ดวงตากับการมองเห็น

 

                    ดวงตาช่วยให้เรามองเห็นรอบตัวได้อย่างไร

 

          การมองเห็นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีแสงจากวัตถุที่เรากำลังมองอยู่ตกกระทบกับตัวรับภาพ
ในดวงตา (photoreceptor) และส่งข้อมูลไปยังสมอง สมองส่วนรับภาพจะจัดเรียงแปลผล
ข้อมูล และสร้างเป็นภาพให้รู้สึกมองเห็นได้ ส่วนสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น พวกโพรโทซัว
แบคทีเรีย จะตอบสนองต่อแสงสว่างได้แต่ไม่มีอวัยวะรับภาพ

 

    


    ภาพที่ 3. 3
 ภาพจำลองกลไกการมองเห็นภาพ

 

ความจริงเรื่องดวงตา

 

        ดวงตาที่เราเห็นอยู่บนใบหน้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของลูกตาส่วนที่เหลือจะจมลึกอยู่ใน
กระดูกเบ้าตาที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นส่วนของกะโหลก
ศีรษะเพื่อป้องกันอันตราย ส่วนที่เปิดสู่ภายนอกจะไม่ได้รับการคุ้มกันอันตรายจากกระดูกเบ้าตา
แต่จะได้้รับการชำระล้างด้วยน้ำตาทุกครั้งเมื่อกระพริบตา และมีเปลือกตาปิดคลุมดวงตาไว้เพื่อ
ป้องกันไม่ให้ได้รับอันตราย ส่วนขนตาจะคอยป้องกันฝุ่นละออง ลูกตายังสามารถเคลื่อนไหว
ไปมาได้ในช่องกระบอกตาโดยการทำงานของ  กล้ามเนื้อตา  จำนวนหกมัด นอกจากนี้ยังมี
ส่วนประกอบอื่นๆ ที่อยู่ภายในเบ้าตาซึ่งได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงอย่างมี
ประสิทธิภาพยิ่ง  โดยเรียงลำดับจากด้านนอกเข้าไปด้านในตามลำดับดังนี้

 

              

                             ภาพที่ 3.4  ภาพส่วนประกอบของดวงตา (ด้านข้าง)

 

ผนังลูกตาประกอบด้วยชั้นต่างๆ  3 ชั้น คือ


1. สเคอรา หรือเปลือกลูกตา (sclera)


       เป็นชั้นที่ เหนียวแต่ไม่ยืดหยุ่น อยู่ชั้นนอกสุดเห็นเป็นสีขาว ส่วนที่อยู่ด้านหน้ามีลักษณะใส
และนูนออกมาเรียกว่ากระจกตา (cornea) ทำหน้าที่รับและให้แสงผ่านเข้าสู่ภายในกระจกตา
มีความสำคัญมากเพราะถ้าเป็นอันตราย หรือพิการเป็นฝ้าทึบ จะมีผลกระทบต่อการมองเห็น
ปัจจุบันแพทย์สามารถนำกระจกตาของผู้เสียชีวิตใหม่ๆ ซึ่งได้รับบริจาคมาเปลี่ยนให้กับคนที่มี
กระจกตาพิการเพื่อให้สามารถมองเห็นได้เหมือนเดิม

2. คอรอยด์ (choroid)

        เป็นชั้นที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงมากมาย ส่วนที่ยื่นออกไปด้านหน้าเรียกว่า ซีเลียรีบอดี้
(ciliary body) ทำหน้าที่สร้างของเหลวที่เรียวว่า เอเควียวฮิวเมอร์ (aqueous humor)
เข้าไปอยู่ในช่องว่างของลูกตาด้านหน้าเลนซ์ โดยปกติของเหลวนี้จะถูกดูดซึมกลับเข้าเส้น
เลือดดำของตาโดยผ่านทาง ท่อแคแนลออฟชเลม (canal of Schlemm) ดังนั้นถ้ามีการอุดตัน
ของท่อเกิดขึ้นจะทำให้ความดันของของเหลวในลูกตาสูง และเป็นสาเหตุของโรคต้อหิน
(glaucoma) ในชั้นนี้ยังมีรงควัตถุ หรือสารสีแผ่กระจายอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อป้องกันไม่ให้
แสงสว่างทะลุผ่านชั้นเรตินาไปยังด้านหลังของลูกตาโดยตรงคนเราจะมีสีตาต่างกันเนื่องจาก
มีรงควัตถุต่างชนิดกัน

3. จอตาหรือเรตินา (retina)

        เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดประกอบด้วยเซลล์ประสาท และเซลล์ซึ่งไวต่อแสงเรียงตัวกันเป็นชั้น
ในช่องว่างของลูกตาด้านหลังของเลนซ์ และส่วนที่ติดกับเรตินามีของเหลวลักษณะคล้ายวุ้น
เรียกว่า วิสเทรียสฮิวเมอร์ (vitreous humor) บรรจุอยู่ ช่วยทำให้ลูกตาคงรูปร่างอยู่ได้
เรตินาทำหน้าที่เป็นจอรับภาพเนื่องจากมีเซลล์รับแสง 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (rod cell)
(ภาพที่ 3.7) ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ ส่วนเซลล์์
อีกประเภทหนึ่งเป็นเซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกความแตกต่างของสีได้แต่
ต้องการแสงสว่างมากจึงบอกสีของวัตถุได้ถูกต้อง จอตาหรือเรตินาข้างหนึ่งจะมีเซลล์รูปแท่ง
ประมาณ 125 ล้านเซลล์และเซลล์รูปกรวยประมาณ 7 ล้านเซลล์
  
        นอกจากชั้นเรตินาจะมีเซลล์ที่ไวต่อแสงดังกล่าวแล้ว ยังมีเซลล์ประสาทอื่นที่รับกระแส
ประสาทที่รวมกันเป็นมัด เพื่อส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 แล้วส่งต่อไปยังสมองส่วน
ซีรีบรัมที่มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการมองเห็น จากภาพที่ 3.8 จะเห็นว่าแสงจะตกกระทบผ่าน
ชั้นเซลล์ปมประสาท (ganglion cells) และ เซลล์ประสาทชนิดสองขั้ว (bipolar cells) แล้วจึง
จะมาถึงชั้นของเซลล์รูปแท่งและรูปกรวยที่ไวต่อแสงที่เมื่อมีพลังงานแสงมากระตุ้นจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงการซึมผ่านของเยื่อบุ (membrane permeability) จนเกิดเป็นกระแสประสาท
ส่งผ่านเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 ไปยังสมองได้

  
        บริเวณด้านหน้าของเลนซ ์ (lens) จะมีแผ่นเนื้อเยื่อเรียกว่าม่านตา (iris) ออกมาบังบาง
ส่วนของเลนซ์  (lens) ไว้เหลือบริเวณตรงกลางให้แสงผ่านเข้าไปสู่เลนซ์ (lens) ได้เรียกว่า
รูม่านตา (pupil) ถ้ามองจากภาพที่ 3.4  ซึ่งแสดงรูปด้านข้างของดวงตา จะเห็นว่าด้านหน้า
ของแก้วตาหรือเลนซ์ตามีม่านตา (iris)  ยื่นลงมาจากด้านบนและด้านล่างของผนังคอรอยด์
คล้ายกับเป็นผนังกั้นบางส่วนของแก้วตาหรือเลนซ์ เพื่อควบคุมปริมาณแสงให้พอเหมาะที่ี่จะ
ผ่านไปสู่เลนซ์ตา โดยม่านตาสามารถเปิดกว้างมากหรือน้อยตามความสว่างของแสงเพื่อเปิด
เป็นช่องกลางที่เหลือมีลักษณะกลมให้แสงผ่านเข้า ถ้าแสงสว่างมากรูม่านตาจะเปิดน้อยแสง
สว่างน้อยรูม่านตาจะเปิดกว้าง
  
       ฉะนั้นขนาดของรูม่านตาจะแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับการหดหรือขยายของกล้ามเนื้อวงหรือ
กล้ามเนื้อที่เรียงตัวตามแนวรัศมีของม่านตา

 

             

                              ภาพที่ 3.5 ภาพแสดงส่วนประกอบของดวงตา (ภาคตัดขวาง)

 

การนำสัญญาณประสาทเข้าสู่สมอง
   
       กระแสประสาทจากเซลล์รับความรู้สึก (receptor cells) จะถูกส่งผ่านใยประสาท (nerve
fiber) ของเซลล์ปมประสาท (ganglion cells) มารวมเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 (optic
nerve) โดยแต่ละใยประสาทจะมีการเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบตามตำแหน่งที่มาจากเซลล์
รับความรู้สึก (receptor cells) ในเรตินา เมื่อมาถึงบริเวณออฟติกไคแอสมา (optic chiasma)
ใยประสาทที่มาจากเรตินาด้านข้างจมูก จะมีการข้ามไปอยู่ในออฟติกแทรค (optic tract)
ด้านตรงข้าม ออฟติกแทรค (optic tract) จะนำกระแสประสาทไปสู่ แลทเทอราลเจนนิคูเลท
บอดี้ (lateral geniculate body) ในส่วนของทาลามัส (thalamus) เพื่อซิแนปส์กับเซลล์
ประสาทตัวใหม่จากนั้นกระแสประสาทจะถูกส่งผ่านไปสู่สมองส่วนท้ายทอย (visual cortex)
ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น (ดังภาพที่ 3.6 ก.)

 


              

                                                              ก.
                         

                                                              ข.

 

ภาพที่ 3.6 ภาพจำลองแสดงการนำสัญญาณประสาทเกี่ยวกับการมองเห็นจากตาเข้าสู่สมอง
                  
ด้านพูท้ายทอย (occipital lobe) (ก) ภาพแสดงออฟติกไคแอสมา (optic chiasma) (ข)


ภาพที่ 3.7   ภาพขยายของเซลล์รูปแท่ง
                    (สีน้ำเงิน) และเซลล์รูปกรวย
                    (สีน้ำเงินเขียว) ในจอตา



ที่มา: สารานุกรมพื้นฐานของร่างกายมนุษย์ (2545)
        หน้า 43

 

                                    

 

ภาพที่ 3.8 ภาพจำลองแสดงเซลล์รูปแท่งและรูปกรวยใยประสาทในชั้นเรตินา

 

       คุณเคยสังเกตไหมว่า ขณะที่เรากำลังอ่านหนังสือ เราจะมองตัวหนังสือตรงหน้าได้ชัดกว่า
ตัวหนังสือที่อยู่ข้างๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะอะไร ทราบไหมเอ่ย?

  

       การเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นเนื่องจากภาพตัวหนังสือที่อยู่ตรงหน้าตกลงบริเวณที่เห็น
ชัดเจนที่สุดของชั้นเรตินาหรือจอตา เรียกว่า บริเวณโฟเวีย (fovea) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเซลล์
รูปกรวยอยู่หนาแน่นมากกว่าบริเวณอื่นๆ ส่วนบริเวณอื่นของเรตินาที่มีแต่แอกซอนออกจากลูกตา
เพื่อเข้าสู่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จะไม่เกิดภาพให้เห็นเลย เนื่องจากเป็นบริเวณที่ไม่มีเซลล์
รูปแท่งและรูปกรวยอยู่เลย จึงเรียกบริเวณนี้ว่า จุดบอด (blind spot)





       โฟเวีย (fovea) เป็นบริเวณที่มีเฉพาะเซลล์รูปกรวย ส่วนจุดบอดเป็นบริเวณทางออกของ
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 จากตาไปยังสมองเรียกว่าออฟติกดิสก์ (optic disc) ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่ไม่มีเซลล์รับความรู้สึกอยู่