ในร่างกายของมนุษย์
หากพิจารณาที่จำนวนชุดโครโมโซมภายในนิวเคลียสของแต่ละ เซลล์แล้ว จะสามารถจัดกลุ่มเซลล์ในร่างกายออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ เซลล์ร่ายกาย (somatic cells) เป็นเซลล์ที่ในระยะที่ไม่แบ่งตัวจะมีจำนวนชุดโครโมโซม 2 ชุด และ เซลล์สืบพันธุ์ (germ cells) ซึ่งเป็นเซลล์ที่ในระยะที่ไม่แบ่งตัวมีจำนวนชุดโครโมโซม 1 ชุด เนื่องจากโครโมโซมแต่ละแท่งจะไม่มีคู่ฮอมอโลกัส เซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ได้แก่ เซลล์ไข่ และ เซลล์อสุจิ ตัวอย่างเช่นเซลล์ร่ายกายของคนเรามีโครโมโซม 2 ชุดๆ ละ 23 แท่ง รวมเป็น 46 แท่ง หรือ 23 คู่ ส่วนเซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนชุดโครโมโซม 1 ชุด คือมี 23 แท่ง โครโมโซม แท่งที่ 1 ถึงแท่งที่ 22 เป็นโครโมโซมร่างกาย (autosome) ส่วนแท่งที่ 23 เป็นโครโมโซม เพศซึ่งได้แก่โครโมโซม X หรือโครโมโซม Y |
|||
|
|||
รูปที่ 1.26 การปฏิสนธิระหว่างเซลล์อสุจิกับไข่ |
|||
จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า
หากไม่มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมให้เหลือเป็นครึ่งหนึ่ง ในเซลล์สืบพันธุ์แล้ว ไซโกตที่ได้จากการปฎิสนธิจะมีจำนวนชุดโครโมโซมเพิ่มเป็น 2 เท่าของ เซลล์ปกติ คือเพิ่มเป็น 4 ชุด ซึ่งอาจส่งผลให้เซลล์เกิดความผิดปกติหรือตายได้ ดังนั้นในการ แบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์จึงต้องมีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2 ชุดในเซลล์ เริ่มต้นให้เหลือเพียง 1 ชุดในเซลล์สืบพันธุ์ โดยใช้กระบวนการแบ่งเซลล์แบบพิเศษที่เรียกว่า ไมโอซีส |
|||
|
|||
หลายขั้นตอนที่พบในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส
มีความคล้ายคลึงกับขั้นตอนที่เกิดขึ้น ในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส ไมโอซีสเหมือนกับไมโทซีสที่มีการลอกแบบของดีเอ็นเอ ในระยะ S ของอินเตอร์เฟส แต่ต่างกันที่มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น 2 ครั้งภายหลังการลอกแบบ ของดีเอ็นเอเพียงครั้งเดียว เราเรียกการแบ่งเซลล์ที่เกิดขึ้น 2 ครั้งนี้ว่า ไมโอซีส I และ ไมโอซีส II ในการแบ่งเซลล์แต่ละครั้งนี้ก็จะประกอบด้วยระยะย่อยๆ เช่นเดียวกับการแบ่ง แบบไมโทซีส กล่าวคือประกอบด้วยระยะอินเตอร์เฟส โพรเฟส เมทาเฟส แอนาเฟส และ เทโลเฟส และเนื่องจากมีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้น 2 ครั้งต่อหนึ่งรอบของการแบ่งแบบไมโอซีส จึงเป็นผลให้ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ จากเซลล์เริ่มต้น 1 เซลล์ (ในขณะที่ไมโทซีสจะได้เซลล์ ใหม่ 2 เซลล์ จากเซลล์เริ่มต้น 1 เซลล์) เซลล์ใหม่ทั้ง 4 เซลล์นี้จะมีจำนวนชุดของโครโมโซม เป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์เริ่มต้น |
|||
รูปที่ 1.27 รอบของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส |
|||