สงสัยใช่ไหมว่าโรคตาบอดสีเป็นอย่างไร? และจะรู้ได้อย่างไรว่าตาบอดสีอะไร?
 

 

        ตาบอดสี เป็นโรคที่เกี่ยวกับความบกพร่องในการแยกแยะความแตกต่างของสี โดย
ตาบอดสีที่พบมากที่สุดคือ ตาบอดสีแดงและสีเขียว ซึ่งผู้ที่ตาบอดสีจะไม่สามารถบอกความ
แตกต่างระหว่างสีแดงกับสีเขียวได้ นอกจากนี้ยังมีตาบอดสีแบบอื่นๆ อีกเช่น ตาบอดสีแบบที่
บอกไม่ได้เลยว่าเป็นสีอะไร ผู้ป่วยประเภทนี้จะไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีอย่างอื่น
ได้เลยนอกจากสีขาวกับสีดำเท่านั้น
  

 ประเภทของตาบอดสีแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ


  1. กลุ่มที่มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด   โดยความผิดปกตินี้จะอยู่บนโครโมโซม X เป็น
ผลให้เพศ ชายเป็นตาบอดสีมากกว่าเพศหญิงถึง 10 เท่า ตาทั้งสองข้างของผู้ป่วยกลุ่มนี้จะ
มองเห็นสีผิดปกติ และเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดได้



  2. กลุ่มที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในภายหลัง  เช่น  เกิดจาการถูกทำลายจอประสาทตา
เส้นประสาทตา หรือส่วนรับรู้ในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้แก่ การอักเสบ ขาดเลือด
อุบัติเหตุ เนื้องอก การเสื่อมของจอประสาทตา หรือผลข้างเคียงจากยาหรือสารเคมี

       บางคนจะไม่ทราบเลยว่า ตนเองตาบอดสีหรือไม่ จนกว่าจะได้รับการตรวจโดยการอ่าน
แผ่นภาพทดสอบตาบอดสี (ภาพที่ 3.15) ว่าสามารถอ่านตัวเลขได้ถูกต้องหรือไม่ ในการอ่าน
ให้ยืนหรือนั่งในระยะที่มองเห็นแผ่นภาพได้ชัดเจน

       

 

                                   ภาพที่ 3.15 ตัวอย่างแผ่นภาพทดสอบตาบอดสี

 

อยากรู้ไหมคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้อย่างไร?

 

        คนตาบอดไม่สามารถใช้ตาอ่านหนังสือได้ เนื่องจากความบกพร่องในกลไกการมองเห็น
ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง จึงมีผู้คิดค้นอักษรเบรลล์ ซึ่งเป็นรูปแบบอักษรนูนแบ่งเป็นกลุ่มๆ จาก
1-6 บนกระดาษ แทนตัวอักษรปกติ จึงช่วยให้คนตาบอดอ่านหนังสือได้ โดยอาศัยความไว
ของปลายนิ้วมือที่สัมผัสไปบนอักษรนูน ทำให้สามารอ่านเป็นถ้อยคำต่างๆ ได้

 

 

ภาพที่ 3.16 ตัวอย่างอักษรเบรลล์บนกระดาษ

 

     ดวงตามีคุณค่ายิ่ง เราจะถนอมดูแลได้อย่างไร?

 

      ดวงตามีคุณค่าต่อชีวิตเรามากมาย ช่วยให้เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวจากภาพที่
มองเห็น ดังนั้นเราจึงควรถนอมดวงตาให้สามารถทำงานได้ดี มองโลกสดใสได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเป็นเวลานานตลอดชีวิต โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆ หรือ
คนทำงานที่ใช้แสงจ้ามากๆ เช่น พิธีกรรายการทีวี ช่างเชื่อม คนที่ใช้คอมพิวเตอร์
เป็นเวลานานๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคจากจอคอมพิวเตอร์ (computer vision syndrome)ได้

 

เราจะถนอมสายตาของเราได้อย่างไรบ้าง?

 


       • ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดกับดวงตา ได้แก่ ของมีคมต่างๆ ไม่เข้าไปในที่
มีไฟกระพริบตลอดเวลา เช่น ดิสโกเธค ช่างเชื่อมควรใช้เครื่องป้องกันดวงตา

 

 

ภาพที่ 3.17 การป้องกันอันตรายต่อดวงตา


      • พักสายตา เมื่อต้องทำงานเพ่งสายตานานๆ โดยหยุดการใช้ และพักสายตาเป็นระยะๆ
ทุก 20-30 นาที พร้อมทั้งมองไปในบริเวณกว้างหรือนอกหน้าต่างเพื่อลดการเพ่งเป็นเวลา
ประมาณครึ่งถึงหนึ่งนาที ก่อนกลับมาเริ่มทำงานใหม่


      • กระพริบตาหรือหลับตาเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันภาวะเคืองตาจากตาแห้ง


อยากรู้ไหมโรคจากจอคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร?

  

       โรคจากจอคอมพิวเตอร์(computer vision syndrome) คือภาวะอาการปวด เคืองตา
ภายหลังจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เกิดจากการใช้สายตาเพ่งติดต่อกันยาวนาน
ทำให้มีอาการเมื่อยล้าจากการใช้สายตา

       ข้อแนะนำคือ ควรมีการหยุดพักสายตาเป็นระยะ ทุกๆ 20 นาทีถึง 30 นาที ควรพักสายตา
จากจอคอมพิวเตอร์ โดยมองไปบริเวณกว้าง นอกจากนี้ภาวะเคืองตาอาจเกิดจากการใช้สมาธิ
ในการทำงาน ทำให้มีการกระพริบตาน้อยกว่าปกติ (ประมาณ 10 ครั้งต่อนาที) ดังนั้น จึงควร
มีการกระพริบตา หรือหลับตาเป็นพักๆ เพื่อป้องกันภาวะเคืองตาจากตาแห้งดังกล่าว