ทฤษฎีการผลักคู่อิเล็กตรอนในวงเวเลนซ์ (valence shell electron pair repulsion theory ; VSEPR)
       VSEPR ช่วยเสริมทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ ซึ่งใช้ทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ในกรณีที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (อิเล็กตรอนที่ไม่ได้ใช้สร้างพันธะ) เหลืออยู่ในโมเลกุล สามารถเขียนสูตรได้เป็น AXmEn เมื่อ A เป็นอะตอมกลาง X เป็นอะตอมหรือหมู่อะตอมที่ยึดอยู่กับ A โดยใช้พันธะโคเวเลนต์ E เป็นสัญลักษณ์แทน คู่อิเล็กตรอนที่ไม่ใช้สร้างพันธะ m เป็นจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ใช้สร้างพันธะ และ n เป็นจำนวนคู่อิเล็กตรอนที่ไม่ใช้สร้างพันธะหรือ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว  รูปร่างโมเลกุลที่เกิดจากการผลักของอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว         ทฤษฎีนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะพยายามอธิบายรูปร่างของโมเลกุลซึ่งทฤษฎี้นี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วจริงๆ โดยอาศัยเทคนิคทาง electron- diffraction

เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎีพันธะแล้วสรุปได้ดังรูปภาพข้างล่าง

    หมายเหตสีแดง = อะตอมกลาง
                     สีน้ำเงิน = อะตอมกลาง
                     สีเขียว = อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว



สรุปรูปร่างโมเลกุลและไอออนที่ไม่มีและมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้ดังตาราง

สรุปรูปร่างโมเลกุลและไอออนที่ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
สูตร
จำนวนพันธะ
รูปร่างของโมเลกุล
ตัวอย่าง
AX2
2
เส้นตรง  (linear)
HgCl2, BeCl2
AX3
3
สามเหลี่ยมแบนราบ  (trigonal planar)
BCl3, BF3, GaI3
AX4
4
ทรงสี่หน้า  (tetrahedral)
CH4, CHCl3, SnCl4
AX5
5
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม  (trigonal bipyramidal)
PCl5, PF5, PF3Cl2
AX6
6
ทรงแปดหน้า  (octahedral)
SF6


สรุปรูปร่างโมเลกุลและไอออนที่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้ดังตาราง
สูตร

จำนวนคู่
อิเล็กตรอนโดดเดี่ยว

รูปทรงที่ได้จากไฮบริดออร์บิทัล
รูปร่างของโมเลกุล
ตัวอย่าง
AX2E
1
สามเหลี่ยม
รูป V
SnCl2, SO2
AX3E
1
ทรงสี่หน้า
พีระมิดฐานสามเหลี่ยม
NH3, PCl3
AX4E
1
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
กระดานหก
SF4, TeCl4
AX5E
1
ทรงแปดหน้า
พีระมิดฐานจตุรัส
BrF3, IF5
AX2E2
2
ทรงสี่หน้า
รูป V
H2O, SCl2
AX3E2
2
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
รูป T
BrF3, ClF3
AX4E2
2
ทรงแปดหน้า
จัตุรัสระนาบ
XeF4, ICl4-
AX2E3
3
คู่พีระมิดร่วมฐานสามเหลี่ยม
เส้นตรง
I3-, XeF2