8.  โรคจุดขาว หรือโรคอิ๊ค เป็นโรคที่เกิดจากตัวอ่อนของโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ichthyophthirius multifilis มาฝังตัวใต้เยื่อบุบริเวณลำตัวและเหงือกของปลากัด เป็นโรคที่เกิดขึ้นเสมอในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำจากสูงเป็นต่ำหรือต่ำเป็นสูง
ลักษณะอาการ มีจุดเล็กๆสีขาวขุ่นกระจายอยู่ตามลำตัวและครีบต่างๆ ของปลา โรคชนิดนี้จะทำลายเซลล์ผิวหนังของปลา ตัวอ่อนของโปรโตซัวเมื่อโตเต็มที่ก็จะหลุดออกจากตัวปลาและจมลงก้นบ่อเป็นตัวเต็มวัย และเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสมก็จะแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนออกมาเกาะตัวปลาต่อไป
การป้องกันรักษา  การรักษาที่ได้ผลดีคือ ใช้น้ำยาฟอร์มาลีนความเข้มข้น 25-30 ส่วนในล้านส่วน ผสมกับ
มาลาไคท์กรีน 0.1 ส่วนในล้านส่วน แช่ปลากัดติดต่อกันประมาณ 3-5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนน้ำ

   
โรคจุดขาว (ich)
โรคจุดขาว (ich)

9. โรคสนิม เป็นโรคที่มักเกิดจากโปรโตซัวที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oodinium pillularis มาเกาะตามผิวหนัง ลำตัว และเหงือกของปลา
ลักษณะอาการ บริเวณผิวหนังของปลาจะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาลกระจายอยู่เป็นหย่อมๆบริเวณลำตัว และเหงือก บางครั้งผู้เลี้ยงมักเข้าใจผิดว่าปลาเป็นโรคจุดขาว
การป้องกันรักษา
ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ แช่ปลาไว้นานประมาณ 24 ชั่วโมง และควรทำซ้ำทุก 2 วันหรือใช้เมทธีลีนบลู  (Methylene Blue) 10 หยดต่อน้ำ 45 ลิตร แช่ปลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

โรคสนิม (velvet disease)

10. โรควัณโรคปลา  เป็นโรคที่พบมากในปลากัดมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mycobacterium piscium
ลักษณะอาการ ปลากัดมีน้ำหนักลดลง ไม่กินอาหาร สีซีด เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบเปื่อย ขากรรไกรและกระดูกสันหลังบิดงอ ตาโปน และตาอาจหลุดออกมา ว่ายน้ำผิดปกติ เช่น หงายท้องขึ้น ว่ายน้ำไร้ทิศทาง
หรือเกิดจุดขาวตามอวัยวะภายใน

การป้องกันรักษา เป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีรักษา ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออก แล้วฆ่าเชื้อภายในบ่อ โดยการตากบ่อให้แห้งและสาดด้วยสารละลายด่างทับทิม
    1 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ให้ทั่วบ่อ
2. ไม่ควรเลี้ยงปลากัดหนาแน่นเกินไป
3. ควรเลี้ยงปลากัดในน้ำที่สะอาด
4. ผู้เลี้ยงควรป้องกันตัวเองหากต้องใช้มือสัมผัสโดยตรงกับปลาที่เป็นโรคนี้ เพราะพบว่ามีผู้เลี้ยงบางคนมีอาการของหูดเกิดขึ้นบริเวณมือ

 
         
วัณโรคปลากัด
ก้อนเนื้อ(tumour) ที่พบในปลากัดที่เป็นวัณโรค
 

11. โรคที่เกิดจากพาราสิตภายนอกมาเกาะตามผิวหนัง
ลักษณะอาการ  สังเกตได้จากปลาจะว่ายน้ำผิดปกตโดยปลาจะพยายามว่ายน้ำเอาส่วนที่พาราสิตเกาะอยู่ไปถูกับขอบภาชนะหรือวัสดุใต้น้ำ เพื่อจะขจัดให้หลุดออกไป พาราสิตเหล่านี้น่าจะติดมากับอาหารที่มีชีวิต เช่น ไรแดง หนอนแดง ไส้เดือนดิน ลูกน้ำ เป็นต้น
การป้องกันรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลีน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000  ลิตรแช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ด่างทับทิม จำนวน 1-3  กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
3. ใช้เกลือเม็ด จำนวน  5- 10 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 48 ชั่วโมง