เมื่อพิจารณาโครงสร้างอะตอมของธาตุซึ่งมีจำนวนอิเล็กตรอนมากกว่า
1 อิเล็กตรอน การจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนที่เพิ่มเข้าไปต้องอาศัยหลักการดังต่อไปนี้
เข้าไปช่วยอธิบายเพราะการแก้สมการชเรอดิงเงอร์ทำได้ยาก
หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอน
1. หลักการกีดกันของเพาลี
(Pauli Exclusion Principle)
2. กฎของฮุนด์
(Hunds Rule)
3. หลักเอาฟเบา
(Aufbau principle)
สัญลักษณ์ที่ใช้ในการจัดเรียงอิเล็กตรอน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนเขียนแทนด้วยแผนภาพออร์บิทัล เช่น ธาตุ He มี
2 อิเล็กตรอน เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 1s2 อ่านว่า หนึ่งเอสสอง
ช่องสี่เหลี่ยมแทนออร์บิทัล โดยแต่ละออร์บิทัลบรรจุได้ 2 อิเล็กตรอน
จะเห็นว่า ใน 1 ออร์บิทัลมีอิเล็กตรอน 2 ตัว เพื่อที่จะให้อิเล็กตรอนสองตัวต่างกันจึงกำหนดเลขควอนตัมสปินจากภาพด้านบนนี้อิเล็กตรอนตัวที่
1 สปินขึ้น ส่วนตัวที่ 2 สปินลง
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุที่ไม่มีประจุ
ตัวอย่าง การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุนิเกิล (Ni)
ซึ่งเป็นธาตุที่พบในทองเหลือง สัญลักษณ์ของธาตุคือ
จากสัญลักษณ์ของธาตุ พบว่า Ni มีอิเล็กตรอน 28 ตัว จัดเรียงอิเล็กตรอนได้ดังนี้
1. จัดตามแผนผังการจัดเรียงอิเล็กตรอน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ
Ni ซึ่งมี 28 อิเล็กตรอน เขียนได้เป็น 1s2 2s2
2p6 3s2 3p6 4s2 3d8
2. จัดเรียงตามระดับพลังงาน
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Ni ซึ่งมี 28 อิเล็กตรอน เขียนได้เป็น 1s2
2s2 2p6 3s2 3p6 4s2
3d8
จากการจัดเรียงอิเล็กตรอนของ Ni จะสังเกตเห็นว่า Ni มีอิเล็กตรอนเดี่ยวใน
3d ออร์บิทัล ทำให้มีสมบัติทางแม่เหล็กเป็น paramagnetic คือ
สารที่แม่เหล็กดูด
บางธาตุมีสมบัติทางแม่เหล็กเป็น diamagnetic เช่น ธาตุนีออน(Ne) มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น
1s2 2s2 2p6
1s2 2s2 2p6
จะเห็นว่าอิเล็กตรอนของ
Ne จับคู่กันหมด จึงมีสมบัติทางแม่เหล็กเป็น diamagnetic ซึ่งจะถูกแม่เหล็กผลักเล็กน้อย
3.
จัดโดยอาศัยตารางธาตุ
ธาตุในคาบที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 มีค่า n = 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ตามลำดับ
ธาตุในหมู่ IA และ IIA อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายอยู่ใน s ออร์บิทัล
ธาตุในหมู่ IIIA ถึง VIIIA อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายอยู่ใน
p ออร์บิทัล
ธาตุทรานสิชัน(transition) อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายอยู่ใน
d ออร์บิทัล
ธาตุทรานสิชันชั้นใน(inner transition) อิเล็กตรอนตัวสุดท้ายอยู่ใน
f ออร์บิทัล
จำนวนอิเล็กตรอนคือลำดับของธาตุนั้นในกลุ่มออร์บิทัลว่าอยู่ธาตุที่เท่าใดนับจากซ้ายไปขวา
การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุในตารางธาตุ
ถ้าต้องการทราบการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุใดให้คลิก(click) ที่ธาตุนั้น
จากแผนภาพการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุต่าง ๆ จะเห็นว่า
จากเลขควอนตัมแม่เหล็ก(ml ) เราทราบจำนวนออร์บิทัลใน s,
p, d, f ว่ามี 1, 3, 5 และ 7 ออร์บิทัล ตามลำดับ
การบรรจุอิเล็กตรอนให้จัดเรียงในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำก่อน ตามหลักเอาฟบาว
การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่มีพลังงานเท่ากัน ให้จัดเรียงอิเล็กตรอนเดี่ยวในออร์บิทัลให้เต็มก่อน
ตามหลักของฮุนด์
จะสังเกตเห็นว่า ธาตุในคอลัมน์เดียวกันจะมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน(อิเล็กตรอนวงนอกสุด)เท่ากัน
เช่น
O
[He] 2s2 2p4
S
[He] 3s2 3p4
ทำให้ธาตุ O กับ S มีสมบัติทางเคมีส่วนใหญ่คล้ายกัน มีส่วนที่ต่างกันเล็กน้อย
เพราะอิเล็กตรอนวงนอกสุดของ O อยู่ในระดับพลังงานที่ 2 แต่ของ S อยู่ในระดับพลังงานที่
3
วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออนของธาตุ
1. จัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุหลัก
เช่น Ni จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s2
2s2 2p6 3s2 3p6 4s2
3d9
2. ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุบวก คือ เสียอิเล็กตรอนไปเท่ากับจำนวนประจุ
เช่น Li+ เสีย 1 อิเล็กตรอน, Ni2+
เสีย 2 อิเล็กตรอน เป็นต้น โดยอิเล็กตรอนที่เสียไป คือ อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานสูงสุด
Ni : 1s2
2s2 2p6 3s2 3p6 4s2
3d8
Ni2+ : 1s2
2s2 2p6 3s2 3p6 3d8
3. ถ้าไอออนของธาตุนั้นมีประจุลบ
คือ รับอิเล็กตรอนมาเท่ากับจำนวนประจุ เช่น Cl- รับ 1 อิเล็กตรอน,
O2- รับ 2 อิเล็กตรอน เป็นต้น
Cl : 1s2
2s2 2p6 3s2 3p5
Cl- : 1s2
2s2 2p6 3s2 3p6