การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์
เมื่อขาดสารไอโอดีน ต่อมไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน จะมีขนาดโตขึ้น เรียกกันโดยทั่วไปว่าคอพอก (Goiter) ซึ่งที่จริงแล้วเป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อต่อสู้กับการขาดไอโอดีน ทั้งนี้เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอยด์ฮอร์โมน จะส่งผลไปกระตุ้นไฮโปทาลามัส ให้หลั่งสารเคมี TRH (Thyroid releaing hormone) มากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH (Thyroid stimulating hormone) และส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากเกินปกติ ต่อมไทรอยด์เมื่อได้รับการกระตุ้นมากจึงขยายขนาดโตขึ้น เพื่อเร่งการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน |
การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์ ทำได้ 2 วิธี |
1. การตรวจคอพอกโดยการคลำคอ (Palpation) |
กระทรวงสาธารณสุขได้ใช้อัตราคอพอกในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นตัวที่จะบอกสถานภาพของการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ทั้งนี้เพราะวิธีตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง เพราะไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และสามารถทำได้ดำเนินการได้ในทุกพื้นที่ |
![]() |
การแบ่งคอพอกตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) และ ICCIDD (International Council for the Control of Iodine Deficiency Disorders) |
ระดับ
0 (ไม่เป็นคอพอก) |
ระดับ
1 |
ระดับ
2 |
![]() |
![]() |
![]() |
มองไม่เห็น
คลำไม่ได้ |
มองไม่เห็น ต้องแหงนคอจึงมองเห็น เมื่อกลืนน้ำลาย จะเห็นต่อมไทรอยด์เลื่อนขึ้นลง หรือมองไม่เห็น ต้องคลำจะพบว่าคลำได้โตกว่าข้อปลายของนิ้วหัวแม่มือ ของผู้รับการตรวจ | มองเห็นก้อนชัดเจนในท่าปกติ |
อย่างไรก็ตาม การใช้อัตราคอพอกเป็นตัวชี้วัดดังกล่าว นอกเหนือจากข้อดี คือ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว และไม่สิ้นเปลือง ทำได้ในทุกพื้นที่ก็ตาม การใช้อัตราคอพอกในเด็กนักเรียนเป็นตัวชึ้วัด ยังมีข้อด้อยคือการคลำคออาจจะเกิดความผิดพลาดได้มาก โดยเคยมีการศึกษาว่าอาจจะมีความแตกต่างกันในผลการคลำได้ถึงร้อยละ 30 แม้ในผู้คลำที่มีประสบการณ์ด้วยกัน นอกจากนี้ คอพอกในเด็กนักเรียนยังมีขนาดเล็ก หลายครั้งการคลำต้องอาศัยดุลยพินิจว่าจะมีหรือไม่มีคอพอก นอกจากนี้อัตราคอพอกยังไม่สามารถบ่งบอกถึงสภาพการณ์ในปัจจุบันได้ทันที |
2. การตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound) |
วิธีการตรวจวัดขนาดของต่อมไทรอยด์โดยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound)นี้ เป็นวิธีที่มีมาตรฐานแน่นอน ได้มีการศึกษาแล้วว่าเป็นดัชนีที่แม่นยำกว่าอัตราคอพอก เหมาะสำหรับใช้ในการตรวจยืนยัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง | ![]() |