เซลล์ส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิต
(ยกเว้นเซลล์เริ่มต้นที่จะแบ่งไปเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งใน เซลล์สัตว์เพศผู้เรียกว่า primary spermatocyte ส่วนในเซลล์สัตว์เพศเมียเรียกว่า primary oocyte) จะแบ่งตัวแบบไมโทซีส เมื่อเซลล์แบ่งตัวแบบไมโทซีสจะแยกออกเป็น เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ ที่มีจำนวนชุดโครโมโซมหรือชุดสารพันธุกรรมตลอดจนข้อมูล ทางพันธุกรรมเหมือนกับเซลล์เริ่มต้นและเหมือนกันเองทุกประการ |
|||
|
|||
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะไซโกตและเกิดอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เมื่อสิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตจะต้องสร้างเซลล์ใหม่เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ เพื่อการรักษาบาดแผล
การงอกของเมล็ด หรือเพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป นอกจากนี้การแบ่งแบบไมโทซีสยังเกิดขึ้น ในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ด้วย โดยเซลล์พ่อแม่ของสัตว์หรือพืชจะแบ่งตัวให้เซลล์ใหม่ ซึ่งจะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่หรือสัตว์ตัวใหม่ |
|||
รูปที่ 1.4 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส |
|||
|
|||
เป็นที่ทราบกันดีว่าในการแบ่งเซลล์
หรือการทำอะไรก็ตามจากของหนึ่งสิ่งให้กลายเป็น ของสองสิ่งที่สามารถทำงานได้อย่างปกตินั้น ไม่ใช่การเอาอะไรมาแบ่งครึ่งเพื่อให้แบ่งเป็น สองสิ่ง (เหมือนการผ่าแตงโม) หากแต่ต้องมีการเพิ่มองค์ประกอบสำคัญบางอย่างภายในของ สิ่งนั้น ให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เพื่อแบ่งให้ของชิ้นใหม่หรือเซลล์ใหม่อย่างละครึ่ง เช่น การสร้างรถยนต์ให้ทำงานได้ไม่ใช่แบ่งจาก 4 ล้อ ให้ได้คันละ 2 ล้อ หรือจากพวงมาลัย 1 อัน ให้รถ 2 คันอย่างละครึ่งอัน เราต้องเพิ่มจาก 4 ล้อให้เป็น 8 ล้อ จากพวงมาลัยอันเดียวให้ กลายเป็น 2 อัน เช่นเดียวกันการแบ่งเซลล์ก็ต้องเพิ่มปริมาณขององค์ประกอบที่สำคัญ ของเซลล์ เช่น ดีเอ็นเอ เยื่อหุ้มเซลล์ และเซนโทรโซม (centrosome) ซึ่งทำหน้าที่ สร้างเส้นใยสปินเดิล (spindle fibers) ตลอดจนโปรตีนต่างๆ จำนวนมากเป็นต้น |
|||
ในหนึ่งรอบของการแบ่งแบบไมโทซีส
จะเป็นการเกิดสลับกันระหว่างอินเตอร์เฟส (interphase) และไมโทติกเฟส (mitotic phase) ซึ่งเป็นช่วงของการแบ่งนิวเคลียส (mitosis) และการแบ่งไซโทพลาซึม (cytokinesis) ทั้งนี้เพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่ 2 เซลล์
|
|||
ในขั้นตอนของการแบ่งนิวเคลียสยังแบ่งออกเป็นระยะย่อยๆ
ได้อีก 4 ระยะ คือ โพรเฟส (prophase) เมทาเฟส (metaphase) แอนาเฟส (anaphase) และเทโลเฟส (telophase) |
|||
รูปที่ 1.5 รอบของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส |
|||