ภาพที่ 4.14 ไบรโอซัว (ฺbryozoa) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมไบรโอซัว (Bryozoa) ชอบอาศัยอยู่เป็นกลุ่มในบริเวณทะเลตื้น น้ำใส แต่พบบ้างในแหล่งน้ำจืด ส่วนใหญ่ยึดติดอยู่กับพื้นทะเล แต่สามารถเคลื่อนที่ช้าๆ ได้โดยรอบ มีหลายรูปร่าง บ้างเป็นแผ่นบางๆ ติดอยู่กับก้อนหินหรือเปลือกหอย บ้างมีรูปร่างคล้ายต้นไม้ขนาดเล็ก พบตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียนจนถึงปัจจุบัน แต่พบมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัส

 

 

ที่มา : http://www.paleozoic.org/gallery/crinoid-gall.jpg

 

ภาพ 4.15 ไครนอยด์ (crinoid) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมเอคิโนเดิร์มาตา (Echinodermata) มีรูปร่างคล้ายต้นไม้ บางครั้งจึงมึผู้เรียกว่าพลับพลึงทะเล ส่วนสำคัญของไครนอยด์ ประกอบด้วย ส่วนหัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายดอกเป็นพุ่ม ส่วนลำต้นซึ่งประกอบด้วยแว่นหรือท่อนกลม มีรูตรงกลางซ้อนต่อกัน และส่วนล่างสุดคล้ายรากไม้ แผ่กระจายออกไปทำหน้าที่ยึดเกาะกับพื้นทะเล พบแพร่หลายในมหายุคพาลีโอโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่พบเพียงชิ้นส่วนของก้าน ที่หลุดออกมาเป็นแว่น

 

 


ภาพที่ 4.16 ฟองน้ำ (sponge) เป็นสัตว์ทะเล จัดอยู่ในไฟลัมพอริเฟอรา (Porifera) พบบ้างที่อยู่ในน้ำจืด มีลักษณะโครงสร้างแบบง่ายๆ คือประกอบด้วยรูพรุนทั้งลำตัวให้น้ำไหลผ่าน เข้าสู่กลางลำตัว ซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง สามารถกรองอาหาร พบตั้งแต่ยุคแคมเบรียน จนถึงปัจจุบัน สโตรมาโตโพรอยด์ จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับฟองน้ำ

 


ที่มา : http://www.chesapeakebaydiving.com/IMAGES/Vase%20Sponge%20640.jpg
http://www2.ucsc.edu/opers/scuba/images/sponge.jpg
http://www.folbot.ca/images/accessories/sponge.jpg
http://mbgnet.mobot.org/salt/animals/sponge.jpg

 

 

               - แหล่งซากดึกดำบรรพ์วัดศีรีนาครัตนาราม อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี พบซากดึกดำบรรพ์หลายชนิด ได้แก่ ฟิวซูลินิด  ปะการัง  แอมโมไนต์  แบรคิโอพอด  ไครนอยด์  และสาหร่าย  การค้นพบซากสัตว์ทะเลโบราณหลายชนิดบริเวณนี้แสดงว่าในยุคเพอร์เมียน ตอนกลางราว 270 ล้านปี บริเวณนี้เคยเป็นทะเลน้ำตื้นมาก่อน

 

 

 

ที่มา : http://www.geologyrocks.co.uk/picdetail.php?id=60

ภาพที่ 4.17 ฟิวซูลินิด (fusulinid) เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียวจัดอยู่ในไฟลัมโปรโตซัว (Protozoa) อันดับพอแรมมินิเฟอรา (Order Foraminifera) อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและบริเวณน้ำตื้น ลักษณะภายนอกส่วนใหญ่มีรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม รูปร่างและขนาดคล้ายเม็ดข้าวสาร มีขนาดยาวประมาณ 1-1.5 เซ็นติเมตร ทำให้คนทั่วไปคิดว่าเป็นข้าวสารหิน จึงนิยมเรียกว่า คตข้าวสาร พบมากในยุคคาร์บอนิเฟอรัสและเพอร์เมียน และได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปลายยุคเพอร์เมียน จึงนิยมใช้เป็นซากดำบรรพ์ดัชนี เนื่องจากมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สามารถกำหนดอายุได้แน่นอน

 


ภาพที่ 4.18 ปะการัง (coral) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) มีทั้งเป็นกลุ่ม และเป็นตัวเดี่ยวๆ อาศัยอยู่บริเวณทะเลตื้น น้ำอุ่น มีแสงแดดส่องถึงและน้ำค่อนข้างใส จึงพบได้โดยทั่วไปในภูเขาหินปูน พบแพร่หลายมาก พบตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิกจนถึงปัจจุบัน

 

 


ที่มา : http://www.nhm.ac.uk/museum/vr/ammonite/1.jpg

 



ภาพที่ 4.19 แอมโมไนทต์ (ammonite) เป็นสัตว์ทะเลจัดอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) ชั้น Cephalopoda กลุ่มเดียวกับปลาหมึกปัจจุบัน เปลือกขดเป็นวง ส่วนใหญ่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ทำให้สามารถพบได้ทั้งบริเวณทะเลตื้นและลึก พบมากในมหายุคมีโซโซอิก และสูญพันธ์เมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเซียส

 

              - แหล่งซากไดโนเสาร์ภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ภูเวียงเป็นบริเวณที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2519 อยู่บริเวณภูประตูตีหมา เป็นกระดูกท่อนขาของไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ต่อมามีการสำรวจพบไดโนเสาร์ ทั้งกินพืชและกินเนื้อชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด ได้แก่

 







ภาพที่ 4.20 ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ ซึ่งได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (Phuwiangosaurus sirindhornae)



 











ภาพที่ 4.21 ไดโนเสาร์กินเนื้อซึ่งคาดว่าเป็นบรรพบุรุษของไทรันโนซอรัส (Siamosaurus isanensis)

 

          ทั้งหมดพบในหมวดหินเสาขัวอายุประมาณ 130 ล้านปี นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์บริเวณหินลาดป่าชาดในหมวดหินพระวิหาร ซึ่งมีอายุประมาณ 140 ล้านปี เป็นรอยพิมพ์นิ้ว 3 นิ้วคล้ายรอยเท้านก ที่ปลายนิ้วมีร่องรอยของเล็บแหลมคม บ่งชี้ว่าเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ไดโนเสาร์ที่ภูเวียง เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ ซึ่งเป็นต้นแบบของโลกถึง 3 ชนิด ตัวอย่างต้นฉบับเหล่านี้จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบกับข้อมูลที่พบใหม่ทั่วโลก หากพบว่าไดโนเสาร์ที่ใดเหมือนของภูเวียง จะต้องเรียกชื่อตาม ดังนั้นจึงควรเก็บรักษาซากไดโนเสาร์ต้นแบบนี้ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

 

 

              - แหล่งซากไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบซากกระดูกไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในชั้นหินทรายปนดินดานสีแดงของหมวดหินเสาขัว อายุประมาณ 130 ล้านปี

 








ภาพที่ 4.22 หลุมขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ขุดพบกระดูกมากกว่า 630 ชิ้น เป็นกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครงคอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชไม่ต่ำกว่า 6 ตัว

 

 











ภาพที่ 4.23 ลักษณะกระดูกที่พบไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ (Phuwiangosaurus sirindhornae) นอกจากนี้ยังพบฟันของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกมากกว่า 2 ชนิด

 

 

              - แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูหลวง อำเภอหลวง จังหวัดเลย

 

ภาพที่ 4.24 รอยเท้าที่ปรากฏอยู่บนชั้นหินทรายมีขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร ยาว 31 เซนติเมตร ลึก 3.4 เซนติเมตร ปรากฏให้เห็นจำนวน 15 รอย เป็นรอยเดินไปทางทิศใต้ 10 รอย และรอยสวนกลับ 2 รอย รอยเดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 2 รอย และอีกรอยไม่ชัดเจน เป็นรอยของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เดินด้วยขาหลัง 2 ขา เนื่องจากมีลักษณะแสดงรอยเล็บแหลมคม รอยเท้าดังกล่าวนี้อยู่ในหมวดหินภูพาน ราว 120 ล้านปี

 


 

 

              - แหล่งรอยเท้าไดโนเสาร์ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ ค้นพบโดย เด็กหญิงกัลยามาศ   สิงห์นาคลอง และเด็กหญิงพัชรี   ไวแสน   ปลายปี พ.ศ.2539   รอยเท้าที่ปรากฏอยู่บนชั้นหินทรายในลำห้วยน้ำยังมีจำนวนมากกว่า 10 รอย ปรากฏให้เห็นเป็นแนวทางเดิน 3 แนว มีขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร รอยเท้าทั้งหมดเป็นรอยเท้าที่มี 3 นิ้ว เป็นรอยของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ที่เดินด้วยขาหลัง 2 ข้าง เนื่องจากมีลักษณะแสดงรอยเล็บแหลมคม รอยเท้าดังกล่าวนี้อยู่ในหมวดหินพระวิหาร ราว 140 ล้านปี

          

            - แหล่งไม้กลายเป็นหิน อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก



 

ภาพที่ 4.25 พบไม้กลายเป็นหินทั้งต้นขนาดใหญ่อยู่ในชั้นกรวด ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร ยาวมากกว่า 20 เมตร มีอายุราวแปดแสนปี ในประเทศไทยพบไม้กลายเป็นหินจำนวนมากในภาคตะวัออกเฉียงเหนือ มีอายุไม่ต่ำกว่า 1.75 ล้านปี ไม้กลายเป็นหินเป็นซากดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากน้ำแร่เข้าไปแทนที่เนื้อเยื่อและเส้นใยของซากต้นไม้ กิ่งไม้ที่ตกทับถมรวมกับชั้นหินตะกอนและชั้นตะกอนประเภทน้ำพา มักพบในชั้นหินทราย หรือในชั้นกรวด การแทนที่นี้บ่อยครั้งจะยังคงสภาพโครงสร้างภายในเนื้อไม้เดิม เช่น วงปี โครงสร้างเซลล์และรูปร่างภายนอกของต้นไม้ไว้อย่างสมบูรณ์ แร่ หรือสารที่เข้าไปแทนที่นั้น โดยทั่วๆ ไปเป็นสารละลายอุณหภูมิปกติของสารประกอบซิลิกา (SiO2) ทำให้เกิดเป็นแร่ควอร์ต ที่แสดงรูปผลึก หรือแร่โอปอ (opal) และแร่คาลซิโดนี (chalcedony) ที่มีเนื้อละเอียดมากไม่แสดงรูปผลึก ขบวนการแทนที่ของซิลิกาในเนื้อไม้เรียกว่า petrification นอกจากนั้นอาจมีขบวนการธรณีเคมีในขั้นตอนต่างๆ เกิดร่วมด้วย เช่น เนื้อไม้บางส่วนกลายเป็นถ่านหิน อาจมีแร่ไพไรต์ (FeS2) เกิดอยู่ด้วย

 

              - แหล่งหอยนางรมยักษ์  วัดเจดีย์หอย  จังหวัดปทุมธานี พบเปลือกหอยทะเลหลายชนิดสะสมตัวปนกับซากไม้ผุในตะกอนดินเหนียวทะเลที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม  มีสีเทาถึงเทาปนเขียว ซากหอยที่พบมีหลายชนิด เช่น  หอยแครง  หอยกาบ  หอยสังข์  และหอยลาย  ส่วนซากหอยที่พบมากที่สุดเป็นซากหอยนางรมยักษ์ มีชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า Crassostrea gigas เมื่อนำซากหอยนี้ไปหาอายุด้วยวิธีกัมมันตภาพรังสีคาร์บอนสิบสี่ ได้อายุประมาณ 5,500 ปี ซากหอยเหล่านี้เป็นหอยที่อาศัยอยู่ในทะเลใกล้ชายฝั่งในที่ราบน้ำขึ้นถึง หรือหาดเลนที่มีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม น้ำกร่อย ค่อยข้างตื้น และมีน้ำขึ้นลงเป็นประจำทุกวัน แสดงให้เห็นว่าในอดีตบริเวณวัดเจดีย์หอยเคยเป็นชายทะเลมาก่อน โดยพบว่าน้ำทะเลท่วมที่ราบลุ่มภาคกลางไปจนถึงจังหวัดนครศรีอยุธยา เมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้ว ต่อมาทะเลโบราณลดระดับลงและเริ่มถอยร่นออกไปในช่วงประมาณ 5,000-5,700 ปีที่ผ่านมา เมื่อน้ำทะเลถอยร่นออกไปจึงจะพบซากหอยอยู่ในบริเวณนี้

 

 

แหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทยพบมากในภาคใดของประเทศ

 

 


1. ใช้บอกอายุและลำดับของชั้นหิน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาและสูญพันธุ์ไปตลอดเวลา สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีปริมาณมากและแพร่กระจายอยู่ทั่วไป แต่ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้ในช่วงเวลาอันสั้น ซากดึกดำบรรพ์สามารถช่วยกำหนดอายุของหินได้ดี เราเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี (index fossil) เช่น ฟิวซูลินิด (fusulinid) หรือที่เรียกกันว่า “คตข้าวสาร” เป็นสัตว์ทะเลเซลล์เดียวที่มีลักษณะเรียวคล้ายเม็ดข้าว ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุค คาร์บอนิเฟอรัสถึงยุคเพอร์เมียน เท่านั้น

2. ใช้บอกลำดับชั้นหิน สิ่งมีชีวิตที่มีอายุนานกว่าจะตกทับถมอยู่ในหินชั้นล่างและสิ่งมีชีวิตที่มีอายุน้อยกว่าจะตกทับถมอยู่ชั้นบน หากพบซากดึกดำบรรพ์ที่อายุนานกว่าแสดงว่าชั้นหินนั้นเกิดก่อนชั้นหินที่มีซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า

3. ใช้เทียบเคียงชุดหินต่างๆ ในหินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในบริเวณที่ต่างกัน ก็อาจถือได้ว่าชั้นหินทั้งสองแหล่งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และมีการตกตะกอนในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

4. ใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ สามารถช่วยในการค้นหาแหล่งแร่ แหล่งถ่านหิน และแหล่งน้ำมัน เช่น ถ้าพบซากสาหร่ายที่ฝังตัวอยู่ในหินน้ำมัน จะช่วยให้สามารถตั้งข้อสันนิษฐานในการสำรวจหาปิโตรเลียมได้

5. ใช้บอกถิ่นกำเนิดและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในอดีตกาล เช่นในประเทศไทยมีการพบเอป เชียงม่วน ที่จังหวัดพะเยา และเอป โคราช ที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเอปนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับอุรังอุตังในปัจจุบันมาก จึงสันนิษฐานได้ว่าไทยอาจเป็นแหล่งกำเนิดของอุรังอุตัง มาตั้งแต่สมัยไมโอซีน หรือราว 13 ล้านปีก่อน

 


ภาพที่4.26 ฟอสซิลของเอป ด้านซ้ายเป็นฟอสซิลที่ถูกค้นพบจริง แต่ด้านขวาเป็นแบบที่จำลองขึ้นเพื่อดูลักษณะที่สมบูรณ์
ที่มา : http://people.uncw.edu/albertm/ant210summer03/earlyape.htm

 

6. ใช้บอกสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศในอดีต ทั้งซากดึกดำบรรพ์และชนิดของหินที่มีซากดึกดำบรรพ์นั้น เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตปัจจุบันแล้ว ทำให้สามารถเดาสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศในอดีตได้ เช่น ถ้าพบซากปะการังในหินปูน แสดงว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน เนื่องจากหินปูนเป็นหินที่เกิดจากตะกอนของคาร์บอเนต

7. ใช้บอกการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก ได้มีการค้นพบซากไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสหลายชนิดในประเทศไทย และเป็นกลุ่มเดียวกับที่พบในประเทศจีน เนื่องจากเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาทำให้เราสันนิษฐานว่า แผ่นดินฉานไทย ซึ่งเคลื่อนที่มาจากซีกโลกทางใต้ ได้ชนกับแผ่นดินอินโดจีนแล้วในช่วงปลายมหายุคมีโซโซอิก

 

 

ฟอสซิลมีความสำคัญกับโลกปัจจุบันอย่างไร 

 

 

 

          เมื่อเก็บซากดึกดำบรรพ์มาได้ ต้องรีบนำมาเก็บรักษาไว้อย่างเป็นระบบ โดยการทำความสะอาด หาชื่อชนิด ใส่หมายเลขตัวอย่างพร้อมรายละเอียด และเก็บรักษาอย่างเป็นระบบ


1. การอนุรักษ์ตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ (preparation)
เริ่มจากทำความสะอาดตัวอย่างดังกล่าวซึ่งทำได้โดยการแซะเนื้อหินที่ติดอยู่กับซากตัวอย่างออกไปโดยใช้ค้อนและสิ่ว     หรืออาจใช้เครื่องมือกรอหิน    ซึ่งมีลักษณะคล้ายเครื่องกรอฟันของหมอฟัน   สำหรับตัวอย่างซากกระดูก หรือเปลือกหอย ที่ติดอยู่ในหิน ส่วนซากดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดเล็กมากบางชนิด หรือซากสัตว์ที่อยู่ในหินปูน หรือหินเชิร์ต อาจใช้สารเคมีจำพวก กรดน้ำส้ม ละลายหินออกจากซากดังกล่าว สำหรับซากดึกดำบรรพ์บางชนิดค่อนข้างเปราะ แตกหักง่าย ควรใช้สารละลายพลาสติก หรือกาวทาเคลือบเสียก่อน  หากตัวอย่างแตกหักให้ใช้กาวอีพอกซีต่อเชื่อม    เมื่อทำความสะอาดและซ่อมแซมตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วให้จัดเก็บตัวอย่างใส่กล่องหรือถาดพลาสติก ถ้าตัวอย่างใหญ่ให้ใส่ถาด หรือวางบนแผ่นไม้ แต่ถ้าตัวอย่างมีขนาดเล็กมากอาจใส่ไว้ในหลอดแคปซูล

2. การเรียกชื่อตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ (identification)
ชื่อซากดึกดำบรรพ์ประกอบด้วยชื่อสกุล และชนิด ระบบการตั้งชื่อซากดึกดำบรรพ์ใช้ระบบเดียวกับการตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตปัจจุบัน ตามระบบการตั้งชื่อของ คาร์ล ลินเนียส  (Carl Linnaeus)   นักธรรมชาติวิทยาชาวสวีเดน โดยกำหนดชนิดของซากดึกดำบรรพ์ให้อยู่ในวงศ์ อันดับ ชั้น และไฟลัม

3. การใส่หมายเลขตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์พร้อมรายละเอียด (cataloguing)
เมื่อเก็บตัวอย่างมาแล้วควรใส่หมายเลขตัวอย่างแต่ละชิ้นให้อยู่ในระบบการจัดเก็บตัวอย่าง โดยเขียนลงบนตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ควรมีการ์ดข้อมูลรายละเอียดของตัวอย่าง  เช่น  ชนิดของซากดึกดำบรรพ์  ชื่อผู้เก็บ  วัน เดือน ปี ที่เก็บ   ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของบริเวณที่เก็บ (เช่น ชื่อภูเขา แม่น้ำ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด และระวางแผนที่บริวณที่เก็บ)   ข้อมูลทางธรณีวิทยาของบริเวณที่เก็บ (เช่น ชนิดหิน อายุหิน)   แผนผังแสดงตำแหน่งชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ขณะที่พบ

4. การจัดเก็บตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์อย่างเป็นระบบ (collection) การจัดเก็บตัวอย่างทำโดยจำแนกตามชนิดตัวอย่าง หรือ แยกตามบริเวณที่เก็บตัวอย่าง ห้องที่เก็บตัวอย่างควรเป็นห้องที่มีความชื้นต่ำ และควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ตู้เก็บตัวอย่างควรเป็นตู้ไม้ เนื่องจากไม้ถ่ายทอดความชื้น และอุณหภูมิได้ดีกว่าโลหะ ถ้าเป็นตัวอย่างต้นแบบให้แยกเก็บรักษาไว้ในห้องพิเศษพร้อมตู้เก็บที่ปลอดภัยจากการโจรกรรม

 

 

มีวิธีการเก็บซากดึกดำบรรพ์อย่างไรบ้าง