พิจารณาคลื่นในเส้นเชือก (ภาพถ่ายของเส้นเชือกที่เวลาใดเวลาหนึ่ง) ดังรูปด้านล่าง


คลื่นในเส้นเชือกเป็นตัวอย่างหนึ่งของคลื่นตามขวาง เราบรรยายส่วนประกอบต่าง ๆ ของคลื่นได้ดังนี้
เส้นประแสดงตำแหน่งสมดุลของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดเป็นศูนย์ซึ่งคือแนวของเส้นเชือกในขณะที่ไม่มีคลื่น

่คำสำคัญเกี่ยวกับคลื่น ได้แก่
     สันคลื่น (Crest) เป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดสูงสุดเป็นบวก
เช่น ตำแหน่ง A, F, J ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อยู่สูงสุดและมีการกระจัดเป็นบวก

     ท้องคลื่น (Trough) เป็นตำแหน่งต่ำสุดของคลื่น หรือเป็นตำแหน่งที่มีการกระจัดเป็นลบสูงสุด เช่น ตำแหน่ง C, H, L

     แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะความสูงจากตำแหน่่งสมดลุิ (เส้นประ) ถึงสันคลื่น หรือระยะจากท้องคลื่นถึงตำแหน่งสมดุล เช่น ระยะจากเ้ส้นปกติถึงตำแหน่ง A หรือระยะจากเ้ส้นปกติถึงตำแหน่ง C

    ความยาวคลื่น (Wavelength) เป็นความยาวของหนึ่งลูกคลื่น ซึ่งสามารถวัดได้จาก สันคลื่นถึงสันคลื่น หรือท้องคลื่นถึงท้องคลื่นที่อยู่ติดกัน เช่น ระยะจากตำแหน่ง F ถึง J หรือ ระยะจากตำแหน่ง G ถึง K นิยมใช้สัญลักษณ์

สำหรับคลื่นตามยาว เช่น คลื่นในสปริงที่มีส่วนอัด (Compression) และส่วนขยาย (Rarefaction) ต่อกันไป ดังรูปด้านล่าง

เนื่องจากคลื่นตามยาวนี้ไม่มีส่วนที่เป็น ท้องคลื่นและสันคลื่นเหมือนคลื่นตามขวางดังที่ได้กล่าวมา แต่คลื่นตามยาวมี ส่วนอัด (เช่น ตำแหน่ง A และ C) และส่วนขยาย (เช่น ตำแหน่ง B และ D) ดังนั้นเราจึงนิยามให้ความยาวคลื่นมีความยาวเท่ากับระยะห่างระหว่างตำแหน่งที่เหมือนกัน ที่อยู่ติดกัน เช่น ระยะห่างระหว่างตำแหน่งกึ่งกลางของส่วนอัดที่อยู่ติดกัน (เช่น ระยะจากตำแหน่ง A ไปถึงตำแหน่ง C) หรือสามารถวัดได้จากระยะห่างระหว่างตำแหน่งกึ่งกลางของส่วนขยายที่อยู่ติดกัน (เช่น ระยะห่างจากตำแหน่ง B ไปยังตำแหน่ง D)