|
|
|
การอนุบาลลูกปลากัด
ลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆจะเกาะอยู่ที่หวอด และมีถุงอาหารติดอยู่ที่ตัว ลูกปลาจะใช้อาหารจาก
ถุงอาหารหมดภายใน 3-4 วัน ดังนั้นในช่วงนี้จึงไม่จำเป็นต้องให้อาหาร
เมื่อลูกปลาเริ่มกินอาหารควรให้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียดกรองผ่านกระชอนตาถี่ๆ หยดกระจายในน้ำที่เลี้ยงลูกปลาวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3-5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนไปใช้ไรแดงที่มีขนาดเล็กเลี้ยง เมื่อลูกปลาเริ่มโตจึงเปลี่ยนไปเลี้ยงด้วยไรแดงขนาดใหญ่จนกระทั่งลูกปลาสามารถกินลูกน้ำได้ จึงควรเลี้ยงด้วยลูกน้ำต่อไป
เมื่อปลากัดอายุได้ประมาณ 1 เดือนครึ่งถึง 2 เดือนจะสามารถแยกเพศได้ ควรแยกปลากัดตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน โดยเฉพาะปลากัดตัวผู้จะต้องแยกจากกัน เนื่องจากพวกมันจะเริ่มกัดกันเอง เพื่อแสดงลำดับขั้น
ความสำคัญในกลุ่ม แต่ไม่ถึงขั้นที่กัดกันจนตาย พฤติกรรมนี้อาจเป็นสาเหตุทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บและเกิดเป็นโรคได้ แต่จากการสังเกตพบว่า่ถ้านำตัวผู้ครอกเดียวกันที่แยกจากกันไปแล้วมาใส่รวมกันอีก มันจะกัดกันจนอาจถึงตายได้
เมื่อลูกปลามีอายุ 4 เดือน นับว่าปลากัดโตเต็มที่แล้ว พร้อมที่จะจำหน่ายและผสมพันธุ์ ในช่วงนี้อาหารที่ให้คงเป็นลูกน้ำ หรือเป็นอาหารที่มีชีวิตอื่นๆ เช่น ปลวก ไส้เดือน ลูกกุ้ง เป็นต้น |
|
|
|
|
เม็ดสี และการเกิดเม็ดสีในลูกปลากัด
การศึกษาพัฒนาการของลูกปลากัดวัยอ่อน จากลักษณะภายนอกที่มองเห็นได้ในระยะต่าง ๆ โดยการเก็บรวบรวมตัวอย่างลูกปลาวัยอ่อนจากการเพาะฟัก ตั้งแต่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จนกระทั่งลูกปลาได้พัฒนาลักษณะรูปร่างเหมือนปลาที่โตเต็มวัย (ระยะ juvenile อายุประมาณ 50 วัน) ลูกปลากัดวัยอ่อนระยะที่มีถุงอาหารสำรอง (yolk sac stage) ไม่มีจุดสีบนถุงอาหารสำรอง ลูกปลากัดวัยอ่อนระยะแรก (pre larval stage) ไม่มีหรือมีจุดสี
น้อยมากบนลำตัว ลูกปลากัดวัยอ่อนระยะหลัง (post larval stage) มีจุดสีกระจายอยู่บนลำตัว
สีของปลาถูกควบคุมโดยเซลล์เม็ดสี (chromatophores) ชนิดต่างๆที่อยู่ในผิวหนังที่เรียกว่าชั้นเดอร์มิส (dermis) หรือชั้นที่ลึกลงไป หรือพบได้ในตาของปลา
ชั้นสีของปลากัดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นสีเงาวาวหรือสีน้ำเงิน (iridescent layer) ชั้นสีดำ(black layer) ชั้นสีแดง (red layer) และชั้นสีเหลือง (yellow layer) โดยชั้นสีแต่ละชั้นของปลากัดจะมียีนที่กำหนดสีต่างๆ ซึ่งทำให้ชั้นสีแต่ละชั้นมีชนิด จำนวนเม็ดสี (pigment) และการกระจายตัวของเม็ดสีแตกต่างกันออกไป
ชั้นสีเงาวาวหรือสีน้ำเงิน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดสีิอิริโดไซด์หรือกัวโนฟอร์ (iridocyte หรือ guanophore) ที่ควบคุมปริมาณรงควัตถุสีน้ำเงิน ชั้นสีดำประกอบด้วยเซลล์เม็ดสีเมลาโนฟอร์ ( melanophore) ชั้นสีแดงประกอบด้วยเซลล์เม็ดสีอีริโทรฟอร์ (erythrophore) และชั้นสีเหลือง ประกอบด้วยเซลล์เม็ดสีแซนโธฟอร์ (xanthophore) ซึ่งควบคุมปริมาณรงควัตถุสีดำ (melanin) สีแดง (pterin) และสีเหลือง (xanthin) ตามลำดับ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพตัดขวางบริเวณชั้นผิวหนังของปลากัด |
|
|
|
|
|
รงควัตถุสีเงาวาว (iridescence) สีน้ำเงิน และสีเขียว
ปลากัดขับถ่ายของเสียออกทางเหงือกและผิวหนัง แต่มีของเสียบางประเภทที่ถูกเก็บสะสมไว้ในบริเวณผิวหนัง ตา และครีบ ซึ่งสารประกอบที่เป็นของเสียจากขบวนการเมตาบอลิซึมของสารประกอบที่มีไนโตรเจน เช่น กัวนีน (guanine) เป็นโพลิเมอร์ของแอมโมเนียที่เรียงตัวเป็นผลึก (crystalline) จะสะท้อนแสงและทำให้เห็นตัวปลาเป็นเงาวาว โดยพบผลึกของกัวนีนอยู่ในเซลล์เม็ดสีอิริโดไซท์ (iridocyte) ความหนาและการจัดเรียงตัวของผลึกและรงควัตถุชนิดนี้ทำให้มองเห็นปลากัดมีสีน้ำเงินและสีเขียวที่หลากหลาย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดที่มีสีมันวาว |
|
|
|
|
|
รงควัตถุสีดำ (melanin)
รงควัตถุสีดำเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโนที่ชื่อว่าอะลานีน (alanine) ซึ่งเซลล์ของร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นสารอื่นๆ เช่น ฟีนิลอะลานีน (phenylalanine) ไทโรซีน(tyrosine) และไดไฮดรอกซิล-ฟีนิลอะลานิน (dyhydroxyl-phenylalanine : DOPA) ซึ่งมักเกิดขึ้นในเซลล์เมลาโนไซท์ (melanocyte) โดยใช้เอนไซม์ชนิดต่างๆ และเอนไซม์ที่สำคัญ คือไทโรซิเนส (tyrosinase) หากปลากัดไม่สามารถผลิตเอนไซม์ชนิดนี้ได้ จะทำให้เป็นปลากัดเผือก (albino)
ในเซลล์เมลาโนไซท์ (melanocyte) นั้น DOPA จะถูกเปลี่ยนรูปเป็น DOPA-quinone ซึ่งเป็นรงควัตถุ
สีแดง แต่ไม่เสถียรจึงเปลี่ยนเป็นอินโดล ควิโนน (indole quinone) ที่รวมตัวกันเป็นสายโพลิเมอร์ที่เรียกว่า เมลานิน (melanin) ทำให้มองเห็นปลากัดเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล |
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลากัดสีดำ |
|
ปลากัดที่มี่สีดำและน้ำตาล |
|
|
|
|
|
|
|
รงควัตถุสีแดง (pterin)
สีแดงของปลากัดอาจเป็นผลมาจากรงควัตถุเธอรีน (pterin) ซึ่งมีโครงสร้างของเทอริดีน(pteridin) ที่เรียกว่าเทอริโนโซม (pterinosome) ลักษณะคล้ายกับการจับกันแบบกัวนีน (guanine) และอาจเกิดจากแอสทาแซนทีน (astaxanthin) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สูตรโครงสร้างโมเลกุลของ pterin |
|
|
|
|
|
|
ปลากัดสีแดง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
รงควัตถุแคโรทีนอยด์ (carotenoid)
สีเหลืองที่พบในปลากัดอาจเกิดจากรงควัตถุแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ในเซลล์แซนโธฟอร์ (xanthophore) หรืออาจเกิดระหว่างขั้นตอนการสร้างเมลานินซึ่งมีสาเหตุจากปริมาณเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดเป็นสีเหลืองหรือสีแดงขึ้นได้ ดังนั้นการเกิดสีเหลืองในปลากัดอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ระหว่าง melanin pathway หรือ xanthin pathway ของแคโรทีนอยด์ หรือ pterine pathway ของเอนไซม์ร่วม (cofactor) ที่เหมือนกันกับกรดโฟลิค รงค์วัตถุแคโรทีนอยด์ชนิดที่รู้จักกันมากที่ี่สุด คือ แอสทาแซนทิน (astaxanthin) พบในสาหร่ายสไปรูไลนาซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่นิยมนำมาใช้ทำ้เป็นส่วนประกอบของอาหารปลา ดังนั้นการเลี้ยงปลากัดด้วยอาหารที่มีส่วนผสมของรงค์วัตถุจากสิ่งมีชีวิตจากธรรมชาติจะช่วยทำให้ปลามีสีที่สดกว่าเดิม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สูตรโครงสร้างโมเลกุลของ astaxanthin (รงค์วัตถุแคโรทีนอยด์) |
|
|
ปลาักัดสีเหลือง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความแตกต่างระหว่างรงควัตถุและสารให้ความวาว
รงควัตถุ (สารสี) ที่พบในปลากัดส่วนใหญ่เป็นเธอริน (pterin) สารประเภทแคโรทีน (carotene) และ เมลานิน (melanin)
สารให้ความวาวส่วนใหญ่เป็นสารประเภทเบส (bases) ของกรดนิวคลีอิค (nucleic acid) ที่ตกเป็นตะกอน และกึ่งผลึกเป็นชั้นตามผิวและเกล็ด |
|
|
|
|
|
|
|
|
การเลี้ยงปลากัดในขวด ปลากัดเมื่อโตได้ขนาด ผู้เลี้ยงจะคัดแยกตัวเมียและตัวผู้ออกจากกัน ตัวผู้จะนำไปเลี้ยงในขวดขวดละ
1 ตัว ขวดที่นิยมใช้คือขวดสุราแบน ส่วนตัวเมียหลังจากคัดไว้ทำพันธุ์แล้วจะขายที่เหลือไปในราคาถูก
ปลากัดที่เลี้ยงในขวดต้องให้อาหารเช้าเย็น เปลี่ยนน้ำทุก 3 วันจะทำให้ปลาโตเร็ว การเลี้ยงใช้เวลาประมาณ 30-40 วันก็ขายได้ ปลากัดที่เลี้ยงในขวดจะต้องให้อาหารให้อิ่มมิฉะนั้นปลาอาจจะกัดหางตัวเอง
โดยเฉพาะปลากัดจีน
ทุกๆเดือนหรือสองเดือน ควรล้างขวดที่เลี้ยงให้สะอาดเพื่อป้องกันการเกิดโรคเนื่องจากการสะสมของ
ของเสียต่างๆ โดยย้ายปลากัดไปเลี้ยงในขวดใหม่ที่เตรียมไว้ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเลี้ยงปลากัดในขวดสุราแบน |
|
การเปลี่ยนน้ำปลากัดในขวด |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเลี้ยงปลากัดเพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ |
|
ปลากัดที่เลี้ยงไว้ในขวดโหล |
|
|
|
คุณรู้หรือไม่ ?
การหมักปลาคืออะไร
เรามักได้ยินอยู่บ่อยๆว่าผู้เลี้ยงปลากัดมักมีการหมักปลาในบางช่วงที่มี
การเลี้ยงปลากัด ซึ่งการหมักปลานั้นหมายถึง วิธีการรักษาปลาและบำรุงปลาด้วยวิธีการทางธรรมชาติโดยใช้สมุนไพร หลังจากการหมัก ปลากัดจะมีสีและเกล็ดเรียบเป็นมันเงา
จุดประสงค์ของการหมักปลา คือ
- การหมักปลาเพื่อให้ปลากัดเก่ง สู้เก่ง
- การหมักเพื่อรักษาแผลจากการต่อสู้
- การหมักเพื่อรักษาแผลที่ไม่สบายหรือมีอาการตกใจ
วิธีการหมักปลา
- ใช้ใบตองแห้งหรือใบหูกวางแห้งจำนวน 1 ใบ
- ใช้ใบตะไคร้ประมาณ 4-5 ใบ
- ดินเหนียวปั่นตากแห้งพอประมาณ
- นำส่วนผสมในข้อ 1-3 มาใส่ลงในน้ำที่เตรียมไว้ เพื่อให้ได้น้ำหมักใบหูกวาง
- นำน้ำที่ได้จากการหมักมาเลี้ยงปลากัดประมาณ 10 -15 วัน ให้กินอาหารทุกวัน หรือ 2 วันให้กิน 1 ครั้ง
- ถ้าเป็นการหมักเพื่อการแข่งขัน ผู้เลี้ยงจะนำปลามาเลี้ยงต่อในน้ำปกติประมาณ 10 วัน
แต่ละวันจะนำปลาตัวเมียมาปล่อยลงไปเพื่อให้ตัวผู้ไล่ประมาณ 3-4 นาที จากนั้นให้ลูกน้ำกินเป็นอาหาร
***หมายเหตุ....ในธรรมชาติใบหูกวางและใบตองแห้งจะมีสารพวกแทนนินเป็นองค์ประกอบ ซึ่งสารนี้จัดว่าเป็นสารที่มีพิษ แต่การนำใบหูกวางและใบตองมาใช้ในการหมักปลานั้นนับว่าเป็นภูมิปัญญาของไทย และปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เป็นเอกสารอ้างอิงถึงผลของ
สารแทนนินที่มีต่อปลากัดดังกล่าว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ใบหูกวางแห้ง |
|
ปลากัดที่หมักในน้ำ้ำหมักใบหูกวาง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
กิจกรรมที่ทำได้ในชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องสิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
ให้นักเรียนศึกษาโครงสร้างและการทำงานของระบบต่างๆ ของสัตว์ และเปรียบเทียบระหว่างสัตว์ต่างชนิดกันที่พบได้ง่าย อาทิเช่น ปลากัด กบ แมลง มด ฯลฯเป็นต้น โดยให้เปรียบเทียบโครงสร้างของร่างกายภายนอก การดำรงชีวิต การเคลื่อนที่ และให้นักเรียนศึกษาการสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของสัตว์ โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อให้สัตว์สามารถสืบพันธุ์และเจริญเติบโต และให้นักเรียนวางแผนและศึกษาวงจรชีวิตและพัฒนาการของสัตว์ในแต่ละระยะ
นักเรียนสามารถศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบการปฏิสนธิภายนอกและภายในพร้อมทั้งการออกลูกเป็นไข่และออกลูกเป็นตัวของสัตว์ โดยใช้ปลากัด และปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นปลาที่หาได้ง่ายและสามารถสังเกต
ได้อย่างชัดเจน ซึ่งกิจกรรมนี้จะทำให้นักเรียนเข้าใจเรื่องการสืบพันธุ์ของสัตว์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|