|
บางครั้งลักษณะของเนื้อหินสามารถใช้บอกชนิดของหินอย่างคร่าวๆ ได้ แต่ถ้าจะให้ละเอียดก็ต้องศึกษาลึกลงไปถึงการตกผลึกของหินแต่ละชนิดโดยมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากต้องอาศัยการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งลักษณะของเนื้อหินแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน คือ
1. แบบ aphanitic (เนื้อจุณ เนื้อละเอียด) เป็นหินอัคนีที่แข็งตัวบนโลก มีเม็ดเล็กละเอียด (fine-grained) เช่น หินบะซอลต์
2. แบบ phanerritic (เนื้อหยาบ) คือเป็นหินอัคนีที่แข็งตัวใต้โลก จึงมีผลึกแร่ที่หยาบ (coarse-grained) เช่น หินแกรนิต
3. แบบ vesicular (โพรงข่าย) คือ หินที่มีลักษณะเป็นโพรงข่าย เจอในหินอัคนีแทรกซอน พบมากในบริเวณใกล้ปล่องภูเขาไฟ เช่น หินบอมบ์ภูเขาไฟ
4. แบบ glassy (ผลึกแก้ว) คือ ลักษณะของลาวาที่เย็นตัวบนโลกอย่างรวดเร็วจึงมีเนื้อแก้วที่ละเอียดมากไม่เป็นรูปผลึก เช่น ออบซิเดียน
|
หินที่เย็นตัวไว จะเกิดเป็นผลึกที่มีขนาดเล็กหรือเป็นแก้ว แต่ถ้าเย็นตัวช้า จะได้ผลึกที่มีขนาดใหญ่ ดังภาพที่ 3.41
|
|
ภาพที่ 3.41 ขนาดของผลึกที่มีความสัมพันธ์กับการเย็นตัวของหิน
|
หินอัคนีที่เกิดบนผิวโลกทั่วไปมักมีรูพรุนมากจึงมีน้ำหนักน้อย มีเนื้อผลึกที่ละเอียด เรียก aphanitic ซึ่งจะมีแร่เฉพาะที่เล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เช่น หินไดโอไรต์ ที่พบบริเวณเขามัน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ดังภาพที่ 3.42 |
|
ภาพที่ 3.42 หินไดโอไรต์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
|
และในแต่ละ aphanitic จะมีฟองแก๊สของลาวาที่เกิดจากการแข็งตัวดังภาพที่ 3.43 |
|
ภาพที่ 3.43 ลักษณะฟองแก๊สของลาวาที่ปะทุออกมาสัมผัสกับอากาศบนผิวโลก
|
|
หินภูเขาไฟ (volcanic rock) เป็นหินที่เกิดกับบริเวณข้างๆ ปล่องภูเขาไฟ มักมีรูพรุนมาก เรียกเนื้อหินนี้ว่า vesicular texture |
เมื่อหินหลอมเหลวที่อยู่ใต้โลกเคลื่อนที่ขึ้นมาข้างบนผิวโลกเมื่อแข็งตัวเนื้อหินมีผลึกหยาบ (coarse grained) เรียก phaneritic สามารถมองเห็นแร่ด้วยตาเปล่า ยกตัวอย่าง แร่เฟลด์สปาร์ ฮอร์นเบลน และควอซต์ (ภาพที่ 3.44) |
|
ภาพที่ 3.44 ตัวอย่างแร่เฉพาะที่พบในหินอัคนี
|
การเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวาจะได้ผลึกแก้ว (glassy texture) ซึ่งเกิดจากการกระจายตัว หรือไม่มีการเรียงตัวกันของไอออน (ion) ผลึกแก้ว หรือออบซิเดียนจึงไม่มีโครงสร้างผลึกที่แน่นอน (ภาพที่ 3.45)
|
|
ภาพที่ 3.45 ผลึกแก้ว (glassy texture) ที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวา
|