เลนซ์ตาหรือแก้วตา


          เลนซ์ตาเป็นเลนซ์นูนอยู่ค่อนมาทางด้านหน้าของลูกตา ถัดจากกระจกตาเล็กน้อย
เลนซ์ตามีลักษณะใส สามารถยืดหยุ่นได้ เนื่องจากการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อยึด
เลนซ์ตา ซึ่งทำหน้าที่ปรับภาพให้ระยะชัดของภาพไปตกบนเรตินาพอดี เลนซ์จะกั้นลูกตา
ออกเป็น 2 ช่อง คือ ช่องหน้าเลนซ์และช่องหลังเลนซ์ ภายในช่องทั้งสองมีของเหลวใส
ที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงลูกตาบรรจุอยู่เพื่อช่วยทำให้ลูกตาเต่งคงสภาพได้ ช่วยในการหักเหของแสง
ที่ผ่านเข้ามา และทำให้ความดันภายในลูกตาปกติ

 

   ทำไมคนบางคนมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด (สายตาสั้น) บางคนมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัด
(สายตายาว) มีวิธีช่วยแก้ไขกรณีดังกล่าวให้มองเห็นได้ดีขึ้นอย่างไร?

 


                                   ก.                                                    ข.

 

                  ภาพที่ 3.9  การเกิดภาพในคนสายตาสั้น (ก)  และคนสายตายาว (ข)

  

      ปกติคนเราจะสามารถปรับเปลี่ยนความนูนของเลนซ์โดยอัตโนมัติเพื่อให้มองเห็นภาพได้
ชัดเจนที่สุด โดยอาศัยการทำงานของเอ็นยึดเลนซ์ (suspensory ligament) และกล้ามเนื้อ
ยึดเลนซ์ (ciliary muscle) ถ้าวัตถุอยู่ไกล เลนซ์ตาจะมีความนูนลดลง ซึ่งทำได้โดยมีการ
คลายตัวของกล้ามเนื้อยึดเลนซ์ในกรณีที่มองเห็นภาพที่อยู่ไกลหรือใกล้ได้ไม่ชัดเจนเนื่องจาก
เลนซ์ตาไม่สามารถปรับรูปร่างได้เป็นปกติ ส่งผลให้ภาพของวัตถุตกอยู่หน้าเรตินาเรียกว่า
สายตาสั้น หรือตกหลังเรตินารียกว่าสายตายาว (ภาพที่ 3.9) ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการใส่
่แว่นตาที่ประกอบด้วยเลนซ์เว้า (diverging lens) สำหรับคนสายตาสั้น และเลนซ์นูน (con
verging lens) สำหรับคนที่มีสายตายาว (ภาพที่ 3.11) ส่วนคนที่มีสายตาเอียงที่เกิดจาก
ความโค้งของกระจกตาในแนวต่างๆไม่เท่ากัน ทำให้เห็นเส้นในแนวหนึ่งแนวใดไม่ชัดเจน
แก้ไขได้โดยใช้เลนซ์ทรงกระบอก (cylindrical lens) ซึ่งมีด้านหน้าเว้า ด้านหลังนูน นอกจาก
นี้ในปัจจุบันแพทย์สามารถผ่าตัดโดยใช้แสงเลเซอร ์(Lisik surgery) เพื่อแก้ไขความผิดปกติิ
ของสายตาในบางคนได้อย่างถาวร

 





 

 ข.

             ค.

 

               ภาพที่ 3.10 การแก้ไขสายตาผิดปกติโดยใส่แว่น (ก) หรือใช้เลนซ์สัมผัส (ข)
                                 หรือผ่าตัดโดยใช้แสงเลเซอร์ (Lasik surgery)


           

 

                            ภาพที่ 3.11 ภาพเกิดจากการแก้ไขสายตาสั้นด้วยเลนซ์เว้า
                                             และเลนซ์นูนสำหรับสายตายาว

         
                  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสายตาปกติหรือไม่? (คลิก)