ซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล (fossil) คือ ซาก หรือร่องรอยการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในยุคธรณีกาล เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลง ส่วนที่เป็นเนื้อเยื่อจะผุพังสลายไปคงเหลือแต่ส่วนที่เป็นโครงสร้างแข็งและบางครั้งบางชิ้นส่วนอาจอยู่ไม่ครบ เนื่องจากเกิดการผุพังและพัดพาไปของตะกอนเกิดการทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินซึ่งซากหรือร่องรอยเหล่านี้ได้ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติทำให้ส่วนของอินทรีย์สารของซากเปลี่ยนแปลงไปจากส่วนประกอบเดิมแต่ยังคงรูปลักษณะของโครงสร้างเดิมให้เห็นอยู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ได้แก่

                1. กระบวนการแทรกซึมของแร่ธาตุในรูพรุนของโครงร่างของสิ่งมีชีวิต (permineralization) เช่น แร่ธาตุเข้าไปสะสมตัวอยู่ในช่องว่างของเนื้อกระดูก

                2. กระบวนการที่ซากสิ่งมีชีวิตกลายเป็นหินแข็ง เนื่องจากส่วนประกอบเดิมซึ่งเป็นสารอินทรีย์ถูกแทนที่ด้วยสารละลายซิลิกา หรือสารละลายแคลเซียมคาร์บอเนต การถูกแทนที่จะไม่ทำให้โครงร่างเดิมสูญเสียไป (petrification หรือ petrifaction)

                3. กระบวนการที่ซากสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นสารอินทรีย์ถูกแทนที่ด้วยสารซิลิกาในรูปของแร่ควอตซ์ แร่คาลซิโดนี หรือแร่โอปอล (silicification)

                4. กระบวนการกลายเป็นถ่าน ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์กลายเป็นสารคาร์บอน (carbonization)

                5. ร่องรอยหรือพิมพ์ของสิ่งมีชีวิตที่ประทับไว้หรือฝังตัวอยู่ในชั้นดิน เช่น รอยเท้า รอยทางเดิน รอยหนอน รอยเจาะ รอยชอนไช ซึ่งอยู่ในชั้นตะกอน ต่อมาตะกอนแข็งตัวกลายเป็นหิน ทำให้ร่องรอยนั้นถูกเก็บรักษาในชั้นหิน

 
ภาพที่ 4.1 - 4.4 แสดงการเกิดซากดึกดำบรรพ์

 


ภาพที่ 4.1 เมื่อสัตว์ตายไป

 

 


ภาพที่ 4.2 ตะกอนเริ่มทับถมและมีสารละลายแร่แทรกซึมเข้าไปในโครงร่างของสัตว์และพืชที่ตายไป

 

 


ภาพที่ 4.3 ตะกอนกลายเป็นหินปิดทับซากของสัตว์และพืชที่ตาย

 

 


ภาพที่ 4.4 เมื่อเวลาผ่านไปชั้นหินตะกอนหลายๆ ชั้นถูกยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นภูเขา
เกิดการผุพัง และกัดกร่อนพัดพาเอาผิวของซากดึกดำบรรพ์บางส่วนไป

 

 


ภาพที่ 4.5 ซากดึกดำบรรพ์ของปลาเกล็ดแข็งที่เกล็ดเกิดกระบวนการคาร์บอนไนเซชัน (carbonization)
ทำให้เกล็ดเปลี่ยนสภาพเป็นคราบคาร์บอนสีดำมัน ภาพนี้เป็นฟอสซิล พบที่ ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์

 

 


ภาพที่ 4.6 ซากดึกดำบรรพ์ในอำพัน
ที่มา : http://www.lallybroch.com/LOL/images/amber.jpg

 

 


          ซากดึกดำบรรพ์สามารถพบได้ในหินตะกอน เช่น หินดินดาน หินทราย หรือหินปูน ทั้งที่พบโดยธรรมชาติจากการกัดเซาะของน้ำ ลม เช่นบริเวณที่มีทางน้ำไหล หรือริมชายฝั่งทะเล และในบริเวณที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การขุดเหมือง การก่อสร้างทาง หรือถ้าต้องการค้นหาซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเล ควรหาบริเวณที่มีภูเขาหินปูนเป็นแหล่งสะสมตัวของตะกอนทางเคมีของสารคาร์บอเนตที่เกิดจากโครงสร้างของเปลือกหอย ปะการังและสัตว์ทะเลหลายชนิด ส่วนในหินอัคนีนั้นเนื่องจากเป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวอย่างรวดเร็วของลาวาและแมกมา จึงไม่มีสิ่งมีชีวิตเข้าไปได้ ทำให้ไม่พบซากดึกดำบรรพ์ในหินอัคน

ทำไมจึงพบซากดึกดำบรรพ์ในหินตะกอน หรือหินชั้น จะมีโอกาสพบซากดึกดำบรรพ์ในหินอัคนีหรือไม่ เพราะเหตุใด 

 

 

          ในการสำรวจค้นหาแหล่งซากดึกดำบรรพ์เราควรจะทราบถึงอายุของซากดึกดำบรรพ์นั้นด้วยโดยจะอิงจากตารางทางธรณีกาลหรือเวลาทางธรณีวิทยาดังนี้

         

   ตารางเวลาทางธรณีวิทยา (geologic time scale)

 

 


บรมยุค(Eon)

มหายุค (Era)
ยุค (Period)
สมัย (Epoch)
เวลา (Time) (หน่วยเป็นล้านปี)
 
ฟาเนอโรโซอิก(phanerozoic)
ซีโนโซอิก
(Cenozoic)
นีโอจีน (Neogene)

โฮโลซีน-ปัจจุบัน (Holocene-Recent)

0-0.01

ไพลสโตซีน (Pleistocene)

0.01-1.8
พาลีโอจีน (Paleogene)

ไพลโอซีน (Pliocene)

1.8-5.3

ไมโอซีน (Miocene)

5.3-23

โอลิโกซีน (Oligocene)

23-33.9

อีโอซีน (Eocene)

33.9-55.8

พาลีโอซีน (Paleocene)

55-65.5
มีโซโซอิก (Mesozoic)

ครีเทเชียส (Cretaceous)

65.5-145.5

จูแรสซิก (Jurassic)

145.5-199.6

ไทรแอสซิก (Triassic)

199.6-251
พาลีโอโซอิก (Paleozoic)

เพอร์เมียน (Permian)

251-299

คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)

299-359.2

ดีโวเนียน (Devonian)

359.2-416

ไซลูเรียน (Silurian)

416-443.7

ออร์โดวิเชียน (Ordovician)

443.7-488.3

แคมเบรียน (Cambrian)

488.3-540
พรีแคมเบียน (Precambrian)

โปรเทอโรโซอิก (Proterozoic)

540-2500

อาเคียน (Archean)

2500-3800

ฮาเดียน (Hadean)

3800-4600



          แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย

               - แหล่งซากดึกดำบรรพ์เกาะตะรุเตา อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นบริเวณที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย มีการสะสมตัวตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลายต่อเนื่องจนถึงยุคออร์โดวิเชียนตอนต้น ราว 500-470 ล้านปี บริเวณที่พบได้แก่  อ่าวตะโละโต๊ะโป๊ะ  อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวมะละกา  พบในชั้นหินดินดานและหินทราย  ได้แก่  ไทรโลไบต์   แบรคิโอพอด   สโตรมาโตไลต์   นอติลอย์  และร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์อื่นๆ

 

ภาพที่ 4.7 ไทรโลไบต์ (trilobite) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา (Arthropoda) พวกเดียวกับกุ้ง ปู เนื่องจากลำตัวแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแกนลำตัวและอีก 2 ส่วนด้านข้างลำตัว มีลักษณะคล้ายแมงดาทะเลปัจจุบัน แต่มีขนาดเล็กกว่าตั้งแต่ขนาดไม่กี่มิลลิเมตรจนถึง 90 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในทะเลตื้นและตามแนวปะการัง พบแพร่หลายในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้น และสูญพันธุ์เมื่อปลายยุคเพอร์เมียน

ที่มา : http://www-sst.unil.ch/Musee/
publications/pict/trilobite.jpg
 
ภาพที่ 4.8 แบรคิโอพอด (brachiopod) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมแบรคิโอโพดา (Brachiopoda) ส่วนใหญ่เป็นพวกเกาะติดอยู่กับที่ ตามหินหรือวัตถุที่อยู่บนพื้นทะลบริเวณน้ำตื้น มีลักษณะคล้ายหอยกาบคู่เช่นหอยแครง แต่ต่างกันที่เปลือกทั้ง 2 ฝา มีขนาดไม่เท่ากัน แต่ฝาเดียวกันมีลักษณะสมมาตรด้านซ้ายและขวา เปลือกมีขนาดประมาณ 2-7 เซนติเมตร พบแพร่หลายมากในมหายุคพาลีโอโซอิก

 

 

ที่มา : http://www.eeob.iastate.edu/faculty/DrewesC
/htdocs/brachiopod-diaDV.JPG

 

 

 

ภาพที่ 4.9 นอติลอยด์ (Nautiloid) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลัสกา (Mollusca) หรือสัตว์จำพวกหอยชั้น Cephalopoda กลุ่มเดียวกับปลาหมึกปัจจุบัน พบแพร่หลายในมหายุคพาลีโอโซอิก ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงชนิดเดียว ได้แก่ หอยนอติลุส เป็นสัตว์กินเนื้อลำตัวแบ่งเป็นห้องๆ โดยมีผนังกั้นห้อง ส่วนใหญ่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำให้สามารถพบได้ทั้งบริเวณทะเลตื้นและลึก
ที่มา : http://www.karencarr.com/Images/
Gallery/2004_ gallery_hybodus
_shark_and_nautiloid.jpg
 

 

 

ภาพที่ 4.10 สโตรมาโตไลต์ (stromatolite) คือเนินตะกอนที่เกิดจากการสะสมตัวพอกขึ้นมาเป็นชึ้นๆ โดยแบคทีเรียจำพวกไซยาโนแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก สโตรมาโตรไลต์พบเป็นซากดึกดำบรรพ์มาตั้งแต่ 3,500 ล้านปีก่อน โดยพบในทวีปแอฟริกา และออสเตรเลีย

 

 

 

ที่มา : http://webs.wichita.edu/mschneegurt/biol103
/lecture08/Stromatolite.jpg

 

 

 

 

ภาพที่ 4.11 ร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ์ (trace fossil) คือ ร่องรอยที่เกิดจากการทำกิจกรรมของสัตว์ เช่น รู หรือรอยชอนไชของสัตว์ในดินเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อหาอาหาร สัตว์ต่างชนิดกันจะขุดรูและมีแนวทางการชอนไชเพื่อหาอาหารต่างกัน

ที่มา : http://www.wooster.edu/geology/
Tracefossil1.jpg
 

 

 

               - แหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านป่าเสม็ด อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นบริเวณที่มีซากดึกดำบรรพ์หลากหลายชนิด ได้แก่ แกรปโตไลต์ เทนทาคูไลต์ และ ไทรโลไบต์ อายุราว 400-345 ล้านปี

 

 

ภาพที่ 4.12 แกรปโตไลต์ (graptolite) เป็นสัตว์ทะเลที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายรอยพิมพ์บางๆ อยู่บนหินดินดานสีดำหรือมีรูปร่างคล้ายกิ่งไม้ แกรปโตไลต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนี เนื่องจากพบมากในมหายุคพาลีโอโซอิกตอนต้น ยุคออร์โดวิเชียนถึงดีโวเนียน

 

 

 

ที่มา : http://202.119.49.29/museum/paleontology/images/
graptolite.gif http://www.calacademy.org/research/izg/
My%20Pictures/graptlit.gif

 

 

               - แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาถ่าน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นเขาหินปูนสลับกับหินดินดาน อายุยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนปลายจนถึงยุคเพอร์เมียนตอนต้นราว 300-270 ล้านปี พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ แบรคิโอพอต หอยกาบคู่ ปะการัง ไครนอยด์ ไบรโอซัว ฟองน้ำและร่องรอยสัตว์ดึกดำบรรพ

 

 

ภาพที่ 4.13 หอยกาบคู่ (pelecypod) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ใน ไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) หรือสัตว์จำพวกหอยประกอบด้วยฝาหอย 2 ฝาที่มีขนาดฝาเท่ากันแต่มีด้านซ้ายและขวาของฝาเดียวกันไม่สมมาตรกัน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่พื้นทะเล บริเวณทะเลตื้น พบตั้งแต่ยุคแคมเบียนจนถึงปัจจุบัน

ที่มา : http://www.lakeneosho.org/page57.html