|
|||
|
|||
เราสามารถได้ยินเสียงที่แตกต่างกัน หลายพันเสียงตั้งแต่เสียงหวานของไวโอลิน
จนถึงเสียง
|
|||
|
|||
ภาพที่
3.18 ภาพจำลองแสดงหูและลักษณะภายในของหู
|
|||
ประกอบด้วยใบหู และรูหู |
|||
|
|||
|
|||
โครงสร้างของอวัยวะในหูชั้นกลางที่สำคัญมีดังนี้
|
|||
|
|||
ภาพที่ 3.19 ภาพลักษณะของกระดูกทั้ง 3 ชิ้น ในหูชั้นกลาง
|
|||
เนื่องจากโครงสร้างของหูชั้นกลางที่ติดต่อกับหูชั้นนอกทางเยื่อแก้วหู
และติดต่อกับคอ ทางท่อยูสเตเชี่ยน ติดต่อกับหูชั้นในทางหน้าต่างรูปไข่ (oval window) และหน้าต่างรูปกลม (round window) โดยทั้งช่องหน้าต่างรูปไข่และรูปกลมจะมีเยื่อบางๆ กั้นอยู่ (oval window membraneและ round window membrane ) ช่วยให้หูชั้นกลางสามารถทำหน้าที่สำคัญ 2 อย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การขยายเสียง (amplifying sound) และการป้องกัน เสียงดัง (ear protection) |
|||
|
|||
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แลบบิรินท์ (labyrinth) ฝังอยู่ในกระดูกเทมโพราล
(temporal 1. ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง
(cochlea portion) ประกอบด้วยท่อกลมขดซ้อนกัน |
|||
ช่องตรงกลางที่ขนาบด้วย สกาลา เวสติบูไล
(scala vestibuli) และสกาลา ทิมพาไน (scala tympani) เรียกว่า สกาลา มีเดีย (scala media) หรือ ท่อคอเคลีย (cochlea duct) ผนังที่กั้นท่อคอเคลีย (cochlea duct) จากสกาลา เวสติบูไล (scala vestibuli) เรียกว่า เยื่อบุเวสติบูล่า (vestibular membrane) หรือ เยื่อบุไรสเนอร์ (Reissners membrane) ส่วนผนังที่กั้นจากสกาลา ทิมพาไน (scala tympani) เรียกว่าเยื่อบุฐาน (basilar membrane) ผนังด้านในของสกาลา มีเดีย (scala media) เป็นบริเวณที่มีีเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก เรียกว่า สไตรอา วาสคิวลาริส (stria vascularis) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตของเหลวเรียกว่า เอ็นโดลิมฟ์ (endolymphatic fluid) ของเหลวที่ผลิตออกมาจะขังรวมอยู่ใน สกาลา มีเดีย (scala media)นอกจากนี้ภายในสกาลา มีเดีย (scala media) ยังมีอวัยวะสำหรับรับเสียง เรียกว่า อวัยวะคอร์ติ (organ of Corti) ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ |
|||
1. เซลล์ขน (hair cells) เป็นตัวรับการกระตุ้นของเสียง ซึ่งมีอยู่สองแถว คือ แถวนอก (outer hair cells) มีอยู่ราวๆ 12,000-20,000 เซลล์ ส่วนแถวใน (inner hair cells) มีอยู่ราว 3,600 เซลล์ นอกจากนี้ยังมีเซลล์ประกอบอยู่ข้างเคียงอีกเล็กน้อยซึ่งไม่มีความสำคัญ นัก 2. แผ่นเยื่อบางๆมีลักษณะเป็นแผ่นวุ้น (gelatinous substance) เรียกว่า เยื่อบุ เทคโทเรียล (tectorial membrane) ซึ่งจะขยับขึ้นลงในขณะที่มีเสียงกระตุ้นหู และจะเป็น ตัวกระตุ้นเซลล์ขนให้รู้สึกว่ามีเสียงมาสัมผัส 3. เส้นประสาทรับความรู้สึก จากเซลล์ประสาทรวมตัวกันเป็นปมประสาทเรียกว่า ปมประสาทสไปรัล (spiral ganglions) จากนั้นจะรวมเป็นเส้นประสาทใหญ่ เรียกว่า เส้นประสาทอะคูสติก (acoustic nerve) หรือเส้นประสาทคอเคลีย (cochlear nerve) ซึ่งจะรวมเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 วิ่งเข้าสู่สมอง ส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory cortex) บริเวณพูด้านขมับ (temporal lobe) |
|||
|
|||
|
|||
ภาพที่
3.20 แสดงโครงสร้างส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียงของหูชั้นใน (ก)
|
|||
กระแสประสาทจากเซลล์ขนจะถูกส่งเข้าสู่ใยประสาทของเส้นประสาทคอเคลีย (cochlear nerve) และเส้นประสาทสมองคู่ที่8 (auditory nerve) เพื่อซิแนปส์กับ เซลล์์ประสาทตัวที่ 2 ที่คอเคลียนิวคลีอาย (cochlear nuclei) ของสมองส่วนพอนด์์ และเมดัลลาจากนั้นจะซิแนปส์กับเซลล์ประสาทตัวที่ 3 ที่ มีเดียลเจนนิคูเลทบอดี้ (medial geniculate body) และอินฟีเรียคอลลิคูลัส inferior colliculas )ในสมอง ส่วนกลาง แล้วส่งไปยังศูนย์การได้ยิน (auditory cortex) ในสมองส่วนพูด้านขมับ (temporal lobe) (ภาพที่ 3.21) |
|||
|
|||
ภาพที่ 3.21 แสดงการนำสัญญาณประสาทเกี่ยวกับการได้ยิน
|
|||
จะเห็นได้ว่าอวัยวะรับเสียงของมนุษย์มีโครงสร้างและกลไกในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้มนุษย์สามารถรับฟังเสียงที่มีความดังในระดับต่างๆ และเป็นอันตรายน้อยที่สุดโดยผู้ที่ ศึกษาทดลองและค้นพบคำอธิบายที่ช่วยให้เข้าใจสรีรวิทยาของหูชั้นในได้ดีขึ้นและได้รับรางวัล โนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค ศ.1961 คือ เกออร์ก วอน เบเคซี (Georg von Bekesy) จากผลงานเกี่ยวกับการศึกษาวิธีถ่ายทอดพลังงานเสียงภายในคอเคลีย (cochlea) ซึ่งอยู่ในหูชั้นใน |
|||
ผลการทดลองของ เบเคซี (Bekesy) เป็นอย่างไร |
|||