คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุหลักอะไรบ้าง




1. คาร์โบไฮเดรต
            คาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงาน เคมีสำหรับร่างกายสิ่งมีชีวิต
คาร์โบไฮเดรตที่ซับซ้อนน้อยที่สุดคือ โมโนแซคคาไรด์ (monosaccharide) หรือน้ำตาล
โมเลกุลเดี่ยว ได้แก่ กลูโคส (glucose) ฟรักโทส (fructose) และ กาแลคโทส (galactose) น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 2 โมเลกุล สามารถเชื่อมเข้าด้วยกันเป็นไดแซคคาไรด์ (disaccharide)
หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เช่น ซูโครส (sucrose) แลคโทส (lactose) มอลโทส (maltose) เป็นต้น
โมโนแซคคาไรด์ หลายโมเลกุลต่อเชื่อมกัน เรียกว่า พอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) เช่น
แป้ง (starch) ไกลโคเจน (glycogen) เกิดจากกลูโคสหลายๆโมเลกุลเชื่อมกัน เซลลูโลส
(cellulose) ประกอบด้วยโมเลกุล ของกลูโคสเช่นเดียวกัน เซลลูโลสทำหน้าที่เป็น
โครงสร้างหลักในพืช การสังเคราะห์ไดแซคคาไรด์ และ พอลิแซคคาไรด์ อาศัยปฏิกิริยา
ดีไฮเดรชัน (dehydration) โดยเกิดพันธะโคเวเลนท์ระหว่างโมเลกลุของโมโนแซคคาไรด์
และคายน้ำออกมา 1โมเลกุลทุกๆ 1 พันธะโคเวเลนท์ นอกจากนี้พอลิแซ็กคาไรด์สามารถ
แตกตัวได้มอโนแซ็กคาไรด์ หน่วยย่อยได้โดยอาศัยปฎิกิริยาไฮโดรลิซิส (hydrolysis) ซึ่งมี
การเติมน้ำเข้าสู่ปฏิกิริยาการแตกพันธะโคเวเลนท์ในโมเลกุลพอลิแซ็กคาไรด์





รูปที่ 2.12 โครงสร้างน้ำตาลกลูโคสแบบแอลฟาและบีตา







รูปที่ 2.13 โครงสร้างน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวบางชนิด



รูปที่ 2.14 โครงสร้างน้ำตาลโมเลกุลคู่บางชนิด









          รูปที่ 2.15 โมเลกุลแป้งและเซลลูโลสซึ่งเป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากโมเลกุลกลูโคส
                           จับกันด้วยพันธะ -1-4 ไกลโคซิดิก และพันธะ -1-4 ไกลโคซิดิก