|
|
|
|
โรคของปลากัดและวิธีการรักษา
การเลี้ยงปลากัดเอาไว้ดูเล่นหรือเพื่อเป็นธุรกิจย่อมมักประสบปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรคของปลา เช่น
เดียวกัน ตามปกติแล้วปลากัดเป็นปลาที่อดทนและสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี หากเลี้ยงได้อย่างถูกวิธีแล้วมักไม่ค่อยเป็นโรค โรคที่พบในปลากัดมักไม่ค่อยมีอาการรุนแรงถึงขนาดทำให้ปลาตายได้ ดังนั้นหากว่า
ผู้เลี้ยงทราบถึงสาเหตุและอาการของโรคที่เกิดขึ้นก็สามารถหาวิธีป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้อง
การรักษาปลากัดที่เป็นโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. การแยกปลากัดที่ป่วยออกจากกัน ถ้าพบว่าปลากัดตัวหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งมีอาการป่วย ให้ทำการคัดแยกปลาป่วยออกมาใส่ภาชนะใหม่ เพื่อรอการรักษาต่อไป ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้คัดแยกปลาที่ป่วย ควรทำความสะอาด หรือฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งาน รวมทั้งทำความสะอาดอวัยวะต่างๆของผู้เลี้ยง เพื่อป้องกัน
การแพร่กระจายของโรคไปยังบ่ออื่นๆ |
|
|
|
|
|
|
|
|
ปลาที่เลี้ยงรวมกันถ้าเป็นโรคต้องคัดออกทันที |
|
ปลาที่ป่วยเป็นโรค |
|
|
|
2. การพิจารณาโรคและการรักษา หลังจากคัดแยกปลากัดที่ป่วยออกมาแล้ว ให้พิจารณาอาการของปลา โดยดูจากลักษณะภายนอกว่ามีลักษณะอย่างไร สาเหตุของโรคมาจากอะไร และจะทำการรักษาวิธีไหน ตลอดจนจะป้องกันโรคได้อย่างไร เมื่อพิจารณาแล้วก็ดำเนินการวางแผนการรักษาต่อไป |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พิจารณาอาการของโรค |
|
|
|
โรคที่มักพบได้บ่อยในปลากัดมีอยู่หลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคมักมีสาเหตุที่แตกต่างกันไป บางโรคอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บางโรคอาจเกิดจากเชื้อรา และบางโรคอาจเกิดจากปรสิตภายนอก ดังนั้นเราควรมารู้จักโรคที่สำคัญๆเหล่านี้คือ
1. โรคไฟลามทุ่ง เป็นโรคที่ติดต่อกันได้เร็วที่สุดใช้ระยะเวลาเพียง 2 -3 วันก็จะติดต่อกันหมด
ลักษณะอาการ เป็นแผลบริเวณโคนครีบหาง ครีบหู และครีบท้อง ขอบแผลจะมีลักษณะเป็นรอยช้ำแดง และเป็นเส้นปุยสีขาว เกล็ดของปลาจะพอง ปลาที่เป็นโรคจะลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำ
การป้องกันรักษา ให้รีบช้อนปลาที่เป็นแผลออกทันที ส่วนปลาที่เหลืออยู่้ใช้ต้นหญ้าไทรที่ตากแดดหมาดๆนำมาใส่ในบ่อเลี้ยงให้มีปริมาณมากพอที่จะทำให้น้ำมีสีเข้ม และเป็นฝ้าเล็กน้อย แช่ปลากัดไว้ประมาณ 5 – 7 วัน
คล้ายกับการหมักปลากัด เมื่อแผลของปลากัดหายแล้วให้ย้ายปลากัดไปเลี้ยงในตู้ หรืออ่างใหม่ที่ใส่หญ้าไทรเล็กน้อย พอให้เกิดเป็นสีชา ปลากัดที่เลี้ยงจะค่อยๆแข็งแรง และหายเป็นปกติ |
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคไฟลามทุ่ง |
|
โรคไฟลามทุ่งทำให้ปลาตัวด่างครีบกร่อน |
|
|
|
2. โรคปากดำ เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ปลากัดที่เป็นโรคปากดำจะนำไปกัดไม่ได้ ทั้งนี้เพราะปลากัดใช้ปาก
ในการต่อสู้ ถ้าปากของปลากัดเจ็บก็ไม่สามารถต่อสู้กับศัตรูได้
ลักษณะอาการ ปลากัดที่เป็นโรคปากดำ ขอบปากด้านบนจะมีขอบหนามากผิดปกติ และจะมีสีดำ
เพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ
การป้องกันรักษา แม้ว่าโรคปากดำเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่โรคนี้ยังไม่มีทางรักษา ดังนั้นเมื่อพบว่าปลากัดที่เลี้ยงเป็นโรคปากดำให้ตักทิ้ง อย่าเสียดาย เพราะมิฉะนั้นจะทำให้ปลากัดตัวอื่นติดโรคนี้ไปด้วย |
|
3. โรคปากเปื่อย จัดเป็นโรคที่ร้ายแรงชนิดหนึ่งของปลากัด โรคนี้รักษาไม่หาย ดังนั้นถ้าพบว่าปลากัดเป็นโรคปากเปื่อยต้องแยกออกทันที
ลักษณะอาการ เริ่มจากขอบปากเป็นแผลสีขาวและลักษณะเป็นขุยเส้นเล็กๆ ปลากัดที่เป็นโรค
ปากเปื่อยจะไม่ค่อยว่ายน้ำและมักลอยตัวอยู่บริเวณผิวน้ำเฉยๆ
การป้องกันรักษา เนื่องจากโรคนี้ไม่มีทางรักษา ถ้าพบว่าปลากัดเป็นโรคชนิดนี้ควรรีบแยกออกทันที |
|
|
|
|
|
4. โรคท้องมาน เป็นโรคที่อาจทำให้ผู้เพาะเลี้ยงปลาเข้าใจผิดคิดว่าปลาตั้งท้อง เพราะส่วนท้องของปลากัด
จะพองออก โรคท้องมานอาจเกิดจากการที่ปลากัดติดเชื้อภายในช่องท้องและมีอาการอักเสบ
ลักษณะอาการ ปลากัดมีลักษณะท้องโตเนื่องจากการติดเชื้อภายในช่องท้องจนทำให้ท้องมีขนาดโตผิดปกติ
การป้องกันรักษา ผู้เลี้ยงบางรายใช้วิธีเอาดีเกลือ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำ 1.5 ลิตร จากนั้นจึงจับปลากัดลงแช่
1-2 วัน อาการจะทุเลาลง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคท้องมาน (dropsy) |
|
|
|
|
|
5. โรคปลาตัวสั่น ปลาที่เป็นโรคจะมีอาการสั่น สาเหตุเกิดจากน้ำที่ใช้เลี้ยงสกปรกมีแบคทีเรียปะปนอยู่มาก หรือเกิดจากอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ลักษณะอาการ ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการตัวสั่นและว่ายน้ำผิดปกติ
การป้องกันรักษา ให้เปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาโดยที่อุณหภูมิน้ำที่เปลี่ยนใหม่ต้องไม่แตกต่างจากน้ำที่อยู่ในตู้เลี้ยงเดิมมากเกินไป แล้วเติมเกลือลงในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาอัตราส่วน 2 ช้อนชาต่อน้ำ 5 ลิตร เพื่อให้เกลือไปฆ่า
เชื้อแบคทีเรียเล็กๆที่อยู่ในน้ำ ให้ลดจำนวนลง |
|
|
6. โรคที่เกิดจากเชื้อรา โดยปกติแล้วเชื้อราไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของโรค สาเหตุของโรคเนื่องจากปลาได้รับความบอบช้ำ
ลักษณะอาการ เห็นปุยขาวคล้ายสำลีในบริเวณที่เป็นโรค ปลามีอาการซึมไม่ว่ายน้ำ หยุดกินอาหาร ปลากัดสีซีด
การป้องกันรักษา ใช้มาลาไคท์กรีนเข้มข้น 0.1-0.25 ส่วนในล้านส่วน ร่วมกับฟอร์มาลีน 25 ส่วนในล้านส่วน
แช่ปลานาน 3 วัน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคที่เกิดจากเชื้อรา มีอาการท้องบวม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
7. โรคหางและครีบเปื่อย เป็นโรคที่พบอยู่เสมอ สาเหตุเกิดจากน้ำที่ใช้เลี้ยงสกปรก มีตะกอนหรือเศษอาหารเหลือและทับถมอยู่ที่ก้นบ่อ ทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
ลักษณะอาการ ปลาจะเริ่มเปื่อยบริเวณครีบต่างๆก่อนแล้วค่อยๆลุกลามเข้าไปจนถึงตัวปลา โรคนี้เกิดจาก
เชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นถ้าปลาเป็นโรคนี้แล้วจะทำให้ครีบต่างๆ ของปลาเสียหายไม่สวยงาม
การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาในอัตราส่วน 1-2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน ยาปฏิชีวนะที่ใช้ ได้แก่ ออกซีเตตร้าไซคลิน ไนโตรฟูราโซน เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หางและครีบเปื่อย |
|
หาง และครีบเปื่อย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|