เป็นช่วงของการเตรียมสะสมวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์สารต่างๆ
รวมทั้ง การสร้างออร์แกเนลล์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแบ่งเซลล์ ระยะนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะย่อยๆ ได้แก่ ระยะ G1 ระยะ S และระยะ G2 ในทั้ง 3 ระยะนี้เซลล์จะมีการสังเคราะห์โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และอื่นๆ เพื่อใช้สร้างองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับเซลล์ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ รวมทั้งออร์แกเนลล์อื่นๆ แต่การลอกแบบดีเอ็นเอ (DNA replication) เพื่อเพิ่ม ปริมาณดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในระยะ S เท่านั้น (S ย่อมาจาก synthesis แปลว่าสังเคราะห์) ในระยะอินเตอร์เฟสนี้จะสามารถสังเกตเห็นขอบเขตของ นิวเคลียสได้ชัดเจน เนื่องจากเยื่อหุ้มนิวเคลียสยังไม่สลายในไซโทพลาซึม เซนโทรโซมที่เคย มีหนึ่งอันจะจำลองตัวเองจนมีสองอัน ในเซลล์สัตว์ตรงกลางของเซนโทรโซมจะมีเซนทริโอล (centriole) 2 อันวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ไมโครทูบูล (microtubule) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับ การแยกโครโมโซมจะยืดยาวออกมาจากบริเวณเซนโทรโซม ส่วนในเซลล์พืชชั้นสูงจะไม่พบ โครงสร้างที่มีลักษณะดังกล่าว ในช่วงท้ายของระยะนี้แม้ว่าการลอกแบบดีเอ็นเอจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เราจะไม่สามารถสังเกตเห็นโครโมโซมเป็นแท่งๆ เหมือนเครื่องหมายกากบาท เนื่องจากดีเอ็นเอยังอยู่ในสภาพโครมาทินที่ยังไม่ขดตัวกันแน่น |
|||
ในแต่ละรอบของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสระยะอินเตอร์เฟสจะใช้เวลายาวนานกว่า
90 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด และแม้จะเป็นระยะที่ไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงภายใต้ กล้องจุลทรรศน์ได้อย่างชัดเจน แต่ก็เป็นระยะที่มีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นระยะที่มี การเพิ่มปริมาณดีเอนเอหรือโครมาทินขึ้นเป็นสองเท่า (แต่จำนวนชุดของสารพันธุกรรม ยังเท่ากับ 2n เช่นเดิม) เช่น ถ้ากำหนดให้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ 1 ตัว แทนโครมาทิน 1 สาย ในระยะอินเตอร์เฟส สิ่งที่เกิดขึ้นคือ |
|||
รูปที่ 1.6 แสดงจำนวนชุดของสารพันธุกรรมในการแบ่งตัวระยะอินเตอร์เฟส |
|||
รูปที่ 1.7 การแบ่งเซลล์ในระยะอินเตอร์เฟส |
|||
|
|||
เนื่องจากการแบ่งเซลล์ในระยะอินเตอร์เฟส
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและมีความสำคัญ มากที่สุดคือ การลอกแบบดีเอ็นเอ (DNA replication) จึงขอกล่าวในรายละเอียดเพื่อประกอบ การทำความเข้าใจดังนี้ |
|||
การลอกแบบดีเอ็นเอ
เป็นวิธีการที่เซลล์ใช้ในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม หรือ ดีเอ็นเอให้มากขึ้น เพื่อถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานต่อไปในกระบวนการแบ่งเซลล์ แม้ว่าวิธีการ ดังกล่าวนี้จะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละสิ่งมีชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ มีการใช้ ดีเอ็นเอสายเก่าเป็นแม่แบบในการสร้างสายใหม่ทุกครั้ง ดังนั้น DNA ใหม่ที่ได้ 2 สายจึง ประกอบด้วยโพลีนิวคลีโอไทด์สายเก่า 1 สาย และสายใหม่ 1 สาย เรียกการลอกแบบลักษณะ นี้ว่าการลอกแบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ที่สำคัญ ที่เป็นเครื่องยืนยันความถูกต้องของการลอกแบบดีเอ็นแบบกึ่งอนุรักษ์ ได้แก่ การทดลองของ Matthew Meselson และ Franklin Stahl |
|||
รูปที่ 1.8 การลอกแบบดีเอ็นเอ |
|||
การลอกแบบของดีเอ็นเอ มีขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญดังนี้ |
|||
1. มีโปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเริ่มต้นการลอกแบบดีเอ็นเอจำนวนหนึ่ง เข้าจับกับ สายดีเอ็นเอตรงตำแหน่งจำเพราะที่เรียกว่า จุดเริ่มต้นของการลอกแบบดีเอ็นเอ (origin of replication) ซึ่งในโปรแคริโอตมีจุดเริ่มต้นของการลอกแบบดีเอ็นเอ 1 จุด ในขณะที่ยูแคริโอต มีจุดเริ่มต้นของการลอกแบบดีเอ็นเอมากกว่า 1 จุดบนดีเอ็นเอเกลียวคู่ 1 สาย โปรตีนเหล่านี้ มีหน้าที่ในการง้างดีเอ็นเอเกลียวคู่นั้นให้แยกออกจากกันเพื่อให้เอ็นไซม์เฮลิเคส (helicase) เข้าจับกับสายดีเอ็นเอและสลายพันธะไฮโดรเจนระหว่างคู่เบสบนสายดีเอ็นเอในบริเวณนั้น ต่อไปการแยกออกจากกันของดีเอ็นเอเกลียวคู่จะทำให้เกิดตำแหน่งที่มีลักษณะคล้ายตัว Y ขึ้น 2 จุด (ด้านซ้ายและด้านขวาของจุดเริ่มต้นของการลอกแบบดีเอ็นเอ) เรียกจุดที่มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ว่า เรพลิเคชันฟอร์ค (replication fork) |
|||
รูปที่ 1.9 ขั้นตอนของการลอกแบบของดีเอ็นเอ |
|||
2.
โปรตีน SSB (single strand binding protein) เข้ามาเกาะบริเวณดีเอ็นเอสายเดี่ยว ที่แยกออกจากกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ดีเอ็นเอสายเดี่ยวทั้งสองสายนั้นกลับมาพันเกลียวกัน อีกครั้งก่อนที่จะเกิดการลอกแบบดีเอ็นเอ |
|||
รูปที่ 1.10 การจับของโปรตีน SSB ที่เรพลิเคชันฟอร์ด |
|||
3.
เกิดการสร้างอาร์เอ็นเอชิ้นสั้นๆ ความยาวประมาณ 3-10 นิวคลีโอไทด์ ที่เรียกว่า
อาร์เอ็นเอไพรเมอร์ (RNA primer) โดยการทำงานของเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอไพรเมส (RNA primase) อาร์เอ็นเอสายสั้นๆ ที่เกิดขึ้นนี้จะทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นการทำงานของ เอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ทำหน้าที่ในการนำดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ เดี่ยว เข้ามาต่อเพื่อให้เกิดเป็นดีเอ็นเอสายยาว การทำงานที่ต้องอาศัยอาร์เอ็นเอไพรเมอร์นี้ จึงเป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างเอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรส กับเอ็นไซม์อาร์เอ็นเอ โพลีเมอเรส ซึ่งทำหน้าที่ในการคัดลอกดีเอ็นเอเพื่อสังเคราะห์เป็็นอาร์เอ็นเอ |
|||
รูปที่ 1.11 ขั้นตอนการสร้าง RNA primer |
|||
4.
เอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรสเข้าจับกับสายดีเอ็นเอตรงตรงตำแหน่งของไพรเมอร์
และเริ่มการนำดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์เดี่ยว (deoxyribonucleotide) เข้ามาต่อสาย ในทิศทาง 5'-3' โดยเชื่อมเบสที่คู่กันเข้าด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจน และเชื่อมหมู่ฟอสเฟต ของแต่ละนิวคลีโอไทด์ ให้เป็นพันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ เมื่อจุดคลายเกลียวเลื่อนขึ้นไป ก็จะได้ดีเอ็นเอสายใหม่ที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ ตามทิศทางการเคลื่อนที่ของเรพลิเคชันฟอร์ค เรียกดีเอ็นเอสายนี้ว่า สายใหม่ที่นำหน้าการลอกแบบ (leading strand) |
|||
รูปที่ 1.12 การสร้าง DNA สาย leading |
|||
5.
ในขณะที่เกิดการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสาย leading บนดีเอ็นเอแม่แบบทั้งสองสาย ก็จะเกิดการสังเคราะห์ดีเอ็นเอในอีกสายหนึ่ง แต่มีทิศทางตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของ เรพลิเคชันฟอร์ค สำหรับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายนี้จะสร้างได้เป็นสายสั้นๆ เนื่องจาก เมื่อสร้างไปได้ระยะหนึ่งก็จะไปชนกับสายดีเอ็นเอที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้ เมื่อจะเริ่มต้น การสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายสั้นๆ ในลักษณะนี้อีกก็ต้องรอให้เรพลิเคชันฟอร์คเคลื่อนห่าง ออกไปก่อนสักระยะหนึ่ง จึงจะมีการเริ่มสร้างไพรเมอร์และเริ่มการสังเคราะห์ดีเอ็นเอสายสั้นๆ นั้นอีก เรียกดีเอ็นเอสายสั้นๆ แต่ละสายนี้ว่าชิ้นส่วนโอกาซากิ (okazaki fragment) และเรียกเรียกดีเอ็นเอสายสั้นๆ ที่วางเรียงรายกันในลักษณะเป็นสายยาวนี้ว่า สายตามหลัง (lagging strand) |
|||
รูปที่ 1.13 การสร้าง DNA สาย lagging |
|||
6.
เมื่อการสังเคราะห์ DNA ดำเนินต่อไป ดีเอ็นเอโพลีเมอเรสจะมีการกำจัดอาร์เอ็นเอ ไพรเมอร์ออกโดยอาศัยคุณสมบัติของ 5'-3' เอ็กโซนิวคลีเอส (5'-3' exonuclease) การกำจัดอาร์เอ็นเอไพรเมอร์ออกทำให้ดีเอ็นเอบริเวณดังกล่าวอยู่ในสภาพสายเดี่ยวที่ไม่มีคู่ อย่างไรก็ตามเอ็นไซม์ดีเอ็นเอโพลีเมอเรสเดิมจะนำดีออกซีไรโบนิวคลีโอไทด์ตัวใหม่เข้ามา เติมเต็มช่องว่างนี้ ซึ่งการทำงานนี้อาศัยคุณสมบัติ 5'-3' โพลีเมอเรสและตามด้วยการเชื่อม พันธะฟอสโฟไดเอสเทอร์ของชิ้นส่วนโอกาซากิ แต่ละโมเลกุลเข้าด้วยกันด้วยเอนไซม์ไลเกส (ligase) ในที่สุดได้เป็น DNA ใหม่ 2 โมเลกุล โดยแต่ละโมเลกุลมีสายเดิมอยู่ 1 สาย |
|||
|
|||
รูปที่ 1.14 การเชื่อม DNA สาย lagging |
|||
การสร้าง
สาย leading และ สาย lagging สายใหม่มีทิศทางการสร้างที่สวนทางกัน (สาย leading สร้างยาวขึ้นในทิศทางการขยายของ ทางแยกของการลอกแบบ ส่วนสาย lagging สร้างยาวขึ้นไปทางด้านจุดเริ่มต้นของการสร้าง ซึ่งตรงข้ามกับการขยาย ของทางแยกของการลอกแบบ) เชื่อว่าการสร้างสายใหม่ทั้ง 2 สายนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน |
|||
รูปที่ 1.15 การทำงานของเอ็นไซม์ดีเอนเอโพลีเมอเรส ในการสร้างสาย lagging และ leading |
|||
การคลายเกลียวคู่ของดีเอ็นเอออกจากกันทำให้ส่วนเหนือขึ้นไปขดเป็นเกลียวแน่นขึ้น
ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยเอนไซม์โทโปไอโซเมอเรสซึ่งจะตัด DNA สายใดสายหนึ่ง หรือ ทั้งสองสายเหนือทางแยกของการลอกแบบเพื่อให้สามารถคลายเกลียวที่แน่นออกได้และ เชื่อมต่อสายดีเอ็นเอกลับคืนสภาพเดิม |
|||
รูปที่ 1.16 การทำงานของเอ็นไซม์โทโปไอโซเมอเรส |
|||
ในการลอกแบบ
DNA การขยายของทางแยกของการลอกแบบ (เรพลิเคชันฟอร์ค) จะเป็นแบบ 2 ทิศทางพร้อมกัน (bidirectional DNA replication) ทั้งในโปรคาริโอตและ ยูคาริโอต |
|||
รูปที่ 1.17 การลอกแบบ DNA โดยเรพลิเคชันฟอร์ค เกิด 2 ทิศทางพร้อมกัน (บน) ในโปรคาริโอตเกิดทีละตำแหน่งในโครโมโซมวงแหวน (ล่าง) ในยูคาริโอตเกิดพร้อมกันหลายตำแหน่งในโครโมโซมแท่ง |
|||