ทฤษฎีวิวัฒนาการ คือแนวคิดของนักวิทยาศาสตร์
ที่พยายามจะอธิบายว่าวิวัฒนาการ
มีจริงและเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยหลักฐานทางด้านต่างๆ ประกอบและยืนยัน
แนวโน้มของวิวัฒนาการมีดังนี้
1. เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไปข้างหน้าไม่ย้อนกลับ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากแบบง่ายๆ
เป็นซับซ้อน จากแบบโบราณเป็นแบบก้าวหน้า และจากแบบทั่วไปเป็นแบบจำเพาะเจาะจง
เช่น การลดจํานวนของกระดูกก้นกบ หรือการเชื่อมของกลีบดอกเป็นต้น
2. ลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมจะถูกกำจัด หรือสูญหายไป
รูปที่
6.17 ลามาร์ค
(ที่มา
: http://home.tiscalinet.chbio/
grafien/images/Lamarck)
ทฤษฎีของลามาร์ค
ชอง ลามาร์ค (Jean Lamarck) นักวิวัฒนาการชาวฝรั่งเศสได้เสนอความคิดใน
เรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตไว้เป็น 2 ข้อ คือ
1. กฎแห่งการใช้ และไม่ใช้ (law of use and disuse) มีใจความสําคัญว่า ลักษณะ
ของสิ่งมีชีวิตผันแปรได้ตามสภาพแวดล้อม อวัยวะใดที่ใช้อยู่บ่อยๆ ย่อมขยายใหญ่ขึ้น
ส่วนอวัยวะใดที่ไม่ได้ใช้จะค่อยๆ ลดขนาด อ่อนแอลงและหายไปในที่สุด
2. กฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (law of inheritance of acquired
characteristics) มีใจความว่า ลักษณะที่ได้มาใหม่ หรือเสียไปโดยอิทธิพลของสิ่ง
แวดล้อมโดยการใช้ และไม่ใช้จะคงอย ูู่่และสามารถถ่ายทอดลักษณะที่เกิดใหม่นี้ไปสู่รุ่น
ลูกรุ่นหลานต่อไปได้
ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตที่ลามาร์ค ยกมาอ้างอิง ได้แก่
๐ พวกนกน้ำ โดยกล่าวว่านกที่หากินบนบกจะไม่มีแผ่นพังผืดหนังต่อระหว่างนิ้วเท้าส่วนนก
ที่หากินในนํ้ามีความต้องการใช้เท้าโบกพัดนํ้าสําหรับการเคลื่อนที่ ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า
จึงขยายออกต่อกันเป็นแผ่น และลักษณะนี้ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลานได้
รูปที่
6.18 เปรียบลักษณะเท้าของนกที่หากินบนบกและในน้ำ
(ที่มา
: http://wings.av/kids.com)
๐ ยีราฟซึ่งในปัจจุบันมีคอยาว ลามาร์คได้อธิบายว่า ยีราฟในอดีตคอสั้นกว่าปัจจุบัน
(จากหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์) แต่ได้มีการฝึกฝนยืดคอเพื่อพยายามกินใบไม้จาก
ที่สูงๆ ทําให้คอยาวขึ้น การที่ต้องเขย่งเท้ายืดคอทําให้ยีราฟมีขายาวขึ้นด้วย
ลักษณะที่มี
ีคอยาวขึ้นและขายาวขึ้นนี้ถ่ายทอดมาสู่ยีราฟรุ่นต่อมา
รูปที่ 6.19 วิวัฒนาการของยีราฟคอยาวตามทฤษฎีของลาร์มาร์ค
(
ที่มา : http://necsi.org/projects/evolution
)
๐ สัตว์พวกงู ซึ่งไม่มีขาปรากฏให้เห็น แต่จากโครงกระดูกยังมีซากขาเหลือติดอยู่
ซึ่งลามาร์ค
อธิบายว่างูอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นพงหญ้ารกทึบ การเลื้อยไปทําให้ลําตัวยาว
ส่วนขา
ไม่ได้ใช้จึงค่อยๆ ลดขนาดเล็กลงและหายไป ลักษณะนี้ถ่ายทอดไปได้งูรุ่นต่อๆ
มาจึงไม่มีขา
(ที่มา :
http://www.geocities.comhartwig_
dellmour)
|
(ที่มา: http://www.sciencemuseum.org.uk) |
รูปที่ 6.20 การหดหายของขางูตามทฤษฎีของลามาร์ค
การทดลองเพื่อสนับสนุนความคิดของลามาร์คในเรื่องของกฎแห่งการใช้
และไม่ใช้้นั้น
พอจะมีตัวอย่างสนับสนุนได้ เช่น การฝึกฝนกล้ามเนื้อจะทําให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่โต
ขึ้นมาได้ เช่น นักกล้าม นักเพาะกาย นักกีฬาประเภทต่างๆ แต่สําหรับกฎแห่งการถ่าย
ทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ยังไม่มีการทดลองใดสนับสนุน
ออกัส ไวส์มาน (August Weisman ; 2377 2457) ได้เสนอความคิดค้านทฤษฎีของ
ลามาร์คโดยกล่าวว่าลักษณะที่ถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้นั้นจะต้องเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์
มิใช่จากเซลล์ร่างกาย เขาได้ทดลองตัดหางหนูตัวผู้ ตัวเมียแล้วให้ผสมพันธุ์กัน
ปรากฎว่า
ลูกหลานออกมามีหาง การทดลองนี้ทําติดต่อกันถึง 20 รุ่น หนูในรุ่นที่ 21
ก็ยังคงมีหางอยู่
ู่ไวส์มานอธิบายว่า เนื่องจากลักษณะที่ตัดหางหนูออกนั้นเป็นการกระทำต่อเซลล์ร่างกาย
แต่่เซลล์สืบพันธุ์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะหางยาวซึ่งจะถูกถ่ายทอดโดยเซลล์สืบพันธุ์
ยังคงอยู่
รูปที่ 6.21 ชาร์ลส์
ดาร์วิน
(
ที่มา: http://www.rbgkew.org.ukheritage/
peopleimages/Darwin)
ทฤษฎีของ
ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin) ชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นนักธรรมชาติวิทยา
ได้เดินทางไปกับเรือสํารวจบีเกิลของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเดินทางไปสํารวจและทําแผนที่
ี่ของฝั่งของทะเลทวีปอเมริกาใต้ ดาร์วินได้ประสบการณ์จากการศึกษาพืชและสัตว์ที่มีอยู่
ู่เฉพาะที่หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos) แห่งเดียวในโลกดาร์วินได้สังเกตนกกระจอก
ที่อยู่บริเวณหมู่เกาะกาลาปากอสและนกฟินช์ (finch) หลายชนิด พบว่าแต่ละชนิดมีขนาด
และรูปร่างของจงอยปากแตกต่างกันตามความเหมาะสมแก่การที่จะใช้กินอาหารแต่ละ
ประเภท นกฟินช์ มีลักษณะคล้ายนกกระจอกมาก แตกต่างกันเฉพาะลักษณะของจงอยปาก
เท่านั้น ดาร์วินเชื่อว่าบรรพบุรุษของนกฟินช์บนเกาะกาลาปากอสน่าจะสืบเชื้อสายมาจากนก
ฟินช์ บนแผ่นดินใหญ่ แต่่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทําให้หมู่เกาะนี้แยกจาก
แผ่นดินใหญ่และเกิดการแปรผันทางพันธุกรรมของบรรพบุรุษนกฟินช์มาเป็นเวลานาน
จน
เกิดวิวัฒนาการเป็นสปีชีส์์ใหม่ขึ้น
รูปที่
6.22 นกฟินช์ชนิดต่างๆบนหมู่เกาะกาลาปากอส
(ที่มา
:http://www.tecmalta.org/gen/finches )
หมายเหตุ
: หมู่เกาะกาลาปากอสเกิดจากภูเขาไฟระเบิดในมหาสมุทรแปซิฟิก
ห่างจากประเทศอิกัวดอร์ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 580 ไมล์ จากหลักฐานทาง
ธรณีวิทยาแสดงว่า เกาะนี้แยกตัวมาจากทวีปอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีเต่ายักษ์ 3 สปีชีส์ ที่อาศัยอยู่บนหมู่เกาะกาลาปากอสต่างเกาะกัน
สปีชีส์ที่มี
ีคอยาวจะอยู่ในที่แห้งแล้งและอาศัยพืชตระกูลกระบองเพชรเป็นอาหาร ส่วนสปีชีส์ที่มีคอสั้น
จะอาศัยอยู่ในที่ชุ่มชื้นและกินพืชผักที่ขึ้นอยู่กับพื้นดินเป็นอาหาร
รูปที่
6.23 เต่ายักษ์บนหมู่เกาะกาลาปากอส
(ที่มา:
http://www.schundler.com/galapagos/turtle.jpg)
ในปี ค.ศ.1859 ดาร์วิน และ วอลเลช (Alfred Russel
Wallace) ได้เสนอทฤษฎีการเกิด
สปีชีส์ใหม่อันเนื่องมาจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ทฤษฎีีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(theory of natural selection) มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันย่อมแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย
เรียกว่า variation
2. สิ่งมีชีวิตมีลูกหลานจํานวนมากตามลําดับเรขาคณิตแต่ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็มีจํานวน
เกือบคงที่เพราะมีจํานวนหนึ่งตายไป
3. สิ่งมีชีวิตจําเป็นต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด (struggle of existence)
โดยลักษณะ
ที่แปรผันบางลักษณะที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ย่อมดํารงชีวิตอยู่ได้้และสืบพันธุ์ถ่ายทอด
ไปยังลูกหลาน
4. สิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดเท่านั้นที่อยู่รอด ( survival the fittest
) และดํารงเผ่าพันธุ์
ของตนไว้ และทําให้เกิดการคัดเลือกตามธรรมชาติเกิดความแตกต่างไปจากสปีชีส์เดิม
มากขึ้นจนเกิดสปีชีส์ใหม่ สิ่งมีชีวิตที่จะอยู่รอดไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งมีชีวิตที่แข็งแรงที่สุด
แต่เป็นสิ่งมีีชีวิตที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมมากที่สุด ในกรณียีราฟคอยาวนั้น
อธิบาย
ตามทฤษฎีของดาร์วิน ได้ว่ายีราฟมีบรรพบุรุษที่คอสั้นแต่ เกิดมี variation
ที่มีคอยาวขึ้น
ซึ่งสามารถหาอาหารพวกใบไม้ได้ดีกว่าตัวพวกคอสั้นและถ่ายทอดลักษณะคอยาวไปให้ลูก
หลานได้ ส่วนพวกคอสั้นหาอาหารได้ไม่ดี หรือแย่งอาหารสู้พวกคอยาวไม่ได้
ในที่สุดก็จะ
ตายไป จึงทําให้ในปัจจุบันมแต่ียีราฟคอยาวเท่านั้น
รูปที่
6.24 ภาพแสดงทฤษฎีการวิวัฒนาการของยีราฟของ ดาร์วิน
ด้วยวิธีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(ที่มา
: http://www.tparents.org )
ดาร์วินได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาวิวัฒนาการ
ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติของดาร์วิน
ดังนี้คือ ความแปรผันที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็ตามย่อมมีส่วนช่วยให้สิ่งมีชีวิต
สามารถดํารงชีวิตได้ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนความแปรผันที่ไม่เหมาะสมทําให้สิ่งมีชีวิตถูก
กําจัดไป ด้วยเหตุนี้เมื่อเวลาล่วงเลยไปนานขึ้น ลักษณะที่เหมาะสมก็จะสะสมไปนานขึ้นเกิด
สิ่งมีชีวิตแตกต่างจากเดิมมากมายจนในที่สุดก็เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่
ดังแสดงในรูปที่
6.25
ความสามารถในการแพร่พันธุ์
(reproductive ability) |
|
|
ข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อม
(environmental restriction)
|
|
|
|
|
การต่อสู้เพื่อความ
อยู่รอด (struggle for existence) |
|
|
การแปรผันของพันธุกรรม
(heritable variations)
|
|
|
|
|
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
(natural selection)
|
|
|
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม (environmental
changes)
|
|
|
|
|
รูปที่ 6.25 แสดงแผนภูมิแสดงแนวความคิดหลักตามทฤษฎีการคัดเลือก
โดยธรรมชาติของชาร์ล ดาร์วิน และวอลเลช