การถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาททำได้อย่างไร ?


          เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึงปลายแอกซอนแล้ว จะถ่ายทอดไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆได้อย่างไร ?

                  ออทโต ลอวิ (Otto Loewi ) นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียทำการทดลอง
โดยศึกษาจากหัวใจกบพบว่า เมื่อกระตุ้นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 จะทำให้เกิดการปล่อยสาร
บางชนิดออกมายับยั้งการทำงานของหัวใจ เช่นเดียวกับการกระตุ้น ใยประสาทที่ไปเลี้ยง
กล้ามเนื้อนั้น โดยมีการหลั่งสารจากปลายประสาทเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อหดตัว สารนี้เรียกว่า
สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ต่อมามีการศึกษาพบว่า ที่บริเวณปลายแอกซอนจะมี
ปริมาณสารดังกล่าวในปริมาณที่สูงมาก สารนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางถ่ายทอดกระแสประสาท
จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ในปัจจุบันมีการค้นพบว่า สารสื่อประสาทด้งกล่าวมีอยู่
หลายชนิดได้แก่

1. แอซิติลโคลีน (acetylcholine)

2. นอร์เอพิเนฟริน(norepinephrine)

3. เอนดอร์ฟิน (endorphin)

4. โดปามีน (dopamine)

5. กาบ้าหรือ แกมม่าอะมิโนบิวไทริก แอซิด (gamma-aminobutyric acid )

          อยากรู้ไหม การทดลองของ ออทโต ลอวิ (Otto Loewi) เป็นอย่างไร?
คลิก
 
          สารสื่อประสาทมีบทบาทอย่างไรในการถ่ายทอดกระแสประสาท
 
           การนำกระแสประสาทจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของร่างกาย จะมีการส่ง
กระแสประสาทผ่านเซลล์ประสาทมากกว่าหนึ่งเซลล์ โดยส่งกระแสประสาทจากแอกซอน
ของเซลล์หนึ่งข้ามไปยังเดนไดรต์ของอีกเซลล์หนึ่งซึ่งจาการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์
อีเล็กตรอนพบว่า รอยต่อระหว่างเซลล์ประสาทที่เรียกว่า ซิแนปส์ จะไม่ติดต่อถึงกัน
แต่อยู่ใกล้ชิดกันมาก โดยเป็นช่องขนาด 0.02 ไมโครเมตรคั่นอยู่ ทำให้กระแสประสาท
ไม่สามารถข้ามผ่านซิแนปส์ ได้ และบริเวณปลายแอกซอนของเซลล์ประสาทจะพองออก
เป็นกระเปาะ ภายในกระเปาะมีถุงขนาดเล็ก และไมโตคอน เดรียสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
ภายในถุงเหล่านี้จะบรรจุสารสื่อประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่มาถึงปลายแอกซอน
ถุงเหล่านี้จะเคลื่อนไปรวมตัวกันที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์ แล้วหลั่งสารสื่อประสาท
ออกไปกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาทที่เยื่อหุ้มเซลล์ถัดไป โดยสารสื่อประสาทที่ถูกปล่อยเข้าสู่
ช่องซิแนปส์ จะไปจับกับโปรตีนตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ ทำให้เกิด
การเคลื่อนที่ของไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ มีการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ที่เดนไดรต์ของ
เซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ และทำให้เกิดการส่งกระแสประสาทต่อไปเรื่อยๆ
 

ภาพที่ 1.16 การสื่อสารผ่านช่องซิแนปส์

ที่มา: ดัดแปลงจากhttp://www.mind.ilstu.edu/flash/synapse_1.swf

 

          หลังจากนั้นสารสื่อประสาทที่เหลืออยู่ในช่องซิแนปส์ จะถูกสลายโดยเอนไซม์ที่เฉพาะ
กับชนิดของสารสื่อประสาทนั้นๆ สารที่ได้จากการสลายบางส่วนจะถูกนำกลับไปสร้างเป็น
สารสื่อประสาทใหม่ บางส่วนก็เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือดเพื่อกำจัดออก ดังนั้นเดนไดรต์
จึงถูกกระตุ้นเฉพาะเวลาที่แอกซอนปล่อยสารสื่อประสาทออกมาเท่านั้น

         นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่า มียาและสารเคมีหลายชนิดที่มีผลต่อการถ่ายทอด
กระแสประสาทบริเวณซิแนปส์ได้แก่


สารเคมี
ผลต่อการถ่ายทอดกระแสประสาท
สารพิษจากแบคทีเรีย
เช่น คลอสตริเดรียม โบทูรินัม
ยับยั้ง การปล่อยสารสื่อประสาทโดยออกฤทธ์ต่อโปรตีนที่ถุงบรรจุสารสื่อประสาท (synaptic vesicle) เกิดอัมพาต (กล้ามเนื้อไม่หดตัว)
พิษงูเห่า แย่งสารสื่อประสาทจับกับตัวรับแอซิติลโคลีน (acetylcholine receptor) เป็นผลให้ไม่เกิด ดีโพลาไรเซชัน ที่หลังซิแนปส์ เกิดอาการอัมพาต
สารนิโคติน
คาเฟอีน แอมเฟตามีน
กระตุ้นให้ปล่อยสารสื่อประสาทออกมามาก เนื่อง
จากสารสื่อประสาทเช่น แอซิติลโคลีนไม่หลุดจากบริเวณซิแนปส์ จึงกระตุ้นประสาทตลอดเวลา ทำให้เกิดการตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว
ยาฆ่าแมลงเช่น
ออการ์โนฟอสเฟตและคาร์บาเมท
ยับยั้ง การทำงานของเอนไซม์ที่จะมาสลายสารสื่อประสาทได้แก่ เอนไซม์แอซิติลโคลีนเอสเทอเรส(acetylcholinesterase) เป็นผลให้ มีการคั่งของแอซิติลโคลีน ที่ตัวรับต่างๆ ทำให้เกิดอาการอัมพาต ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้องภายใน 24 ชั่วโมง สารนี้จะสร้างพันธะที่คงทน (stable bond) ทำให้เสียสภาพอย่างถาวร