กรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวแตกต่างกันอย่างไร



2. ลิพิด
          ลิพิด เป็นสารอินทรีย์ประเภทไฮโดรโฟบิก มีหน้าที่คล้ายกับคาร์โบไฮเดรต คือ
เป็นแหล่งสะสมพลังงาน โครงสร้างทางเคมีของลิพิดประกอบด้วย ธาตุคาร์บอน และ
ไฮโดรเจน จำนวนมาก เนื่องจากลิพิดเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำจึงมักรวมตัวเป็นกลุ่ม
ลิพิดมีหลายประเภท เช่น ไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) เรียกว่า ไทรเอซิลกลีเซอรอล
(triacylglycerol) เป็นลิพิดที่มีหน้าที่สะสมพลังงานเป็นหลัก โมเลกุลไทรเอซิลกลีเซอรอล
์ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล จับกับกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล
ไขมันแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) เช่น น้ำมันจากพืช (plant oil)
ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีพันธะคู่อย่างน้อย 1 ตำแหน่ง ทำให้ไขมันประเภทไม่อิ่มตัวไม่เป็นไข
ที่อุณหภูมิห้อง สำหรับไขมันอิ่มตัว (saturated fat) เช่น น้ำมันจากสัตว์ ซึ่งประกอบด้วย
กรดไขมันที่ไม่มีพันธะคู่เป็นองค์ประกอบ และเกิดเป็นไขได้ที่อุณหภูมิห้อง ลิพิดประเภทอื่นๆ
ได้แก่ ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) ซึ่งมีหมู่ฟอสเฟตเป็นองค์ประกอบ พบได้ที่บริเวณเยื่อหุ้ม
เซลล์ แว็ก (wax) จากขี้ผึ้ง ซึ่งใช้เป็นสารเคลือบเพื่อป้องกันน้ำ และสเตียรอยด์ (steroid) เช่น
ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) คลอเลสเทอรอล (cholesterol) เป็นต้น






รูปที่ 2.16 โครงสร้างกลีเซอรอล
รูปที่ 2.17 โครงสร้างกรดไขมันอิ่มตัวและ
กรดไขมันไม่อิ่มตัว
ที่มา
               http://biology.clc.uc.edu/courses/bio104/lipids.htm





รูปที่ 2.18 โครงสร้างกรดไขมันปาล์มิติก (palmitic) และสเตียริก (stearic)
ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว และกรดไขมันโอลีอิก (oleic) เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว






รูปที่ 2.19 โครงสร้างไทรเอซิลกลีเซอรอล


ที่มา
                 http://faculty.clintoncc.suny.edu/faculty/




รูปที่ 2.20 โครงสร้างฟอสโฟลิพิด

ที่มา
                 http://biology.clc.uc.edu/courses/bio104/lipids.htm





รูปที่ 2.21 โครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ที่มีฟอสโฟลิพิดเป็นองค์ประกอบ


ที่มา
                http://biology.clc.uc.edu/courses/bio104/lipids.htm






รูปที่ 2.22 โครงสร้างคลอเลสเทอรอล

ที่มา
                 http://faculty.clintoncc.suny.edu/