระงับเชื้อ คือ สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กๆ
ที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้ |
||||||||
|
เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการย่อยอาหารหลายชนิด จะถูกสร้างและขับออกมาในสภาพที่ยังทำงานไม่ได้ เรียกว่า โพรเอนไซม์ (proenzyme) หรือ ไซโมเจน (zymogen) ซึ่งจะถูกกระตุ้นด้วยไฮโดรเจนไอออน (H+) หรือเอนไซม์ตัวอื่น โดยไพรเอนไซม์นี้จะถูกตัดและสลัดชิ้นส่วนขนาดเล็กออกก่อน จึงจะทำงานได้ |
||||||||
รู้หรือไม่ว่า โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร | |||||||||
|
|||||||||
|
อาหารจะอยู่ในกระเพาะเป็นเวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง แล้วจะถูกส่งมาที่ ลำไส้เล็ก ในส่วน ดูโอดินัม (duodenum) จากนั้นจะมีเอนไซม์ที่เกิดจากลำไส้เล็กเอง และจากตับอ่อน มาย่อยอาหารประเภทต่างๆ หนูดีจะแยกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ |
||||||||
1.เอนไซม์จากลำไส้เล็ก ที่สำคัญมีดังนี้ |
|||||||||
1. ไดแซคคาเรส
(disaccharase) เป็นเอนไซม์ที่ย่อยน้ำตาลพวกไดแซคคาไรด์ ให้เป็น โมโนแซคคาไรด์ ได้แก่ |
|||||||||
เอนไซม์แลคเตส ย่อย แลคโตส |
กลูโคส + กาแลคโตส |
||||||||
|
กลูโคส + ฟรุคโตส |
||||||||
|
|||||||||
น้ำตาลฟรุคโตสที่อยู่ในโมเลกุลของน้ำตาลซูโครสนั้นจะอยู่ในรูปของน้ำตาลห้าเหลี่ยม แต่ฟรุคโตสเดี่ยวๆ จะมีทั้งที่เป็นห้าและหกเหลี่ยม ซึ่งโดยส่วนมากจะอยู่ในรูปของหกเหลี่ยมมากกว่า
|
|||||||||
เอนไซม์มอลเตส ย่อย มอลโตส |
2 กลูโคส |
||||||||
|
|||||||||
2. เอนเตอโรไคเนส
(enterokinase) เป็นเอนไซม์ที่ช่วยทำให้ทริปซิโนเจนกลายเป็น ทริปซิน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์
ให้เป็นพอลิเพปไทด์สายสั้นๆ 4. อะมิโนเปปติเดส
(aminopeptidase) เป็นเอนไซม์ย่อยพอลิเพปไทด์ ให้ได้กรดอะมิโน โดยตัดกรดอะมิโนออกทีละตัว
จากด้านปลายอะมิโน |
|||||||||
2.เอนไซม์จากตับอ่อน ที่สำคัญมีดังนี้ |
|||||||||
1. ทริปซิน (trypsin)
โดยจะออกมาในรูป ทริปซิโนเจน (trypsinogen) จะถูกกระตุ้นโดยเอนเตอโรไคเนส ให้กลายเป็นทริปซินที่เร่งปฏิกิริยา
การย่อยโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ให้เป็นพอลิเพปไทด์สายสั้นลง 2. ไคโมทริปซิน (chymotrypsin) จะออกมาในรูปไคโมทริปซิโนเจน (chymotrypsinogen) และเมื่อถูกกระตุ้นด้วยทริปซินจะได้ ไคโมทริปซินที่ย่อยโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ให้เป็นเปปไทด์สายสั้นๆ 3. คาร์บอกซีเปปติเดส (carboxy peptidase) จะถูกหลั่งออกมาในรูปของ โปรคาร์บอกซีเปปติเดส (procarboxy peptidase) เมื่อถูกทริปซินจะเปลี่ยนเป็น คาร์บอกซีเปปติเดส ซึ่งเป็นเอนไซม์ย่อยพอลิเพปไทด ได้กรดอะมิโน โดยจะตัดกรดอะมิโนออกทีละตัวจากด้านปลายหมู่คาร์บอกซิล 4. แอลฟา และ เบตา อะไมเลส ( & amylase) ย่อยแป้งและน้ำตาลที่ปากย่อยไม่หมดให้เป็นมอลโตส 5. ไลเปส (lipase) จะย่อยไขมัน แต่ต้องมีน้ำดีมาทำให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดเล็กๆเสียก่อน แล้วไลเปสจะย่อยไขมันให้ได้เป็นกรดไขมัน (fatty acid) และกลีเซอรอล (glycerol) นอกจากนี้เอนไซม์ที่สามารถย่อยไขมันมีอีกหลายชนิด ซึ่งจะย่อยในตำแหน่งที่แตกต่างกัน 6. ไรโบนิวคลีเอส
(ribonuclease) ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส (deoxyribonuclease)
ไดเอสเทอร์เรส (diesterase) จะย่อยพอลิีนิวคลีโอไทด์ ให้ได้นิวคลีโอไทด์
แล้วนิวคลีโอทิเดส (nucleotidase) จะย่อยนิวคลีโอไทด์ ให้เป็นนิวคลีโอไซด์ |
|||||||||
เมื่ออาหารทุกชนิดถูกย่อยเรียบร้อยแล้วก็จะถูกดูดซึมผ่านผนังเซลล์ของเยื่อบุลำไส้เพื่อส่งไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกายนั่นเอง | |||||||||
|
เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารที่หนูดีรู้จักก็มีแค่นี้ค่ะ |
||||||||
แล้วหนูดีรู้จักเอนไซม์อื่นๆที่เกี่ยวกับอาหารอีกหรือเปล่าล่ะครับ | |||||||||
เอ จะเกี่ยวข้องกับอาหารต่างๆที่เรากินหรือเปล่า เช่น พวกนมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย ชีส เหล้า เบียร์ |
|||||||||
ใช่แล้ว พี่จะยกเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องบางตัว ให้หนูดีรู้จักแล้วกันนะ สำหรับชนิดแรก ที่พี่อยากให้หนูดีรู้จักคือ |
|||||||||
แลคเตส (lactase หรือ -D-galactosidase) |
|||||||||
เป็นเอนไซม์ย่อย
น้ำตาลแลคโตส เป็น กลูโคส และ กาแลคโตส เอนไซม์แลคเตสที่ใช้กันมาก
|
|||||||||
Lactose intolerance คือ ภาวะที่บุคคล ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสซึ่งอยู่ในน้ำนมได้ อาจเนื่องมาจากไม่มีเอนไซม์แลคเตส หรือมีอยู่ในปริมาณน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องเดิน เนื่องจากมีน้ำตาลแลคโตสสะสมอยู่ในทางเดินอาหาร เนื่องจากมันเป็นน้ำตาลที่ดูดน้ำได้ดี จึงทำให้มีการสะสมน้ำในทางเดินอาหาร นอกจากนี้แบคทีเรียที่อยู่ในทางเดินอาหารสามารถใช้น้ำตาลชนิดนี้ในกระบวนการหมักได้ จึงทำให้เกิดกรดและก๊าซส่วนเกินมาก จนทำให้เกิดความผิดปกติในลำไส้ของผู้ป่วยได้ ทางแก้ปัญหา ผู้ป่วยอาจงดดื่มนมสด แล้วเปลี่ยนมาเป็นนมเปรี้ยว อาการท้องเสียก็จะหมดไป เนื่องจากนมเปรี้ยวเกิดการกระบวนการหมักน้ำนมกับจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Lactobacillus acidophilus หรือ Streptococcus thermophilus ทำให้น้ำตาลแลคโตสถูกเปลี่ยนเป็นกรดแลคติก หรือ ค่อยๆ ดื่มนมสดโดยเพิ่มปริมาณทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายค่อยๆปรับตัว เพื่อให้สร้างเอนไซม์แลคโตสได้นั่นเอง |
|||||||||
|
แล้วเด็กทารกจะมีปัญหาไหมคะ เพราะถ้าเค้าขาด เอนไซม์แลคเตสก็แย่นะซิ เพราะเด็กต้องกินแต่นมแม่นี่ค่ะ |
||||||||
หนูดีนี่ช่างสังเกตจริง โดยปกติเด็กทารกจะไม่มีปัญหานี้ครับ เพราะร่างกายของเขาสร้างเอนไซม์แลคเตสเป็นจำนวนมากพอ เนื่องจาก เด็กทารกต้องทานนมแม่เป็นอาหารหลัก แต่ถ้าเด็กทารกคนใดเกิดการขาดเอนไซม์แลคเตสแต่กำเนิด ทางแก้ปัญหานี้คือ ใช้นมผงเฉพาะสำหรับเด็กที่ขาดเอนไซม์แลคเตส โดยจะเป็นนมที่ปราศจากแลคโตส เพราะได้มีการเติมเอนไซม์แลคเตสเพื่อย่อยน้ำตาลแลคโตสให้หมดไปก่อน จึงมีกลิ่นและรสชาติดีเช่นเดียวกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกอื่นๆ ทารกจึงยอมรับและใช้ได้ดี |
|||||||||
แลคเตต ดีไฮโดรจีเนส (lactate dehydrogenase)
เป็นเอนไซม์ที่สำคัญที่ทำให้เกิดกรดแลคติก ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหมักให้เกิดกรดแลคติก (lactic acid fermentation) |
|||||||||
|
เอ ที่พี่ enz บอกมามีแต่เอนไซม์ที่ เป็นประโยชน์ แล้ว ถ้านมเสียเนี่ย เกิดจากเอนไซม์ด้วยหรือเปล่าคะ |
||||||||
ใช่แล้วโดยปกตินมจะเสียเนื่องจากแบคทีเรียที่อยู่ในนมผลิตเอนไซม์ออกมา ย่อยน้ำตาลให้เป็นกรดทำให้นมมีรสเปรี้ยว | |||||||||
เอนไซม์ที่แบคทีเรียสร้างมีหลายชนิด เช่น ฟอสฟาเตส (phosphatase) ไลเปส (lipase) แลตเตส (lactase) อะไมเลส (amylase) คะตะเลส (catalase) และเปอร์ออกซิเดส (peroxidase)
เอนไซม์เหล่านี้ทำให้นมเสียหรือเสื่อมสภาพ (เน่า เหม็นเปรี้ยว กลิ่นเหม็นหืน) เอนไซม์เหล่านี้ส่วนใหญ่ ถูกทำลายได้ง่ายโดยวิธีพาสเจอไรซ์ (วิธีการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แบบหนึ่ง โดยใช้อุณหภูมิ 60 - 85 องศาเซลเซียส) แต่เอนไซม์ฟอสฟาเตสจะถูกทำลายได้ยากสุดจึงมักถูกใช้เป็นตัวบ่งชี้หรือตัวพิสูจน์ว่านมได้ผ่านการทำพาสเจอร์ไรซ์หรือไม่ |
|||||||||
ตัวอย่างของเอนไซม์ที่มีการนำมาใช้ในทางอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ | |||||||||
เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส ( -amylase) จากแบคทีเรียซึ่งใช้ในกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลกลูโคสในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์
|
|||||||||
โอ้โฮ เอนไซม์นี่มีประโยชน์มากมายเลยนะ่ะ |
|||||||||