การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน จำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวัง ที่สามารถบอกถึงสถานการณ์ของภาวะการขาดสารไอโอดีนได้อย่างมีคุณภาพ |
|
ภาวะการขาดสารไอโอดีน มีดัชนีชี้วัดหลายตัว ได้แก่ อัตราคอพอก, ระดับ Thyroid stimulating hormone(TSH) ของทารกแรกเกิด และปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ |
การตรวจวัดอัตราคอพอกทำได้ 2 วิธี 1. โดยการคลำคอ (Palpation) 2. โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง (Ultra Sound) |
|||
การตรวจคอพอกโดยการคลำคอเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลือง แต่ความคลาดเคลื่อนในการคลำสูงมาก จึงใช้การ Ultra sound ในการตรวจยืนยัน เพราะมีความแม่นยำกว่าการคลำคอ แต่วิธีนี้ไม่สามารถใช้ในภาคสนามได้ เพราะต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่มีราคาสูง นอกจากนี้การใช้อัตราคอพอกก็มีข้อด้อยคือไม่สามารถบ่งบอกสภาพสถานการณ์ในปัจจุบันได้ทันที |
การตรวจวัดระดับ TSH (Thyroid Stimulating Hormone) ของทารกแรกเกิด | |
การใช้ระดับ Thyroid stimulating hormone (TSH) ของทารกแรกเกิด เป็นดัชนีชี้วัดที่มีความแม่นยำและมีความไวสูง บ่งบอกภาวะขาดสารไอโอดีนในช่วงเวลาที่วิกฤตที่สุดในชีวิตมนุษย์ ซึ่งการขาดไอโอดีนจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของสมองและระบบประสาท |
การตรวจวัดระดับไอโอดีนที่ขับออกมากับปัสสาวะ (Urine Iodine) | ||
![]() |
ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ เป็นดัชนีชี้วัดภาวะการขาดสารไอโอดีนที่ใช้กันแพร่ทั่วโลก ทั้งนี้เพราะมากกว่า 90 % ของไอโอดีนในร่างกายจะถูกขับออกมาในปัสสาวะ และระดับของไอโอดีนสะท้อนถึงปริมาณไอโอดีนที่ได้รับหรือภาวะการขาดไอโอดีน นอกจากนี้การเก็บตัวอย่างปัสสาวะก็สามารถทำได้ง่าย |