การเร่งปฏิกิริยาที่สารตั้งต้นและตัวเร่งมีวัฏภาคต่างกัน เรียกว่า การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ (heterogeneous catalysis) ปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ส่วนใหญ่นิยมใช้ตัวเร่งที่เป็นของแข็งในการเร่งปฏิกิริยาที่มีสารตั้งต้นที่อยู่ในวัฏภาคแก๊สหรือของเหลว ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากันที่ผิวของตัว

         ปฏิกิริยาที่สำคัญ ๆ ในอุตสาหกรรมผลิตสารเคมีจะใช้การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ เช่น การสังเคราะห์แอมโมเนีย การผลิตกรดไนตริก และการผลิตตัวเร่งกำจัดไอเสีย (catalytic converter) เป็นต้น

         ในที่นี้จะยกตัวอย่างสองตัวอย่าง ดังนี้

  1. การสังเคราะห์แอมโมเนีย
  2. การสังเคราะห์กรดไนตริก

 

1. การสังเคราะห์แอมโมเนีย

         แอมโมเนียเป็นสารสำคัญชนิดหนึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยเคมี การผลิตวัตถุระเบิด และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งสารตั้งต้นที่ใช้ในการสังเคราะห์แอมโมเนีย ก็คือ แก๊สไนโตรเจน (ที่มีมากถึง 78 % ในอากาศ) และแก๊สไฮโดรเจน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ (by product) จากการกลั่นปิโตรเลียม และสามารถเตรียมได้ง่าย ๆ จากการผ่านไอน้ำไปบนถ่านหินที่เผาจนร้อนจัด ดังสมการ

         เมื่อ N2 ทำปฏิกิริยากับ H2 จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อนและได้ NH3 เป็นผลิตภัณฑ์

         ปฏิกิริยานี้จะเกิดได้ช้ามากที่อุณหภูมิห้อง ถ้าเพิ่มอุณหภูมิให้สูงมากขึ้น อัตราการเกิดปฏิกิริยาก็จะสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน แก๊ส NH3 ที่ได้ก็จะสลายตัวเป็น N2 และ H2 ได้เร็วขึ้นด้วย ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัวเร่งปฏิกิริยาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการสังเคราะห์

การสังเคราะห์แอมโมเนียด้วยกระบวนการฮาเบอร์

         แอมโมเนียสามารถเตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่าง N2 และ H2 โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเป็นเหล็กผสมกับโพแทสเซียมออกไซด์และอะลูมิเนียมออกไซด์ปริมาณเล็กน้อย และทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ 500 oC ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า กระบวนการฮาเบอร์ (Haber process)

         ขั้นแรก โมเลกุลของ N2 และ H2 จะแตกตัวเป็นอะตอมบนผิวของโลหะ โดยอะตอมนี้จะสร้างพันธะยึดกับผิวของโลหะ ถึงแม้ว่าโมเลกุลของ N2 และ H2 จะมีสมบัติแตกต่างกันมากเมื่ออยู่บนผิวของโลหะตัวเร่ง (โดย N2 จะแตกตัวเป็นอะตอม N ได้ที่อุณหภูมิสูง แต่ H2 จะสามารถแตกตัวเป็นอะตอม H ได้แม้จะมีอุณหภูมิต่ำถึง -196 oC) โมเลกุลของสารทั้งสองก็ยังคงว่องไวต่อปฏิกิริยามาก

         ขั้นที่สอง อะตอมของ N และ H รวมตัวกันอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูง เกิดเป็นโมเลกุลแก๊ส NH3 ดังสมการ

ภาพแสดงการสังเคราะห์แอมโมเนียด้วยกระบวนการฮาเบอร์

 

2. การสังเคราะห์กรดไนตริก

            กรดไนตริก (nitric acid, HNO3) เป็นกรดอนินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย สีย้อม และยา นิยมผลิตด้วยกระบวนการออสต์วอลด์ (Ostwald process) คือ การเผาแอมโมเนียกับออกซิเจนที่อุณหภูมิประมาณ 800 oC โดยใช้แพลทินัมและโรเดียมเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ

            ไนตริกออกไซด์ (NO) ถูกออกซิไดซ์โดยไม่มีตัวเร่ง ได้เป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ดังสมการ

            เมื่อนำ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) มาละลายในน้ำ จะได้กรดไนตรัส (HNO2) และกรดไนตริก (HNO3) ดังสมการ

            เมื่อนำสารละลายกรดผสมนี้ไปต้มหรือให้ความร้อน กรดไนตรัส (HNO2) จะถูกออกซิไดซ์เป็นไนตริก (HNO3) ดังสมการ

            แก๊ส NO ที่เกิดขึ้นนี้สามารถนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมกรดไนตริก (ขั้นที่ 1) ได้อีก