|
พันธะไฮโดรเจน
คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลสองโมเลกุล
ซึ่งแต่ละโมเลกุลนั้นประกอบด้วยอะตอมของไฮโดรเจนสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
(en) สูงมากๆ เช่น F, O และ N ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีประมาณ
3.98, 3.44 และ 3.04 ตามลำดับ |
|
เช่น
การเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างอะตอม ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน แสดงได้ดังรูป
|
|
|
ในกรณีของน้ำโมเลกุลแต่ละโมเลกุลของน้ำอาจเกิดพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลของน้ำข้างเคียงอีกสี่อะตอม
(ดังรูป) |
โครงสร้างของน้ำที่เป็นของเหลว
เกิดจากโมเลกุลของน้ำหลายๆโมเลกุลยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจน แต่ว่ายังไม่ค่อยเป็นระเบียบนักเนื่องจากโครงสร้างของน้ำมีส่วนหนึ่งดึงดูดกันอยู่ด้วยแรงขั้วคู่-ขั้วคู่
และ การสร้างและสลายพันธะไฮโดรเจนตลอดเวลา โครงสร้างของน้ำ (ของเหลว)
แสดงได้ดังรูป |
|
http://www.nyu.edu/pages/mathmol/textbook/info_water.html |
ในกรณีของ น้ำแข็ง
โมเลกุลของน้ำแต่ละโมเลกุลสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลอื่นๆอีก
4 โมเลกุลเช่นเดียวกัน แต่มีความเป็นระเบียบมากกว่า โดยระยะห่างระหว่างออกซิเจนของโมเลกุลของตัวมันเองกับโมเลกุลใกล้เคียงมีค่าประมาณ
2.76 อังสตรอม (Ao) ผลึกของน้ำแข็งมีได้หลายรูป
แต่รูปที่พบในธรรมชาติ คือ hexagonal
|
|
|
www.ill.fr/dif/
3D-gallery.html
|
เพื่อความเข้าใจมากขึ้นขออธิบายพันธะไฮโดรเจนผ่านกระบวนการการเกิดเป็นน้ำแข็งของน้ำ
ซึ่งจะช่วยให้แยกแยะระหว่างพันธะโคเวเลนต์กับพันธะไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี
|
น้ำ
1 โมเลกุลประกอบด้วย |
ไฮโดรเจน 2 อะตอม
|
ออกซิเจน
1 อะตอม |
ออกซิเจนซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ
6 ดังนั้นเมื่อใช้อิเล็กตรอนไป 2 ตัวเพื่อเกิดพันธะโคเวเลนต์กับ
H สองอะตอม (อะตอมละ 1 อิเล็กตรอน) จึงเหลือ 4 อิเล็กตรอนหรือมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
2 คู่ ดังรูป
|
|
การเกิดพันธะไฮโดรเจนในกรณีนี้เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างอะตอมของ
H ซึ่งมีประจุบวก กับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวซึ่งมีประจุลบ ดังรูป |
|
ดังนั้นน้ำแข็งจึงเกิดจากโมเลกุลของน้ำหลายๆโมเลกุลเชื่อมกัน
หรืออาจกล่าวได้ว่าอะตอมของ O เชื่อมกันโดยอาศัยพันธะโคเวเลนต์และพันธะไฮโดรเจนร่วมกัน
โดย 1 อะตอมของออกซิเจนจะเชื่อมกับอีก 4 อะตอมของออกซิเจน ดังรูป |
|
เกิดเป็นผลึกของน้ำแข็งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายเพชร ดังรูป
|
|
มองจากด้านหน้า
(front view)
|
|
|
เพื่อที่จะสามารถมองและเข้าใจเกี่ยวกับพันธะไฮโดรเจนได้กว้างขึ้น
ให้นักเรียนลองพิจารณาพันธะไฮโดรเจนใน DNA (deoxyribonucleic
acid) ; เป็นที่รู้กันว่าโครงสร้างของ DNA ประกอบด้วยสามส่วนที่สำคัญ
คือ หมู่ฟอสเฟต น้ำตาล และ เบส ซึ่ง เบส
ที่พบใน DNA มี 4 ชนิด คือ Adenine(A), Thymine(T),
Guanine(G), Cytosine(C) ต่อกันเป็นสายยาวแบบเกลียวคู่
(double helix) โดยเบสที่เข้าคู่จะมีความจำเพาะ นั่นคือโดยทั่วไปแล้ว
เบส A จะเข้าคู่กับ T และ C จะเข้าคู่กับ G ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหละ
?
ถ้าอยากรู้ลองพิจารณาจากรูปครับ
|
|
จากรูปจะเห็นว่าการที่
เบส A เข้าคู่กับ เบส T และเบส C เข้าคู่กับเบส G ทำให้รูปร่างของคู่เบสในสามมิติ
คล้ายคลึงกันมาก ทำให้ DNA มีรูปร่างเป็นเกลียวคู่สม่ำเสมอมากทีเดียว
จากรูปเป็นการจับคู่เบสตามแนวคิดของ Watson-Crick ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง
เมื่อพิจารณาการเกิดพันธะไฮโดรเจนจะเห็นว่า
Adenine สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับ Thymine ได้ สองพันธะ
และ Cytosine สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับ Guanine ได้ สาม
พันธะพอดี ซึ่งพันธะไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นถึงแม้จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า
พันธะโคเวเลนต์ แต่อย่างไรก็ตามในโมเลกุลของ DNA มีจำนวนพันธะไฮโดรเจนเกิดขึ้นมากมาย
ดังนั้นจึงเสริมแรงกันและ ทำให้โมเลกุลของ DNA ที่เป็น double
helix มีความเสถียร นอกจากนี้ถ้าเปรียบเทียบความแข็งแรงของแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง
คู่เบส A-T และ C-G จะเห็นว่า C-G มีความแข็งแรงมากกว่าเพราะมีพันธะไฮโดรเจนมากกว่า
(เบส C สร้างพันธะไฮโดรเจนกับ G สามพันธะ ในขณะที่ เบส A
สร้างพันธะไฮโดรเจนกับ T สองพันธะ
|
|