สื่อส่งข้อมูล (media)

เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ ใช้สัญญาณในการรับส่งข้อมูล สัญญาณเหล่านี้ถูกส่งจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่ง ในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบด้วย กำลังไฟฟ้า เสียง คลื่นวิทยุ แสงอินฟาเรด แสงที่มนุษย์มองเห็น แสงอัลตราไวโอเล็ต รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมาและรังสีคอสมิค ดังรูป

การสื่อสารในปัจจุบันไม่ได้ใช้ทุกส่วนในแถบความถี่ รวมทั้งสื่อส่งข้อมูลที่ใช้ได้ยังมีเพียงไม่กี่ชนิด แถบความถี่ของคลื่นเสียง (ถัดจากคลื่นวิทยุลงไป) มักจะใช้สายทองแดงเป็นสื่อในการส่งผ่าน เช่น สายคู่บิดเกลียว หรือสายโคแอกเชียล ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ก็มักจะใช้สื่อชนิดนี้ ถัดมาก็เป็นคลื่นวิทยุที่มักนำไปใช้เป็นสื่อส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายระยะไกล ส่วนแสงที่มนุษย์มองเห็นก็ถูกนำมาใช้เช่นกันคือถูกนำมาใช้ในสายใยแก้วนำแสง ซึ่งสามารถจำแนกสื่อส่งข้อมูลได้ 2 ลักษณะคือ

1. สื่อส่งข้อมูลแบบใช้สาย
2. สื่อส่งข้อมูลแบบไม่ใช้สาย

*กรณีของเครือข่ายระยะไกล จะมีเครือข่ายโทรศัพท์ ระบบ ISDN เครือข่าย packet switching
ส่วนในกรณีของระบบเครือข่ายแบบ WAN และอินเทอร์เน็ตนั้น มักจะเป็นสายเชื่อมต่อพิเศษที่มีความเร็วสูง หรือไม่ก็ใช้การส่งสัญญาณผ่านระบบไมโครเวฟ และดาวเทียม โดยมีเทคโนโลยีเฉพาะอีกหลายอย่างเช่น ATM (Asynchronous Transfer Mode) Frame Relay เป็นต้น

 
     
   
 



























 





 
     
 
 
<< ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN | ลักษณะของสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูล >>
 
   

Copyright © 2004 Institute for Innovation and Development of Learning Process.  All rights reserved.