|
ไฮบริไดเซซัน
(hybridization)
ไฮบริไดเซซัน
คือ ปรากฎการณ์ที่ออร์บิทัลในอะตอมเดียวกัน
ที่มีระดับพลังงานใกล้เคียงกันเกิดการรวมกันเกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัล
(hybrid orbital) ซึ่งแต่ละไฮบริดออร์บิทัลจะครอบครองพื้นที่เท่ากัน
และอยู่ห่างกันมากที่สุดเพื่อทำให้พลังงานรวมของออร์บิทัลมีพลังงานน้อยที่สุด
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เกิดไฮบริดออร์บิทัลมีรูปร่างต่างๆกันไป
และพลังงานรวมของไฮบริดออร์บิทัลน้อยกว่าผลรวมพลังงานทั้งหมด
ของออร์บิทัลอะตอมก่อนการเกิด
ไฮบริไดเซซัน ประเภทของไฮบริดออร์บิทัล
1. sp-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง
s และ p ออร์บิทัลอย่างละหนึ่งออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลป็นเส้นตรงดังรูป
|
|
ตัวอย่างของ sp-ไฮบริดออร์บิทัล
เช่น BeCl2, C2H2
BeCl2
|
|
จากแผนผังจะเห็นว่า Be ไม่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวที่สามารถนำไปใช้ในการสร้างพันธะร่วมกับอะตอมของ
Cl ได้เลย ดังนั้น จึงเกิดไฮบริไดเซซันเกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัลใหม่ที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวสองตัว
ดังนั้นสองอะตอมของ Cl จึงสามารถ เข้ามาสร้างพันธะเป็นโมเลกุล
BeCl2 ดังรูป |
|
C2H2 |
|
C2H2 ;
จะเห็นว่าเกิดไฮบริไดเซซันระหว่าง
2s สองออร์บิทัลกับ p ออร์บิทัลหนึ่งออร์บิทัลได้เป็น
sp- ไฮบริดออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนเดี่ยวสองตัว
ตัวหนึ่งเกิด พันธะซิกมากับ H และอีกตัวเกิด
พันธะซิกมากับ คาร์บอนอีกตัว ส่วน p-ออร์บิทัลเกิดพันธะไพกับคาร์บอนอะตอมอีกตัวได้เป็นโมเลกุลเส้นตรงดังรูป
|
|
|
2.
sp 2-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง
s 1ออร์บิทัลและ p 2 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลป็นสามเหลี่ยมแบนราบดังรูป
|
|
ตัวอย่างของ sp2-ไฮบริดออร์บิทัล
เช่น C2H4, BF3
|
BF3 |
|
อะตอมของ B เกิดการไฮบริไดเซซันระหว่าง s 1ออร์บิทัลและ
p 2ออร์บิทัลได้ sp2-ไฮบริดออร์บิทัล
ที่มีอิเล็กตรอนเดี่ยวสามตัว ดังนั้นจึงสามารถสร้างพันธะกับ
F ทั้งสามอะตอมได้ ดังรูป |
|
C2H4 |
|
C2H4 ;
จะเห็นว่าเกิดไฮบริไดเซซันระหว่าง
2s กับ pสองออร์บิทัลได้เป็น sp2-
ไฮบริดออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนเดี่ยวสามตัว โดยสองตัวเกิด
พันธะซิกมากับ H และอีกตัวเกิด พันธะซิกมากับ
คาร์บอนอีกตัว ส่วน p-ออร์บิทัลเกิดพันธะไพกับคาร์บอนอะตอมอีกตัวได้เป็นโมเลกุลดังรูป
|
|
|
3.sp3-ไฮบริดออร์บิทัล เกิดจากการรวมกันระหว่าง
s 1ออร์บิทัลและ p 3 ออร์บิทัลได้ไฮบริดออร์บิทัลป็นรูปทรงสี่หน้าดังรูป |
|