Neural
Networks
โครงข่ายใยประสาทเทียม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณโดยใช้วิธีเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปนั้น ทำงานต่างจากสมองของมนุษย์
โดยขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อแก้ปัญหา โดยต้องนิยามลำดับขั้นตอนของการแก้ปัญหา
(algorithm) ไว้ก่อน ซึ่งการทำงานตามโปรแกรมแบบนี้จะใช้หน่วยประมวลผลกลาง
ซึ่งต้องมีการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน และต้องมีส่วนของหน่วยความจำเพื่อเก็บข้อมูลต่าง
ๆ ไว้ในตำแหน่งเฉพาะ แต่โครงข่ายใยประสาทเทียมนั้นกระจายการประมวลผลออกไปสู่โครงข่ายใยประสาท
และประมวลผลแบบขนานคือทำไปพร้อม ๆ กันครั้งเดียว และเก็บสารสนเทศต่าง
ๆ ไว้ในไซแนป
ที่ผ่านมานั้น การวิจัยด้านนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากข้อจำกัดทางด้านฮาร์ดแวร์
แต่ปัจจุบัน สามารถสร้างคอมพิวเตอร์เฉพาะเพื่อทำงานด้านนี้ได้
ได้แก่ Neural Network Processor ทำให้สามารถปะมวลผลข้อมูลโครงข่ายใยประสาทเทียมที่ซับซ้อนได้เร็วมาก
โดยใช้ความสามารถของระบบหลายหน่วยประมวลผล (multiprocessor)
ในการทำงานแบบ Multiple Instruction Multiple Data (MIMD)
แต่ละหน่วยประมวลผลของ โครงข่ายใยประสาทสามารถทำงานได้เทียบเท่าหน่วยประสาทเดี่ยว
8000 หน่วย โดยมีการเชื่อมต่อระหว่างหน่วยประสาทเดี่ยวภาายในหน่วยประมวลผลถึง
32,000 เส้น ความสามารถในการประมวลผลโดยการเชื่อมต่อประสาทเดี่ยวต่าง
ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์สุดท้ายออกมา อยู่ที่ 140 ล้านการเชื่อมต่อ/วินาที
ฉะนั้นหน่วยประมวลผลโครงข่ายใยประสาท 8 ตัว สามารถสร้างการเชื่อมต่อได้มากกว่าพันล้านครั้ง
Letizia
The Computer Avatar
โปรแกรมช่วยค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ เลทิเซีย (Letizia) เป็นโปรแกรมแบบ
agent ซึ่งมีความสามารถเป็นตัวแทนในการกระทำอัตโนมัติ เป็นตัวช่วยใขณะที่ผู้ใช้ท่องไปในเว็บ
โดยติดตามพฤติกรรมการท่องเว็บของผู้ใช้จากโปรแกรมเว็บบราวเซอร์
แล้วพยายามคาดว่าผู้ใช้มีความสนใจด้านใดเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น
มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เขาเริ่มท่องไปในโลกอินเตอร์เน็ตด้วยการเปิดหน้าแรกของเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับเรื่องทั่ว
ๆ ไป เช่น เรื่องปัญญาประดิษฐ์ แล้วเขาสนใจเรื่อง agent
และ็เปิดหน้านั้นนานเป็นพิเศษ และเนื่งจากมีเว็บมากมายที่มีคำว่า
agent ปรากฏอยู่ เขาจึงอาจใช้โปรแกรมค้นหาข้อมูล (search
engine) ค้นหาหน้าที่เกี่ยวกับ agent โดยใส่คำสำคัญ (keyword)
ว่า "agent" เท่านี้ โปรแกรมก็จะอ้างได้ว่าผู้ใช้คนนี้สนใจหัวข้อ
agent
ต่อมาผู้ใช้ได้เปิดเว็บเพจส่วนบุคคลอันหนึ่ง ซึ่งมีรายการงานเขียน
เช่นหนังสือหรือ เอกสารที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของนักเขียนคนนั้น
ผู้ใช้ได้เลือกที่จะเปิดอ่านงานเขียนที่เขาสนใจ โปรแกรมเลทีเซียจะตรวจสอบเว็บนั้นว่างีงานเขียนใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
agent ที่ผู้ใช้สนใจหรือไม่ ถ้ามี โปรแกรมก็จะนำเสนอให้กับผู้ใช้
และสามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเลือกเอกสารนั้น ๆ นำเสนอต่อผู้ใช้
Future
User Interfaces
จากการสั่งงานคอมพิวเตอร์การใช้ command line ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขพิมพ์เป็นคำสั่ง
ก่อนที่ผู้ใช้จะสั่งงานคอมพิวเตอร์ได้นั้น ส่วนติดต่อกับผู้ใช้
(user interface) ต้องถูกกำหนดหน้าที่มาและรูปแบบของคำสั่งที่ระบบคอมพิวเตอร์อนุญาตให้ใช้ได้
หากพิมพ์ไม่ถูกต้อง หรือใส่ข้อมูลผิดพลาดก็จะไม่ทำงานให้
กลายมาเป็นการใช้เมาส์เลือกตำหน่งต่าง ๆ ของจอภาพ การใช้จอสัมผัส
การใช้แท่งควบคุมเหล่านี้อาจกลายเป็นอดีตไป เมื่อแนวโน้มการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานในอนาคตจะเปลี่ยนไปเป็นการสั่งงานแบบธรรมชาติที่มนุษย์ใช้ที่สุด
นั่นคือใช้เสียงสั่ง ซึ่งปัจจุบันนี้มีใช้งานจริงแล้ว
The
3D Graphical User Interface
ี้ส่วนติดต่อกับผู้ใช้สามารถเป็นภาพสามมิติได้ ซึ่งทำให้ดูเสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
เช่นในการเปิดร้านขายของออนไลน์ อาจออกแบบร้านเป็นสามมิติด้วยเทคโนโลยี
VRML ผู้ซื้อสามารถท่องซื้อของในร้านอย่างเสมือนจริงและสามารถพูดคุยทักทายกับผู้ซื้ออื่น
ๆ หมุนดูสินค้าได้อย่างละเอียดทุกมุมก่อนตัดสินใจซื้อ เป็นต้น
Machine Translation
โปรแกรมแปลภาษามีแนวโน้มจะแปลแต่ละภาษาไปหากันและกันให้ได้มากที่สุด
โดยวิธีที่ใช้คือ interlingua นั่นคือสร้างภาษากลางที่เป็นศูนย์กลางขึ้นมาหนึ่งภาษา
ให้ทุกภาษาสามารถแปลไปกลับกับภาษากลางนี้ได้ โดยภาษากลางนี้มีการแทนข้อมูลที่เป็นความหมายที่เป็นกลาง
ไม่ขึ้นต่อกับรูปแบบไวยากร์หรือการแปลของภาษาใด
ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ให้บริการแปลภาษา 6 ภาษาจากแต่ละภาษาไปหากันได้คือ
www.google.com แต่สำหรับภาษาไทย ยังต้องการนักวิจัยระบบแปลภาษาไทยให้มีความถูกต้อง
และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้แปลได้หลายภาษาขึ้นอีก